หน้าร้อนทีไร ทำไม "จ่ายค่าไฟฟ้าแพงขึ้น" ทุกที ?

หน้าร้อนทีไร ทำไม “จ่ายค่าไฟฟ้าแพงขึ้น” ทุกที ?

3 min read  

รูปบน ของ desktop
รูปล่าง ของ mobile

หน้าร้อนทีไร ทำไม "จ่ายค่าไฟฟ้าแพงขึ้น" ทุกที ?

สำหรับเมืองไทยพี่ทุยว่ามีแค่ 2 ฤดูกาลหลักเท่านั้น นั่นคือ “ฤดูร้อน” และ “ฤดูร้อนมาก” เรียกได้ว่าแทบไม่อยากออกไปไหนมาเลย อยู่บ้านเปิดแอร์ นอนดู Netflix สบายใจกว่ากันเยอะเลย แต่สิ่งที่เราต้องแลกมาก็คือ “ค่าไฟฟ้า” ที่แพงขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเวลาอื่น ๆ เรียกได้ว่าความร้อนแรงของดวงอาทิตย์มีผลต่อเงินในกระเป๋าเราอย่างชัดเจน

แล้วเคยสงสัยกันมั้ยว่า ทำไมค่าไฟฟ้าช่วงหน้าร้อนถึงแพงกว่าปกติอย่างมีนัยสำคัญ ? พี่ทุยมี 3 เหตุผลหลัก ๆ มาเล่าให้ฟังกัน

หน้าร้อนทีไร ทำไม "จ่ายค่าไฟฟ้าแพงขึ้น" ทุกที ?

1. บ้านเราเป็นเมืองร้อน อากาศร้อน เครื่องใช้ไฟฟ้าก็ต้องทำงานหนักขึ้น

พี่ทุยลองยกตัวอย่างมาให้เห็นภาพ ข้อมูลสภาพอากาศและการใช้งานเหมือนเดิม ระหว่าง

เดือน มกราคม อุณหภูมิภายนอก 32 องศาเซลเซียส เราเปิดแอร์ตั้งอุณหภูมิที่ต้องการไว้ 25 องศาเซลเซียส เปิดเวลา 21.00 – 05.00 น. ทุกวัน

เราจะเห็นได้ว่าอุณหภูมิต่างกันไม่มาก เพียงแค่ 7 องศาเซลเซียส แอร์ก็ไม่ต้องทำงานหนักมากเพื่อปรับอุณหภูมิให้เย็น เพราะอากาศข้างนอกไม่ร้อนเท่าไหร่

เดือนเมษายน อุณหภูมิภายนอก 38 องศาเซลเซียส เราเปิดแอร์ตั้งอุณหภูมิที่ต้องการไว้ 25 องศาเซลเซียส เปิดเวลา 21.00 – 05.00 น. ทุกวัน

อย่างในเดือนเมษาหน้าร้อนแบบนี้ อุณหภูมิต่างกันมากถึง 13 องศาเซลเซียส นั่นหมายความว่าแอร์จะต้องมีการทำงานหนักเพื่อที่จะให้ได้อุณหภูมิที่ต้องการคือ 25 องศาเซลเซียส เพราะต้องต่อสู้กับอากาศข้างนอกที่ร้อนมาก การทำงานก็จะหนักมากขึ้นตามไปด้วย

หน้าร้อนทีไร ทำไม "จ่ายค่าไฟฟ้าแพงขึ้น" ทุกที ?

2. “ความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น” ในช่วงหน้าร้อน

อันนี้พี่ทุยคิดว่าพวกเราทุกคนน่ารู้อยู่แล้วแหละว่า ในช่วงหน้าร้อนเนี้ย เราเปิดแอร์ เปิดพัดลม กันอย่างหนักหน่วงกว่าหน้าอื่น ๆ เรียกว่า ตื่นเช้ามาอาบน้ำก็อยากจะเปิดแอร์นอนสบาย ๆ แล้ว

นอกจากเราจะเปิดแอร์นานขึ้นแล้ว อากาศก็ร้อน แอร์ก็ทำงานหนักขึ้น ถ้าเราลองมาดูสถิติการคาดการณ์การใช้ไฟฟ้าของประเทศเรา จะเห็นได้ชัดเจนเลยว่าช่วง “เดือนเมษายน-พฤษภาคม” ของทุกปี เมื่อเทียบกับช่วงต่ำสุดของปีสูงขึ้นกว่า 4,000 เมกะวัตต์หรือเพิ่มขึ้นประมาณ 15% เลยทีเดียว

นั่นหมายความว่า เราเองก็อาจจะมีแนวโน้มที่จะมีพฤติกรรมที่ต้องการใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้น คล้ายกับสถิติที่พี่ทุยเอามาเล่าให้ฟังว่ามีโดยเฉลี่ยแล้วคนไทยความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นประมาณ 15% ในช่วงหน้าร้อนนั่นเอง

หน้าร้อนทีไร ทำไม "จ่ายค่าไฟฟ้าแพงขึ้น" ทุกที ?

3. ค่าไฟฟ้าบ้านเรา “ยิ่งใช้เยอะยิ่งแพง” เพราะเป็นแบบ “อัตราก้าวหน้า”

เหมือนกับภาษีเงินได้ที่ยิ่งมีรายได้สูง ยิ่งเสียภาษีในฐานที่สูงขึ้น อย่างกรณี “บ้านอยู่อาศัย” อัตราปกติ ถ้ามีการใช้ไฟฟ้าเกิน 150 หน่วยต่อเดือน จะถูกคิดแบบอัตราก้าวหน้า ดังนี้

150 หน่วยแรก (หน่วยที่ 0-150) หน่วยละ 3.2484 บาท
151-400 หน่วย คิดหน่วยละ 4.2218 บาท
401 เป็นต้นไป คิดหน่วยละ 4.4217 บาท

จะได้เห็นว่า 150 หน่วยแรกจะถูกกว่า หน่วยที่ 400 เป็นต้นไป ถึง 36% เรียกว่าอัตราก้าวกระโดดสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งการคิดแบบอัตราก้าวหน้าก็เป็นนโยบายที่ช่วยเรื่องการลดความเหลื่อมล้ำด้วย เพราะคนที่รายได้สูงมักจะมีอัตราการใช้ไฟฟ้าที่สูงกว่า จากเครื่องมืออุปกรณ์ต่าง ๆ ภายในบ้าน ทำให้การไฟฟ้าผันแปรตามรายได้ไปด้วย

อ้างอิงข้อมูลค่าไฟฟ้าอัตราก้าวหน้าจาก กฟน. และ กฟภ.

หน้าร้อนทีไร ทำไม "จ่ายค่าไฟฟ้าแพงขึ้น" ทุกที ?

ซึ่งต้องบอกก่อนว่า ค่าไฟฟ้ากำหนดโดย คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ซึ่งเป็นหน่วยงานด้านการกำกับดูแลพลังงาน โดยหลักการคำนวณค่าไฟฟ้าในไทยนั้นจะประกอบด้วย 2 ส่วน ก็คือ “ค่าไฟฟ้าฐาน” และ “ค่าไฟฟ้าผันแปร” (Ft)

หน้าร้อนทีไร ทำไม "จ่ายค่าไฟฟ้าแพงขึ้น" ทุกที ?

1. “ค่าไฟฟ้าฐาน”

เป็นค่าไฟฟ้าที่สะท้อนต้นทุนของการไฟฟ้าทั้ง3 แห่ง กฟผ. กฟน. และ กฟภ. ได้แก่ ค่าการก่อสร้างขยายระบบผลิต (ที่เกิดจากทั้งภาครัฐและเอกชน) ระบบส่ง และระบบจำหน่าย

หน้าร้อนทีไร ทำไม "จ่ายค่าไฟฟ้าแพงขึ้น" ทุกที ?

2. “ค่าไฟฟ้าผันแปร” หรือที่เราคุ้นหูกันว่า “ค่าเอฟที (Ft)”

หมายถึง ค่าไฟฟ้าผันแปรตามความผันผวนของค่าเชื้อเพลิงและค่าซื้อไฟฟ้า โดยค่านี้จะมีการปรับปรุงกันทุก 4 เดือนเพื่อให้ค่าไฟฟ้าที่เรียกเก็บจากประชาชนสะท้อนต้นทุนให้มากที่สุด (Ft สำหรับการเรียกเก็บเดือนพฤษภาคม – สิงหาคม 2563 คือ -11.60 สตางค์ต่อหน่วย)

ซึ่งตรงนี้พี่ทุยบอกเลยว่า ค่า Ft นั้นเป็นเพียงกลไกในการปรับค่าไฟฟ้าให้เป็นไปตามค่าใช้จ่ายจริงที่เกิดขึ้น (เป็นได้ทั้งค่า+ และ ค่า-) เพราะอย่างที่เรารู้กันว่าต้นทุนค่าเชื้อเพลิงต่าง ๆ มีความผันผวนและเราไม่สามารถกำหนดต้นทุนตรงส่วนนั้นได้ รวมไปถึงการสนับสนุนการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน ซึ่งโดยทั่วไปแล้วค่า Ft จะปรับขึ้น และลงตามปัจจัยที่เกี่ยวข้อง และมีการกำกับดูแลเพื่อรักษาเสถียรภาพของค่าไฟฟ้า โดย กกพ.

หน้าร้อนทีไร ทำไม "จ่ายค่าไฟฟ้าแพงขึ้น" ทุกที ?

สำหรับคนที่อยากประหยัดหรือลดค่าไฟฟ้า พี่ทุยอยากจะแนะนำสิ่งที่เราน่าจะรู้กันอยู่แล้ว คือ “ลดการใช้ไฟฟ้า” พี่ทุยเข้าใจว่าหน้าร้อนแบบนี้ทางเลือกอาจจะมีไม่เยอะ อาจจะต้องใช้วิธีการจัด Airflow ภายในบ้านก็ช่วยลดอุณหภูมิภายในบ้านเป็นอย่างดี และก็เลือกใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีฉลาก “ประหยัดไฟเบอร์ 5” ก็สามารถช่วยลดค่าไฟฟ้าได้เป็นอย่างดีเลยล่ะ

นอกจากนั้น ไม่ว่าเราจะเจอกับเรื่องอะไร ก็อย่าลืมทำใจให้ร่มเย็น เพื่อช่วยปรับอุณหภูมิในร่างกายเราด้วยนะ <3

รูปบน ของ desktop
รูปล่าง ของ mobile
FBS Trader เทรดได้อย่างปลอดภัย
FBS Trader เทรดได้อย่างปลอดภัย

Comment

Be the first one who leave the comment.

Leave a Reply