ประเทศไทย พร้อมกับสังคมผู้สูงอายุขนาดไหน

ประเทศไทยพร้อมกับ “สังคมผู้สูงอายุ” ขนาดไหน ?

5 min read    Money Buffalo

ฉบับย่อ

  • การสำรวจโดยทีมวิจัยจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พบว่าค่าดัชนี NRRI ของไทยเพิ่มขึ้นจาก 48.8 ในปี 2564 เป็น 49.3 ในปี 2566 แสดงถึงความพร้อมด้านการเกษียณที่ดีขึ้น
  • แม้คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุไทยจะดีขึ้นจากการสนับสนุนด้านสุขภาพของรัฐ แต่ยังมีปัญหาเกี่ยวกับพฤติกรรมการบริโภคและการออกกำลังกายที่ต้องปรับปรุง
  • คนไทยส่วนใหญ่มีความพร้อมทางการเงินในระดับพอมีพอกิน แต่ยังไม่เพียงพอสำหรับการเกษียณ รัฐควรส่งเสริมการเรียนรู้ทางการเงินและพัฒนาระบบการออมเพื่อการเกษียณอย่างต่อเนื่อง

รูปบน ของ desktop
รูปล่าง ของ mobile

“สังคมผู้สูงอายุ” ในไทย ที่ไม่ควรมองข้าม ปัญหาสังคมเรื่องนึงที่กำลังเป็นที่พูดถึง นั่นก็คือ “สังคมผู้สูงอายุ” ถือว่าเป็นครั้งแรกที่โลกของเรากำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มตัว ซึ่งรู้กันหรือไม่ว่า ในอีก 20 ปีประเทศไทยจะมีผู้สูงอายุ สูงถึง 30% ของจำนวนประชากร ดังนั้นการเตรียมความพร้อมเรื่องการเกษียณอายุ ถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ๆ

ประเทศไทยในอีก 20 ปี สังคมผู้สูงอายุในไทย จากการสนับสนุนทุนวิจัยของกองทุนส่งเสริมการพัฒนาตลาดทุน (CMDF) โดยทีมจากคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้มีการสำรวจดูความพร้อมด้านการเกษียณของคนไทย โดยจัดทำดัชนี NRRI (National Retirement Readiness Index)

ที่วัดจาก 2 มิติหลักก็คือ  “ความมั่นคงด้านคุณภาพชีวิต” และ “ความมั่นคงทางการเงิน” ซึ่งจากข้อมูลการสำรวจจะเห็นได้ว่าดัชนี NRRI ของไทยอยู่ในระดับปานกลาง แต่มีแนวโน้มดีขึ้นจากปี 2564 อยู่ที่ 48.8 และเพิ่มขึ้นเป็น 49.3 ในปี 2566

สังคมผู้สูงอายุ มิติแรก “ความมั่นคงด้านคุณภาพชีวิต” โดยจะคำนวณจาก 

  • สุขภาพร่างกาย เช่น อายุขัย สุขภาพโดยรวม
  • ความเป็นอยู่ เช่น การเข้าถึงบริการสุขภาพที่ดีและโครงสร้างพื้นฐาน
  • การดูแลตัวเองและพฤติกรรมสุขภาพ เช่น การออกกำลังกาย การบริโภคอาหารที่เหมาะสม

ดัชนีชี้ว่าคุณภาพชีวิตคนไทยดีขึ้นจากการสนับสนุนของรัฐในเรื่องสุขภาพ แต่ยังมีปัญหาอยู่เช่น พฤติกรรมการบริโภคอาหารหวาน มัน เค็ม ออกกำลังกายไม่สม่ำเสมอ และการดูแลสุขภาพที่เริ่มต้นช้า มักจะรอให้ป่วยก่อนถึงจะดูแลตัวเอง” รัฐควรเพิ่มการให้ความรู้เรื่องสุขภาพแก่กลุ่มวัยรุ่นและแรงงานเอกชนมากขึ้น ความมั่นคงด้านคุณภาพชีวิต มิติที่สองด้าน “ความมั่นคงทางการเงิน” จะคำนวณจาก 

  • รายได้และเงินออมเพื่อการเกษียณ
  • หนี้สินครัวเรือน
  • การเข้าถึงแหล่งเงินออมและการลงทุน

ดัชนีชี้ว่าคนไทยส่วนใหญ่มีความพร้อมทางการเงินในระดับ “พอมีพอกิน” แต่ยังไม่เพียงพอสำหรับการเกษียณ ซึ่งปัจจัยที่มีผลต่อการวางแผนการเกษียณของคนไทย คือ เศรษฐกิจ ความรู้เรื่องการเงิน และปัจจัยส่วนบุคคล โดยเฉพาะกลุ่มลูกจ้างและคนทำธุรกิจ แม้ว่าการวางแผนเกษียณดีขึ้นเล็กน้อย แต่ความรู้ทางการเงินกลับลดลงหลังช่วงโควิด-19 รัฐจึงควรสนับสนุนการให้ความรู้และพัฒนาความรู้ทางการเงินอย่างต่อเนื่อง ความมั่นคงด้านการเงิน ซึ่งจากดัชนีจะเห็นได้ว่ามีความพร้อมระดับนึงแต่ยังไม่อยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจ ถ้าถามต่อว่าแล้วรัฐจะแก้ไขหรือช่วยส่งเสริมเรื่องนี้ได้อย่างไรบ้าง จากบทความเสนอว่า

  1. รัฐควรส่งเสริมการดูแลสุขภาพเชิงป้องกัน เช่น การควบคุมอาหารและการออกกำลังกาย รวมถึงสร้างความรู้เรื่องสุขภาพผ่านช่องทางออนไลน์ที่ถือว่าเป็นช่องทางที่มีประสิทธิมากที่สุด ณ ปัจจุบัน 
  2. รัฐสามารถส่งเสริมการเรียนรู้ทางการเงินตั้งแต่เด็กจนถึงผู้ใหญ่ และพัฒนาระบบการออมเพื่อการเกษียณ เช่น แอปพลิเคชันบันทึกรายรับรายจ่าย หรือระบบการออมสำหรับแรงงานนอกระบบ ยิ่งประชาชนมีความตระหนักและเข้าใจเรื่องการเงินมากเท่าไหร่ก็จะยิ่งช่วยให้มีความมั่นคงทางการเงินที่มากขึ้น 

สำหรับใครอยากอ่านงานวิจัยฉบับเต็มและฉบับสรุปสามารถเข้าไปได้ที่เว็บไซต์ของสถาบันวิจัยเพื่อตลาดทุน (CMRI) ซึ่งเป็นหน่วยงานภายใต้กองทุนส่งเสริมการพัฒนาตลาดทุน (CMDF) https://bit.ly/CU_NRRI_2024 แนวทางการแก้ไขจากรัฐ

เป็นยังไงกันบ้าง ทุกคนคงจะพอทราบแล้วว่าทิศทางของ สังคมผู้สูงอายุในไทย จะไปในทิศทางไหน และวิธีการแก้ไขของเราต้องทำอย่างไรบ้าง

อ่านบทความเพิ่มเติม :

รูปบน ของ desktop
รูปล่าง ของ mobile
บทความนี้เป็นบทความ Advertorial