วินัยการออม ปัญหาระดับชาติที่ยังไม่มีใครออกนโยบาย

วินัยการออม ปัญหาระดับชาติที่ยังไม่มีใครออกนโยบาย

4 min read  

รูปบน ของ desktop
รูปล่าง ของ mobile

วินัยการออม ปัญหาระดับชาติที่ยังไม่มีใครออกนโยบาย

พี่ทุยว่าเป็นปัญหาเรื่อง “วินัยการออม” เป็นปัญหาระดับชาติเลย การออมเงินไม่ได้ยากหรอก แต่การออมเงินอย่างต่อเนื่องในระยะยาวถือว่าเป็นเรื่องที่ยากแล้วหลายๆคนก็สอบตกเรื่องนี้กันซะด้วย

วินัยการออม ปัญหาระดับชาติที่ยังไม่มีใครออกนโยบาย

เวลาที่เราออมเงินช่วงแรก กำลังใจดี เป้าหมายชัด ก็จะออมเงินได้เป็นธรรมดา แต่พอเมื่อเวลาผ่านไป พอก้อนเงินออมเราค่อยๆเยอะขึ้นเรื่อยๆ ประกอบกับมีของที่เราอยากได้ขึ้นมา รถใหม่ บ้านใหม่ มือถือใหม่ คอมพิวเตอร์เครื่องใหม่ มันก็มีโอกาสง่ายมากๆที่เราจะไปถอนเงินออมที่เราตั้งใจเก็บไว้เพื่อเป้าหมายบางอย่างออกมาใช้ก่อนกำหนด เช่น เรื่องการเกษียณอายุ เป็นต้น

วินัยการออม ปัญหาระดับชาติที่ยังไม่มีใครออกนโยบาย

สำหรับใครที่มีวินัยการเงินไม่ค่อยดี ทนต่อการยั่วยุจากสิ่งเร้าไม่ค่อยได้ เห็นภาพป้าย SALE แล้วก็เกิดอาการหน้ามืดตามัวอยากเดินไปกดเงิน อยากเอาบัตรรูดให้ได้ของกลับบ้านสักชิ้น สองชิ้น อาจจะต้องลองหาสินค้าการเงินที่ช่วยให้เราเก็บเงินไปไกลๆตัว ถอนออกมายากๆหน่อย ที่จะช่วยสร้าง “วินัยการออมเงิน” อย่าง “ประกันชีวิตสะสมทรัพย์” ก็เป็นสินค้าการเงินที่ช่วยเก็บเงินได้เป็นอย่างดี

เพราะด้วยเงื่อนไขของ “ประกันชีวิตสะสมทรัพย์” จะให้ทยอยเก็บเงินไปเรื่อยๆทุกเดือน หรือทุกๆปี แล้วพอเก็บเงินไปสักระยะนึงก็จะได้มีเงินทยอยคืนออกมา แล้วพอครบกำหนดตามสัญญาก็จะมีเงินก้อนออกมาตามที่วางแผนไว้

วินัยการออม ปัญหาระดับชาติที่ยังไม่มีใครออกนโยบาย

พี่ทุยขอยกตัวอย่าง LifePlus Saver จาก กรุงไทย-แอกซ่า เพื่อให้เห็นภาพที่ชัดเจนกันมากขึ้น

“LifePlus Saver” เป็นแบบประกันชีวิตสะสมทรัพย์จาก “กรุงไทย-แอกซ่า” ที่มีให้เราเลือก 2 แบบ คือ
1. จ่ายเบี้ย 10 ปี คุ้มครอง 20 ปี หรือ 20/10 ตามภาษาประกันที่เค้าชอบใช้กัน และ
2. จ่ายเบี้ย 15 ปี คุ้มครอง 25 ปี หรือ 25/15 นั่นเอง

วินัยการออม ปัญหาระดับชาติที่ยังไม่มีใครออกนโยบาย

พี่ทุยขอยกตัวอย่างแบบ 20/10 ก่อนแล้วกัน
สมมติว่าเราเลือกทุนประกันอยู่ที่ 200,000 บาท แล้วเราเป็นผู้หญิงอายุ 25 ปี เราก็จะต้องจ่ายเบี้ยทั้งหมด 29,600 บาทต่อปีไปตลอด 10 ปี

วินัยการออม ปัญหาระดับชาติที่ยังไม่มีใครออกนโยบาย

จากนั้นตั้งแต่ปีที่ 4 เท่าจะได้เงินคืน 1% ของทุนประกันก็คือ 2,000 บาท แล้วหลังจากปีที่ 16 เราจะได้เงินคืนปีละ 2% ของทุนประกันก็คือ 4,000 บาทไปเรื่อยๆ พอครบ 20 ปีเราก็จะได้เงินก้อนคืนทั้งหมด 300,000 บาทบวกกับเงินปันผลออกมาด้วย ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับว่าผลประกอบการของบริษัทเป็นอย่างไรนั่นเอง

ดูทั้งหมดแล้ว เราจะจ่ายเบี้ยรวม 10 ปีเท่ากับ 296,600 บาท แต่จะได้เงินคืนรวมทั้งหมด 340,000 บาท ยังไม่รวมปันผลที่จะได้เพิ่มเติมอีกนะ แล้วนอกจากนี้เบี้ยที่เราจ่ายปีละ 29,600 บาทต่อปีเนี้ย เรายังสามารถเอาไปลดหย่อนภาษีได้ตามเงื่อนไขของสรรพากรอีกด้วย

วินัยการออม ปัญหาระดับชาติที่ยังไม่มีใครออกนโยบาย

แล้วนอกจากนี้เรายังได้ความคุ้มครองการเสียชีวิต (ณ สิ้นปี) ทุนประกัน 200,000 บาท รวมกับเบี้ยที่เราจ่ายเพิ่มเติมไปในทุกๆปี นั่นแปลว่า ในปีแรกถ้าเป็นอะไรขึ้นมาคนข้างหลังเราจะได้ทุนประกัน 200,000 + 29,600 บาท เป็น 229,600 บาท

ปีที่สอง เมื่อเราจ่ายเบี้ยประกันเพิ่มเข้าไปอีก ตัวเราจะได้ทุนประกันเพิ่มเป็น 229,600 + 29,600 บาท เท่ากับ 259,200 บาท และจะเพิ่มไปเรื่อยๆ จนปีที่ 10 เราก็จะมีทุนประกันรวม 496,000 บาทไปยาวๆจนครบ 20 ปี

วินัยการออม ปัญหาระดับชาติที่ยังไม่มีใครออกนโยบาย

จะเห็นได้ว่าการใช้ประกันชีวิตสะสมทรัพย์เพื่อการออมเงินอาจจะไม่ได้แย่เสมอไป แม้ผลตอบแทนอาจจะไม่ได้เยอะมาก แต่ก็ได้ชัวร์ๆแล้วยังช่วยสร้างวินัยทางการเงินให้กับเราด้วย แถมยังได้ลดหย่อนภาษีและมีทุนประกันเอาไว้ให้คนที่เรารักถ้าหากเราเป็นอะไรอีก ทุกสินค้าการเงินมีทั้งข้อดีและข้อเสีย ดังนั้นเราควรใช้ให้เหมาะกับตัวเรามากที่สุดนั่นเอง

สำหรับใครอยากได้ข้อมูลของ LifePlus Saver จากกรุงไทย-แอกซ่า เพิ่มเติม พี่ทุยแนะนำให้เข้าไปศึกษาเพิ่มเติมได้เลย คลิกที่นี่

รูปบน ของ desktop
รูปล่าง ของ mobile
FBS Trader เทรดได้อย่างปลอดภัย
FBS Trader เทรดได้อย่างปลอดภัย
บทความนี้เป็นบทความ Advertorial

Comment

Be the first one who leave the comment.

Leave a Reply