อยากซื้อ "พันธบัตรรัฐบาล" เราจะมีวิธีซื้อยังไง หาที่ไหนได้บ้าง ?

อยากซื้อ “พันธบัตรรัฐบาล” เราจะมีวิธีซื้อยังไง หาที่ไหนได้บ้าง ?

2 min read  

ฉบับย่อ

  • “พันธบัตรรัฐบาล” เป็นสินค้าการเงินที่น่าจะมีติดพอร์ตไว้ เพราะเป็นการลงทุนที่ให้ความเสี่ยงต่ำที่สุด จากสินค้าการเงินทั้งหมดที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่าเงินฝากได้
  • เราสามารถไปหาซื้อได้จากธนาคารออมสิน หรือธนาคารพาณิชย์บางแห่งที่ได้รับอนุญาติให้เป็นตัวแทนจำหน่าย แต่พันธบัตรออมทรัพย์นี้ ไม่มีให้เราซื้อได้ตลอดเวลานะ เราต้องคอยติดตามข่าวดี ๆ ว่าจะมีออกมาตอนไหน

รูปบน ของ desktop
รูปล่าง ของ mobile

พี่ทุยว่าสำหรับใครที่ศึกษาเรื่องการลงทุนมาสักพักนึง และรู้ตัวว่าเราเป็นคนไม่ค่อยชอบความเสี่ยงเท่าไหร่นัก และยังอยากได้รับผลตอบแทนแบบเรื่อยๆสม่ำเสมอ ก็คงจะนึกถึงการลงทุนใน “พันธบัตรรัฐบาล” กันใช่มั้ยล่ะ แต่ประชาชนตาดำๆอย่างเราๆเนี่ย จะไปหาซื้อพันธบัตรได้ที่ไหน ? แล้วมีวิธีซื้อยังไงบ้าง ? พี่ทุยมีคำตอบมาให้มีวิธีด้วยกัน 2 วิธีหลักๆ ได้แก่

1. ซื้อ “พันธบัตรรัฐบาล” ใน “ตลาดแรก” เลย

เวลารัฐบาลออกพันธบัตรมาขายให้กับเรา แล้วเราซื้อเป็นคนแรกโดยที่ยังไม่ผ่านมือใครมาก่อนเลย นั่นคือการซื้อขายใน “ตลาดแรก” วิธีการนี้คนออกพันธบัตร เค้ามีจุดประสงค์เพื่อให้ประชาชนได้มีทางเลือกในการออมเงิน นอกไปจากการฝากเงินในบัญชีธนาคาร หรือการออมอื่นๆ

ซึ่งในปัจจุบัน พันธบัตรประเภทนี้ที่มีขายให้เรา คือ “พันธบัตรออมทรัพย์”ที่ออกโดยกระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูหรือพัฒนาระบบสถาบันการเงิน

เราสามารถไปหาซื้อได้จากธนาคารออมสิน หรือธนาคารพาณิชย์บางแห่งที่ได้รับอนุญาติให้เป็นตัวแทนจำหน่าย แต่พันธบัตรออมทรัพย์นี้ ไม่มีให้เราซื้อได้ตลอดเวลานะ เราต้องคอยติดตามข่าวดีๆ ว่าจะมีออกมาตอนไหน แล้วธนาคารไหนที่ขายให้บ้าง แล้วพี่ทุยขอเตือนก่อนว่า ถ้าออกมาต้องรีบไปซื้อเลยนะ เพราะปกติขาย 3-5 วันก็หมดแล้ว

2. ซื้อใน “ตลาดรอง”

เป็นตลาดสำหรับคนที่ซื้อพันธบัตรจากตลาดแรกมาขายต่อให้นักลงทุนคนอื่นที่สนใจอยากซื้อพันธบัตร หรืออาจจะมีการซื้อขายเปลี่ยนมือกันไปเรื่อยๆ ซึ่งในตลาดรองก็ทำก็ซื้อพันธบัตรได้อีก 2 วิธี คือ

2.1 วิธีติดต่อซื้อขายกันเอง (Over The Counter : OTC)

วิธีนี้ไม่มีสถานที่ซื้อขายที่แน่นอน เพราะคนซื้อคนขายสามารถติดต่อตกลงสถานที่และราคากันเองได้ หรืออาจจะติดต่อผ่านสถาบันการเงินคุยกันทางโทรศัพท์ เวลาตกลงราคากันก็อาจจะอ้างอิงจากราคาที่สถาบันการเงินกำหนดไว้ก็ได้ แต่ละแห่งจะบอกราคาไม่เท่ากัน ดังนั้น ควรเปรียบเทียบราคาดูก่อนหลายๆแห่ง ซึ่งค้นหารายชื่อสถาบันการเงินได้

อาจจะศึกษาเส้นอัตราผลตอบแทน (Yield Curve) เพิ่มเติม ซึ่งสามารถหาข้อมูลได้จากเว็บไซต์ Thaibma

2.2 ซื้อขายผ่านโบรคเกอร์

วิธีนี้จะต้องเปิดบัญชีกับโบรคเกอร์ก่อน เวลาจะซื้อขายก็ส่งคำสั่งซื้อขายเองหรือให้มาร์เก็ตติ้งตราสารหนี้ส่งคำสั่งให้ก็ได้ ผ่านระบบที่เรียกว่า Bond Electronic Exchange หรือ BEX ซึ่งสามารถซื้อขายตราสารหนี้ได้ทุกประเภทเลยทั้งของรัฐและเอกชน โดยจะมีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยคอยกำกับดูแลอยู่ คล้ายๆกับตลาดหุ้นเลย ต่างกันแค่สินค้าเท่านั้นเอง

ส่วนวิธีสุดท้ายพี่ทุยแถมให้ เพราะเป็นการซื้อพันธบัตรแบบอ้อมๆ นั่นก็คือ ซื้อผ่าน “กองทุนรวมพันธบัตร” นั่นเอง วิธีนี้ก็สามารถทำได้ง่ายเช่นเดียวกัน แต่เราต้องมีกองทุนในใจไว้ก่อน แล้วดูว่าเป็นของ บลจ. ของที่ไหน แล้วมีขายที่บล.หรือธนาคารไหนบ้าง เราก็สามารถพุ่งตรงไปขอเปิดบัญชีกองทุน แล้วก็บอกชื่อกองทุนที่เราต้องการซื้อ โอนเงินเข้าไป แล้วเราก็ได้เป็นหน่วยลงทุนกลับมา

ทั้งหมดนี้ก็เป็นวิธีที่เราสามารถทำเองได้ เพียงแต่อาจจะมีความยากง่ายต่างกัน ถ้าเราชอบหรือสะดวกกับวิธีไหน ก็ไปซื้อพันธบัตรตามวิธีนั้นมาลงทุนกันได้เลย 

รูปบน ของ desktop
รูปล่าง ของ mobile
FBS Trader เทรดได้อย่างปลอดภัย
FBS Trader เทรดได้อย่างปลอดภัย