[สรุปโพสต์เดียวจบ] “มาตรการรับเงินเยียวยา 5,000 บาท” ช่วยเหลือโควิด-19 ยืดเวลาเป็น 6 เดือน

[สรุปโพสต์เดียวจบ] “มาตรการรับเงินเยียวยา 5,000 บาท” ช่วยเหลือโควิด-19 ยืดเวลาเป็น 6 เดือน

3 min read  

ฉบับย่อ

  • มาตรการ “เราไม่ทิ้งกัน” ยืดเวลาให้เงินเยียวยา 5,000 จาก 3 เดือน เป็น 6 เดือน 
  • ประกันสังคมมาตรา 39 และ 40 เท่านั้นที่เข้าร่วมมาตรการ “เราไม่ทิ้งกัน”
  • ผู้ประกันตนมาตรา 33 จะได้รับเงินช่วยเหลือจากประกันสังคมกรณีได้รับผลกระทบจาก โควิด-19 แทน
  • ขั้นตอนการลงทะเบียน และ การยกเลิกการลงทะเบียน “เราไม่ทิ้งกัน”

รูปบน ของ desktop
รูปล่าง ของ mobile

หลังจากมีกระแสตอบรับอย่างล้นหลาม “เราไม่ทิ้งกัน” ที่ตอนแรกนั้นทางรัฐคาดว่าจะมีคนเข้าเงื่อนไขและลงทะเบียนประมาณ 3 ล้านคน ตอนนี้ยอดทะลุ 24 ล้านคนไปแล้ว ตั้งแต่วันที่ 4 เมษายน 2563 โดย “มาตรการรับเงินเยียวยา 5,000 บาท” นั้นเป็นมาตรการช่วยเหลือประชาชน ที่ประสบปัญหา โควิด-19 กระทบอาชีพและรายได้ โดยจะแจกเงิน 5,000 บาท เป็นเวลา 3 เดือน ให้กับผู้ที่เข้าเงื่อนไข

ในวันที่ 7 เมษายน 2563 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง แถลงยืดเวลาแจกเงิน “มาตรการรับเงินเยียวยา 5,000 บาท”  จาก 3 เดือน เป็น 6 เดือน ยอดรวมเป็น 30,000 บาท ต่อคน โดยคาดว่าจะมีประชาชนที่ถูกต้องตามเงื่อนไข 9 ล้านคน คิดคร่าว ๆ เป็นเงินงบประมาณ 270,000 ล้านบาท

และเนื่องจากมีผู้สมัครเป็นจำนวนมาก และมีผู้สมัครที่ผิดเงื่อนไข จึงต้องใช้เวลาในการคัดกรองและคัดคนที่ผิดเงื่อนไขออก โดยจะเริ่มโอนเงินและส่ง SMS ยืนยันให้กับประชาชมกลุ่มแรกได้แก่ อาชีพค้าขาย แท็กซี่, วินมอเตอร์ไซค์, มัคคุเทศก์ และ ผู้ค้าสลากกินแบ่งรัฐบาล

ทบทวนเงื่อนไขผู้มีสิทธิลงทะเบียนรับเงิน 5,000 บาท

1. สัญชาติไทยและมีอายุมากกว่า 18 ปี
2. แรงงาน ลูกจ้าง หรือผู้ประกอบอาชีพอิสระ
3. ไม่ได้รับการเยียวยา จากประกันสังคม (ไม่อยู่ในประกันสังคมมาตรา 33)
4. ต้องเป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบจาก “Covid-19” รายได้ลดลง

ประกันสังคม มาตรา 33 , 39 และ 40 ต่างกันอย่างไร ?

ผู้ที่อยู่ในประกันสังคมมาตรา 33 เท่านั้นที่จะสามารถเข้าร่วม “เราไม่ทิ้งกัน” ว่าแต่เราอยู่ในประกันสังคมแบบไหนกัน ?

[สรุปโพสต์เดียวจบ] “มาตรการรับเงินเยียวยา 5,000 บาท” ช่วยเหลือโควิด-19 ยืดเวลาเป็น 6 เดือน

แล้วคนที่อยู่ในประกันสังคม มาตรา 33 จะได้อะไร ?

เนื่องจากผู้ที่จะได้รับเงินเยียวยา 5,000 บาท จาก “เราไม่ทิ้งกัน” นั้น จะได้เฉพาะประกันสังคม มาตรา 39 และ มาตรา 40 จึงมีการเพิ่มการเยียวยาให้ผู้ประกันตนมาตรา 33 ด้วย

1. ว่างงาน ด้วยเหตุสุดวิสัย

1.1. ผู้ประกันตนไม่ได้ทำงาน หรือนายจ้างไม่ให้ทำงาน กักตัว 14 วัน เนื่องจากใกล้ชิดผู้ติดเชื้อ Covid-19 จ่าย 62% ของค่าจ้างรายวัน ไม่เกิน 90 วัน
1.2. หน่วยงานภาครัฐ สั่งให้นายจ้างหยุดประกอบกิจการ เพื่อป้องกันการแพร่ระบาด จ่าย 62% ระยะไม่เกิน 90 วัน

2. ว่างงาน จากการลาออกหรือเลิกจ้าง

2.1. ลาออก จ่าย 45% ไม่เกิน 90 วัน
2.2. เลิกจ้าง จ่าย 70% ไม่เกิน 200 วัน

3. ลดภาระนายจ้างและผู้ประกันตน

3.1. ลดอัตราเงินสมทบ สำหรับนายจ้างเหลือ 4% ผู้ประกันตนมาตรา 33 เหลือ 1% และ มาตรา 39 เหลือ 1.8% (มี.ค. – พ.ค. 63)
3.2. 
ขยายเวลาเงินสมทบของนายจ้าง และผู้ประกันตนมาตรา 33 และ 39 ของเดือน มี.ค. – พ.ค. 63 ออกไปอีก 3 เดือน

อาชีพที่ไม่เข้าข่าย

1. นักเรียน นักศึกษา – เป็นอาชีพที่ไม่ได้ถือว่าเป็นกลุ่มแรงงาน จึงไม่ได้อยู่ในเงื่อนไข
2. คนที่ว่างงานอยู่แล้ว – ผู้ที่ว่างงานก่อนเหตุการณ์ โควิด-19 อยู่แล้วนั้น ถือว่าไม่ได้อยู่ในกลุ่มแรงงานเช่นกัน จึงไม่ได้อยู่ในเงื่อนไข
3. ผู้ที่ได้รับเงินชดเชยกรณีว่างงานจากประกันสังคม – ผู้ที่ได้รับเงินชดเชยอยู่แล้วจากมาตรา 33
4. เกษตรกร – เนื่องจากรัฐมีการให้ความช่วยเหลือด้วยมาตรการอื่นแล้ว
5. ผู้ค้าขายออนไลน์ – การขนส่งสินค้ายังสามารถดำเนินการได้อยู่จึงไม่นับว่าเป็นผู้ได้รับผลกระทบโดยตรง
6. คนงานก่อสร้าง – การก่อสร้างยังคงดำเนินการอยู่ในช่วงนี้ จึงไม่ได้อยู่ในเงื่อนไข
7. โปรแกรมเมอร์ – เป็นอาชีพที่ได้รับผลกระทบจากสถานที่การทำงานน้อย เพราะสามารถทำงานที่ใดก็ได้ จึงไม่ได้อยู่ในเงื่อนไข
8. ข้าราชการ – ยังมีงานทำและได้รับเงินเดือนตามปกติ
9. ผู้รับบำนาญ – ยังได้รับเงินจากรัฐเหมือนเดิม รายได้จึงไม่ได้รับผลกระทบ

ขั้นตอนการลงทะเบียน “เราไม่ทิ้งกัน”

ข้อมูลที่ต้องเตรียม
1. รายละเอียดบัตรประชาชน และเลขหลังบัตรประชาชน
2. ข้อมูลการติดต่อและหมายเลขโทรศัพท์มือถือเพื่อรับ OTP
3. ผูกบัญชี Promtpay กับเลขบัตรประชาชนสำหรับรับเงิน

ขั้นตอนแรกเข้ามาที่ www.เราไม่ทิ้งกัน.com  เลือก “ลงทะเบียนมาตรการชดเชยรายได้”

[สรุปโพสต์เดียวจบ] “มาตรการรับเงินเยียวยา 5,000 บาท” ช่วยเหลือโควิด-19 ยืดเวลาเป็น 6 เดือน

อ่านข้อตกลงการให้ยินยอมและติ๊กถูกหน้า “ตกลงและยอมรับตามเงื่อนไข” และกดยืนยัน

[สรุปโพสต์เดียวจบ] “มาตรการรับเงินเยียวยา 5,000 บาท” ช่วยเหลือโควิด-19 ยืดเวลาเป็น 6 เดือน

กรอกข้อมูลทุกอย่าง โดยเฉพาะหัวข้อที่มีดอกจันสีแดง และช่องหมายเลขโทรศัพท์มือถือที่ติดต่อได้นั้น จะเป็นเบอร์โทรศัพท์ที่ใช้สำหรับการยืนยันตัวตน โดยที่จะมีการส่งรหัสผ่าน OTP ผ่านโทรศัพท์เบอร์นี้

[สรุปโพสต์เดียวจบ] “มาตรการรับเงินเยียวยา 5,000 บาท” ช่วยเหลือโควิด-19 ยืดเวลาเป็น 6 เดือน

กรอกรายละเอียดที่อยู่ให้ถูกต้อง และกดดำเนินการต่อ จะเข้าสู่การยืนยัน OTP

[สรุปโพสต์เดียวจบ] “มาตรการรับเงินเยียวยา 5,000 บาท” ช่วยเหลือโควิด-19 ยืดเวลาเป็น 6 เดือน

เมื่อกรอกรหัส OTP และยืนยันตัวเองเสร็จเรียบร้อย ก็จะมีหน้าต่างการลงทะเบียนสำเร็จ ผู้สมัครจะได้รับ SMS เมื่อผ่านคัดกรองเรียบร้อย

[สรุปโพสต์เดียวจบ] “มาตรการรับเงินเยียวยา 5,000 บาท” ช่วยเหลือโควิด-19 ยืดเวลาเป็น 6 เดือน

ขั้นตอนการยกเลิกการลงทะเบียน “เราไม่ทิ้งกัน”

ขั้นตอนแรกเข้ามาที่ www.เราไม่ทิ้งกัน.com เลือก “ยกเลิกการลงทะเบียน”

[สรุปโพสต์เดียวจบ] “มาตรการรับเงินเยียวยา 5,000 บาท” ช่วยเหลือโควิด-19 ยืดเวลาเป็น 6 เดือน

กรอกหมายเลขบัตรประชาชน 13 หลัก หมายเลขโทรศัพท์ที่ลงทะเบียน และวันเดือนปีเกิด และกดยกเลิกการลงทะเบียน

หลังจากนั้นจะมี SMS ส่งเลข OTP ให้ยืนยันตัวตน เมื่อกรอกตัวเลขเสร็จจะมีข้อความขึ้นมาบอก “ยกเลิกการลงทะเบียนสำเร็จ”

[สรุปโพสต์เดียวจบ] “มาตรการรับเงินเยียวยา 5,000 บาท” ช่วยเหลือโควิด-19 ยืดเวลาเป็น 6 เดือน

ขั้นตอนการเช็คสถานะ “เราไม่ทิ้งกัน”

ขั้นตอนแรกเข้ามาที่ www.เราไม่ทิ้งกัน.com เลือก “ตรวจสอบสถานะ”

[สรุปโพสต์เดียวจบ] “มาตรการรับเงินเยียวยา 5,000 บาท” ช่วยเหลือโควิด-19 ยืดเวลาเป็น 6 เดือน

กรอกรายละเอียดเลขบัตรประชาชน เบอร์โทรที่ใช้สมัครลงทะเบียน และวันเดือนปีเกิด เสร็จแล้วคลิก “ตรวจสอบสถานะ”

[สรุปโพสต์เดียวจบ] “มาตรการรับเงินเยียวยา 5,000 บาท” ช่วยเหลือโควิด-19 ยืดเวลาเป็น 6 เดือน

ระบบจะแจ้งสถานะการลงทะเบียนของเราว่า “ผ่านรอรับเงิน” “อยู่ระหว่างการตรวจสอบ” หรือ “ให้ลงทะเบียนใหม่”

[สรุปโพสต์เดียวจบ] “มาตรการรับเงินเยียวยา 5,000 บาท” ช่วยเหลือโควิด-19 ยืดเวลาเป็น 6 เดือน

รูปบน ของ desktop
รูปล่าง ของ mobile
FBS Trader เทรดได้อย่างปลอดภัย
FBS Trader เทรดได้อย่างปลอดภัย

Comment

Be the first one who leave the comment.

Leave a Reply