จัดการภาษีอย่างไรให้อยู่หมัด ตามแบบฉบับ "ฟรีแลนซ์"

จัดการภาษีอย่างไรให้อยู่หมัด ตามแบบฉบับฟรีแลนซ์

4 min read  

ฉบับย่อ

  • สำหรับใครที่ทำงาน ‘ฟรีแลนซ์’ ยื่นรายได้เป็น 40(8) จะสามารถยื่นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงได้ และทำให้แสดงรายได้ได้ตรงตามความเป็นจริงยิ่งขึ้น โดยประโยชน์ของการ ‘เปลี่ยนประเภทรายได้’ เมื่อหัก “ค่าใช้จ่าย” ได้มากขึ้น คือ ช่วยทำให้ “รายได้สุทธิ” ลดลง และช่วยทำให้เสียภาษีน้อยลงได้นั่นเอง
  • สำหรับ “ฟรีแลนซ์” ที่กำลังหาช่องทางสำหรับ “ลดหย่อนภาษี” พี่ทุยแนะนำว่าควรเริ่มต้นที่ “ประกันสุขภาพ” ก่อน เพราะสามารถลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 25,000 บาท
  • ประกันสุขภาพแบบเหมาจ่าย “เหมาจ่าย เอ็กซ์ตร้า” จากเมืองไทยประกันชีวิต เหมาจ่ายแบบครอบคลุมทั้งโรคโควิด-19 โรคระบาด โรคร้ายแรง และการเจ็บป่วยทั่วไป โดยให้ค่าห้องถึงวันละ 4,000 บาท (1) และให้เพิ่มอีก 4,000 บาท กรณีป่วยหนักต้องนอน ICU

รูปบน ของ desktop
รูปล่าง ของ mobile

สำหรับชาว ‘ฟรีแลนซ์’ ที่เปิดเข้ามาอ่าน วันนี้พี่ทุยมีเทคนิคดี ๆ สำหรับ ‘การวางแผนภาษี’ มาแนะนำ ขอบอกก่อนเลยว่า ‘ฟรีแลนซ์’ น่ะ มี ‘ลูกเล่น’ สำหรับการบริหารภาษีมากกว่าคนทำงานประจำซะอีก

จัดการภาษีอย่างไรให้อยู่หมัด ตามแบบฉบับ "ฟรีแลนซ์"

ไม่ว่าเราจะทำอาชีพอะไรก็ตาม ถ้ามีรายได้ยังไงเราก็ต้อง “เสียภาษี” ซึ่งการวางแผนภาษีตั้งแต่เนิ่นจะช่วยทำให้เราสามารถบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

สำหรับใครที่ทำงานประจำอาจจะทำอะไรมากไม่ได้นัก แต่สำหรับ ‘ฟรีแลนซ์’ พี่ทุยบอกเลยว่ามีเทคนิคเจ๋ง ๆ เพียบเลยล่ะ และวันนี้พี่ทุยจะมาแบ่งปัน ‘วิธีการบริหารภาษี’ เอาใจชาว “ฟรีแลนซ์” จะมีอะไรบ้าง เดี๋ยวตามไปดูกัน

แต่ขอดักไว้ตรงนี้ก่อนเลยว่า การวางแผนภาษีที่พี่ทุยจะเล่าต่อไปนี้ไม่ใช่ ‘การหนีภาษี’ หรือ‘หลบเลี่ยงภาษี’ นะ แต่เป็นการทำความเข้าใจและใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีจากเงื่อนไขของกรมสรรพากรอย่างถูกต้องต่างหาก อิอิ

จัดการภาษีอย่างไรให้อยู่หมัด ตามแบบฉบับ "ฟรีแลนซ์"

เทคนิคการจัดการภาษี ตามแบบฉบับ “ฟรีแลนซ์”

เทคนิคที่ 1 ของชาว “ฟรีแลนซ์” เปลี่ยนประเภทเงินได้

โดยทั่วไปแล้วรายได้ของ “ฟรีแลนซ์” มักจะเข้ารายได้ 40(2) ซึ่งสามารถหักค่าใช้จ่ายได้ 50% หรือไม่เกิน 100,000 บาทเท่านั้น

และหลาย ๆ ครั้งเวลาที่เราทำงาน บางครั้งก็จะมี “ค่าใช้จ่าย” ที่อาจจะเกิดขึ้นจากการไปจ้างงานต่อกับคนอื่น ๆ หรือการซื้ออุปกรณ์ในการทำงานเพิ่มเติม ซึ่งการยื่นรายได้เป็น 40(8) จะสามารถยื่นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงได้ และทำให้แสดงรายได้ได้ตรงตามความเป็นจริงยิ่งขึ้น โดยประโยชน์ของการ ‘เปลี่ยนประเภทรายได้’ เมื่อหัก “ค่าใช้จ่าย” ได้มากขึ้น คือ ช่วยทำให้ “รายได้สุทธิ” ลดลง และช่วยทำให้เสียภาษีน้อยลงได้นั่นเอง

ซึ่งจะต่างจากคนทำงานประจำที่รายได้มักจะเข้า 40(1) โดยอัตโนมัติ และไม่สามารถเปลี่ยนแปลงประเภทรายได้หรือเพิ่มค่าใช้จ่ายได้เลย

แนะนำว่าลองว่าให้ทุกคนลองศึกษาเรื่องประเภทรายได้ทั้ง 8 ประเภทให้ดี เพื่อให้เราสามารถเลือกใช้ประเภทของรายได้ได้อย่างเหมาะสม 

จัดการภาษีอย่างไรให้อยู่หมัด ตามแบบฉบับ "ฟรีแลนซ์"

เทคนิคที่ 2 “ฟรีแลนซ์” อย่าลืมเก็บเอกสารเรื่องภาษีให้ดี

ทุกครั้งที่เราได้รับเอกสาร ‘50 ทวิ’ จากผู้จ้างงานหลังส่งมอบงาน พี่ทุยแนะนำเลยว่าให้หากล่องหรือที่เก็บให้ดี ๆ เลยล่ะ เพราะโดยทั่วไปฟรีแลนซ์เรื่องเอกสารจะไม่ได้สะดวกแบบคนทำงานประจำที่ปลายปีทางฝ่ายบุคคลจะสรุปมาให้หรือสามารถพรินต์จากระบบภายในได้เลย แต่เอกสารจะมาเป็นรายครั้ง ทำงานเสร็จทีนึง ก็จะมีเอกสารมาใบหนึ่ง

สำหรับใครที่เป็นฟรีแลนซ์เต็มตัว พี่ทุยเชื่อเลยว่าเอกสารแค่ “ใบ 50 ทวิ” ก็น่าจะหลักสิบไปจนถึงหลักร้อยใบ รวมไปจนถึงเอกสาร “ค่าใช้จ่าย” สำหรับคนที่ต้องการยื่น “หักค่าใช้จ่ายตามจริง” ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะถ้าหากไม่มีเอกสารที่ชัดเจน ยังไงก็ไม่สามารถนำมาหักเป็นค่าใช้จ่ายได้อย่างแน่นอน

ใครที่มีเอกสารในปีปีหนึ่งไม่เยอะมาก ก็สามารถสแกนเอกสารทั้งหมดเก็บไว้ เเล้วพอถึงเวลาก็ ‘ยื่นออนไลน์’ กันได้เลย

แต่สำหรับใครที่เป็นฟรีแลนซ์ตัวเทพที่มีเอกสารเป็นกองพะเนิน ไม่ว่าจะเป็นใบ 50 ทวิ เอกสารรับรายได้ รวมถึงเอกสารค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่ต้องการยื่น พี่ทุยแนะนำว่าให้ขนเอกสารทั้งหมดไปที่สำนักงานกรมสรรพากร แล้วให้เจ้าหน้าที่สรรพากรช่วยดูความถูกต้องให้จะเป็นทางเลือกที่ดีกว่า

พี่ทุยบอกก่อนเลยว่ากรมสรรพากรไม่ได้น่ากลัวขนาดนั้น ถ้าเรามีเจตนาดี ไม่ได้คิดว่าจะหลบเลี่ยงอะไร เจ้าหน้าที่เขายินดีช่วยเหลือแน่นอน

จัดการภาษีอย่างไรให้อยู่หมัด ตามแบบฉบับ "ฟรีแลนซ์"

เทคนิคที่ 3 วางแผนลดหย่อนภาษีอย่างถูกต้อง

อีกหนึ่งปัญหาของ “ฟรีแลนซ์” เลยก็คือ “รายได้ไม่แน่นอน” แล้วปัญหาที่ตามมาเลยก็คือไม่รู้ว่าเราจะสามารถซื้อลดหย่อนในแต่ละปีได้เท่าไหร่ โดยปกติแล้วพี่ทุยมักจะแนะนำอยู่ 2 วิธีหลักก็คือ

(1) แบ่งเงินซื้อ “ลดหย่อน” เมื่อมีรายได้ทุกครั้ง

วิธีนี้เป็นวิธีหนึ่งที่ส่วนตัวพี่ทุยคิดว่า “ดีที่สุด” เนื่องจากจะได้ซื้อลดหย่อนตามที่ตั้งใจและการทำแบบนี้ยังถือว่าเป็น “การออมก่อนใช้” ไปด้วยในตัว ซึ่งอาจจะกำหนดเลยว่าจะหัก 10% 15% หรือ 20% โดยเมื่อมีรายได้ก็ไปแบ่งซื้อ SSF RMF หรือประกันชีวิตตามที่เราตั้งใจ

(2) ซื้อ “ลดหย่อน” ครั้งเดียวช่วงปลายปี

อีกหนึ่งวิธีที่เป็นที่นิยมสำหรับเหล่าฟรีแลนซ์มาก ๆ ก็คือการจัดการทีเดียวในช่วงปลายปี เพราะนอกจากจะเป็นวิธีที่ง่ายและสะดวก ยังทำให้เราสามารถประเมินรายได้ที่เราคาดว่าจะได้รับทั้งปีได้แม่นมากขึ้นด้วย ทำให้สามารถคำนวณสิทธิที่เราสามารถซื้อลดหย่อนได้แม่นยำขึ้น

แต่ส่วนตัวพี่ทุยไม่ค่อยอยากให้รอจัดการช่วงปลายปีสักเท่าไหร่ เพราะมีความเสี่ยงหลายเรื่องรออยู่ อย่างเช่น ช่วงปลายปีโดยทั่วไปเป็นช่วงที่ “รายจ่าย” มักจะสูงกว่าปกติ ทั้งงานฉลอง งานเลี้ยงช่วงปีใหม่ ที่เหล่าเพื่อน ๆ มักจะนัดกันสังสรรค์กัน หลาย ๆ ครั้งทำให้ถ้าไม่ได้เก็บเงินไว้อย่างพอเพียง อาจจะไม่สามารถซื้อลดหย่อนได้ตามที่ตั้งใจไว้ได้ ใครเลือกแบบนี้ก็อาจจะต้องอาศัยวินัยกันหน่อย

จัดการภาษีอย่างไรให้อยู่หมัด ตามแบบฉบับ "ฟรีแลนซ์"

ตอนนี้ก็เป็นช่วงเวลาปลายปีซะเเล้ว วิธีการจัดการภาษีด้วยการ ‘เปลี่ยนประเภทรายได้’ อาจจะทำไม่ทันแล้ว ที่ทำได้ในตอนนี้ก็คงเป็นเรื่องของการ ‘ลดหย่อน’ แล้วล่ะ

สำหรับ “ฟรีแลนซ์” ที่กำลังหาช่องทางสำหรับ “ลดหย่อนภาษี” พี่ทุยแนะนำว่าควรเริ่มต้นที่ “ประกันสุขภาพ” ก่อน เพราะสามารถลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 25,000 บาท

เนื่องจากฟรีแลนซ์โดยทั่วไปแล้วมักจะไม่มีสวัสดิการต่าง ๆ รองรับเหมือนกับคนทำงานประจำ การมีสวัสดิการเพื่อเป็นเบาะรองรับค่าใช้จ่ายถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ๆ พูดก็พูดคือ ได้ทั้งความคุ้มครอง และสิทธิในการลดหย่อนภาษีในคราวเดียว

จัดการภาษีอย่างไรให้อยู่หมัด ตามแบบฉบับ "ฟรีแลนซ์"

ประกันสุขภาพที่น่าสนใจ

“เหมาจ่าย เอ็กซ์ตร้า” คุ้มครองครบ เหมาจ่ายหมดเต็มที่

วันนี้พี่ทุยมีแนะนำหนึ่งตัวเป็นประกันสุขภาพแบบเหมาจ่าย “เหมาจ่าย เอ็กซ์ตร้า” จากเมืองไทยประกันชีวิต เหมาจ่ายแบบครอบคลุมทั้งโรคโควิด-19 โรคระบาด โรคร้ายแรง และการเจ็บป่วยทั่วไป โดยให้ค่าห้องถึงวันละ 4,000 บาท (1) และให้เพิ่มอีก 4,000 บาท กรณีป่วยหนักต้องนอน ICU

โดย “เหมาจ่าย เอ็กซ์ตร้า” ยังให้ความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลอื่น ๆ อีกสูงสุด 500,000 บาทต่อการรักษาหนึ่งครั้ง (1) ไม่มีวงเงินจำกัดต่อปี ที่สำคัญเลยเริ่มต้นจ่ายเบี้ยถูกมากแค่เพียงวันละ 34 บาท (2) เท่านั้นเอง

รายละเอียดเพิ่มเติม คลิกเลย https://webmtl.co/32hH6yv หรือโทร 1766

หมายเหตุ :

(1) สำหรับแผนความคุ้มครอง 3

(2) สำหรับผู้เอาประกันภัยเพศชาย อายุ 30 ปี เลือกแผนความคุ้มครอง 3 และชำระเบี้ยประกันรายปี 

  • เบี้ยประกันภัย ขึ้นอยู่กับเพศ อายุ และแผนความคุ้มครองที่เลือก
  • เบี้ยประกันภัยสามารถนำไปใช้สิทธิหักลดหย่อนภาษีได้ ทั้งนี้ หลักเกณฑ์เป็นไปตามที่กรมสรรพากร กำหนด
  • การพิจารณารับประกันเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของบริษัทฯ
  • เงื่อนไขเป็นไปตามที่ บมจ.เมืองไทยประกันชีวิตและธนาคารกำหนด
  • ความคุ้มครองพิเศษเพิ่มเติมเนื่องจากผลกระทบหลังจากการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิค 19 เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนด รับความคุ้มครองได้ตั้งแต่ 11 พ.ค.- 31 ธ.ค. 2564
  • การปรับลดระยะเวลารอคอย (waiting period)เหลือ 14 วัน สำหรับการติดเชื้อโรคโควิด 19 เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนด โดยเริ่มตั้งแต่ 28 พ.ค. – 31 ธ.ค. 2564
  • โปรดศึกษารายละเอียดความคุ้มครอง เงื่อนไขและข้อยกเว้น ก่อนตัดสินใจทำประกันภัย

จัดการภาษีอย่างไรให้อยู่หมัด ตามแบบฉบับ "ฟรีแลนซ์"

“โครงการเมืองไทย 101 พลัส” มีเงินคืน พร้อมโอกาสรับปันผลเพิ่มเติม

หรือสำหรับ “ฟรีแลนซ์” คนไหนที่ต้องการเริ่มเก็บออมเงิน พี่ทุยขอแนะนำประกันชีวิตแบบออมทรัพย์ “โครงการเมืองไทย 101 พลัส” จากเมืองไทยประกันชีวิต ที่ลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 100,000 บาท

“เมืองไทย 101 พลัส” เป็นประกันออมทรัพย์แบบใหม่ที่ไม่เหมือนกับประกันออมทรัพย์แบบเดิม ๆ โดย “โครงการเมืองไทย 101 พลัส” จะมีโอกาสได้รับผลตอบแทนจาก 2 ส่วน

ส่วนแรก –  การันตีเงินจ่ายคืนตามกรมธรรม์ โดยจะมีเงินคืน 1%(1) ณ สิ้นปีกรมธรรม์ที่ 2, 4, 6 และ 8 พร้อมได้รับเงินก้อนคืนอีก 101% (1)  เมื่อครบสัญญา

ส่วนที่สอง  – เมื่ออยู่จนครบสัญญาจะมีโอกาสได้รับ “เงินปันผลพิเศษ” เพิ่มเติมโดยจะได้มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับผลประกอบการจากการลงทุนในดัชนี ‘Citi Global Multi Asset USD VT 5 Series 3 Index’ ที่บริหารโดยผู้เชี่ยวชาญจาก Citi ซึ่งเป็นหนึ่งในสถาบันการเงินที่ใหญ่และเป็นที่ยอมรับระดับโลก

รายละเอียดเพิ่มเติม คลิกเลย https://webmtl.co/3cuqWU8

หมายเหตุ :

(1) เป็น % ของจำนวนเงินเอาประกันภัย ณ วันเริ่มมีผลคุ้มครองตามกรมธรรม์ 

  • โครงการเมืองไทย 101 พลัส เป็นชื่อทางการตลาดของแบบประกันภัยเมืองไทย สมาร์ท ลิงค์ พลัส 10/1 (Global)
  • การพิจารณารับประกันภัยเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของบริษัทฯ
  • เบี้ยประกันภัยสามารถนำไปใช้สิทธิหักลดหย่อนภาษีได้ ทั้งนี้ หลักเกณฑ์เป็นไปตามที่กรมสรรพากร กำหนด
  • โปรดศึกษารายละเอียดความคุ้มครอง เงื่อนไข และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจทำประกันภัย

จัดการภาษีอย่างไรให้อยู่หมัด ตามแบบฉบับ "ฟรีแลนซ์"

สำหรับใครที่สนใจ “ลดหย่อนภาษี” ด้วยประกันชีวิตหรือประกันสุขภาพแบบอื่น ๆ   จากเมืองไทยประกันชีวิตด้วย สามารถเข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://webmtl.co/3FybLFV  หรือโทร 1766 ได้เลยน้า

รักแบบไหนชอบแบบไหนก็มีให้เลือกตามความต้องการเลย ! 

และสุดท้ายนี้พี่ทุยขอแอบบอกว่า ตอนนี้ทางเมืองไทยประกันชีวิตสามารถเลือกผ่อนเบี้ยประกันได้แบบสบาย ๆ 0% นานสูงสุด 6 เดือนหรือแลกรับเงินเครดิตเงินคืนสูงสุด 14% ด้วยนะ !! ไปเลือกซื้อกันได้เลยยย !!

  • การพิจารณารับประกันเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของบริษัทฯ
  • เงื่อนไขเป็นไปตามที่ บมจ.เมืองไทยประกันชีวิตและธนาคารกำหนด
  • โปรดศึกษารายละเอียดความคุ้มครอง เงื่อนไขและข้อยกเว้น ก่อนตัดสินใจทำประกันภัย
รูปบน ของ desktop
รูปล่าง ของ mobile
FBS Trader เทรดได้อย่างปลอดภัย
FBS Trader เทรดได้อย่างปลอดภัย
บทความนี้เป็นบทความ Advertorial