ในยุคที่โลกเราใช้อินเทอร์เน็ตกันเป็นเหมือนปัจจัยที่ 4 ที่ขาดไม่ได้ ไม่ว่าจะทำอะไร ชีวิตเราก็ถูกเชื่อมต่อกับโลกอินเทอร์เน็ตไปเสียหมด เมื่อเป็นเช่นนี้ แม้แต่ในยามศึกสงครามที่มีการสู้รบกัน เราก็ไม่ได้จับปืนยิงกระหน่ำ ปาระเบิด สร้างความเสียหายทางกายภาพ นองเลือดกันอย่างเดียวอีกต่อไป แต่ยังรวมถึง Cyberwarfare
Cyberwarfare หรือ การเปิดสนามรบบนโลกออนไลน์คู่ขนานไปกับสนามรบในโลกจริงด้วย อย่างเช่นกรณีระหว่างรัสเซียและยูเครนในปัจจุบัน ที่เห็นได้ชัดเจน เพราะนอกจากโจมตีกันทางกายภาพแล้ว ก็สู้รบกันบนโลกออนไลน์แบบถึงพริกถึงขิงเช่นกัน
สงครามไซเบอร์ หรือ Cyberwarfare คืออะไรเเล้วเป็นยังไง
สงครามไซเบอร์ หรือ Cyberwarfare คือการใช้ช่องทางดิจิทัลเพื่อโจมตีประเทศศัตรู โดยหวังผลให้เกิดความเสียหายพอ ๆ กับการทำสงครามจริง ๆ ก็คือ ใช้โลกไซเบอร์เป็นเครื่องมือ ทำให้เกิดความเสียหายด้านกายภาพ ทำอันตรายต่อผู้คนหรือวัตถุในโลกจริง รวมถึงไปขัดขวางการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ที่สำคัญ
Check Point Software Technologies บริษัทให้บริการความปลอดภัยทางไซเบอร์ แบ่ง “สงครามไซเบอร์” ออกเป็น 6 รูปแบบด้วยกัน ตามเป้าหมายของสงคราม คือ
1. โจมตีโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ
2. โจมตีด้วยกลยุทธ์ปฏิเสธการให้บริการ (DDos)
3. การปล่อยโปรแกรมเรียกค่าไถ่ หรือ Ransomeware และโปรแกรมประสงค์ร้าย Wipers ทำให้ผู้ใช้งานไม่สามารถเข้าถึงไฟล์สำคัญได้ด้วยการเข้ารหัสไว้ หรือลบไฟล์นั้นทิ้งไปเลย
4. การหลอกลวงทางออนไลน์ หรือ Phishing ส่งโปรแกรมประสงค์ร้ายไปล้วงข้อมูลที่ละเอียดอ่อนของผู้ใช้งานออกมา
5. การโฆษณาชวนเชื่อ ปล่อยข้อมูลปลอม หรือข้อมูลที่จะทำให้เสียขวัญกำลังใจ รวมทั้งการนำเอาข้อมูลละเอียดอ่อนหรือน่าอายออกมาเผยแพร่
6. การจารกรรมข้อมูลความสามารถทางการทหารและการปฏิบัติการของประเทศโดยแทรกซึมเครือข่ายของรัฐบาลและกองทัพ
ตัวอย่างสงครามไซเบอร์ในอดีต
สำหรับประเทศที่มีความสามารถจะทำสงครามไซเบอร์ในเชิงรุกหรือป้องกันการรุกรานทางไซเบอร์ได้บนโลกใบนี้ ได้แก่ สหรัฐฯ อังกฤษ รัสเซีย จีน อิสราเอล อิหร่าน และเกาหลีเหนือ ซึ่งการจู่โจมแต่ละครั้งที่ผ่านมาก็หวังผลสร้างความเสียหายใหญ่หลวงระดับประเทศทั้งนั้น
พี่ทุยขอหยิบตัวอย่างสงครามไซเบอร์ที่เคยเกิดขึ้นบนโลกมาให้ทุกคนได้เห็นภาพกันมากขึ้น ดังนี้
สงครามไซเบอร์รัสเซีย-ยูเครน ปี 2022
ถ้าดูจากตัวอย่างสงครามไซเบอร์ในอดีต ก็น่าจะเห็นแล้วว่า รัสเซียก็เคยใช้ยุทธวิธีนี้จัดการยูเครนมาแล้วหลายหน และในการทำสงครามรอบล่าสุดที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ในเวลานี้ รัสเซียก็ไม่พลาดที่จะใช้ยุทธวิธีทำสงครามไซเบอร์ด้วยเช่นกัน
Check Point Software Technologies ออกมาเผยข้อมูลว่า สงครามรัสเซีย-ยูเครนรอบล่าสุด มีการใช้สงครามไซเบอร์กันอย่างหนักหน่วง โดยพบว่ารอบนี้เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์เลยที่มีเหล่าอาสาทั้งฝ่ายรัสเซียและยูเครนมาร่วมแจมเป็นทหารอาสาในสนามรบไซเบอร์นี้ด้วย
ข้อมูลที่น่าสนใจก็คือ 3 วันแรกหลังจากที่รัสเซียโจมตียูเครน ก็มีการโจมตีทางออนไลน์ที่พุ่งเป้าหมายไปยังกองทัพยูเครนและกลุ่มรัฐบาลยูเครนเพิ่มขึ้น 196% นอกจากนี้ยังพบว่า องค์กรรัสเซีย ถูกโจมตีเพิ่มขึ้น 4% ส่วนองค์กรยูเครน ถูกโจมตีเพิ่มขึ้น 0.2% ขณะที่การโจมตีที่เกิดขึ้นในส่วนอื่น ๆ ของโลกนั้นลดลงไป
ตัวอย่างยุทธวิธีที่ใช้รอบนี้ เช่น ฝั่งรัสเซียจู่โจมเว็บไซต์รัฐบาลยูเครน ทำให้เว็บไซต์หลักของหน่วยงานรัฐบาลยูเครนรวมถึงธนาคารใช้งานไม่ได้
ส่วนฝั่งยูเครนก็ทำให้เว็บไซต์รัสเซียหยุดชะงัก เพื่อป้องกันการเผยแพร่ข้อมูลที่บิดเบือน โดยใช้วิธีปฏิบัติการการปฏิเสธการให้บริการ (DDos)
ส่วนใครจะเป็นผู้ชนะหรือผู้แพ้ในสงครามไซเบอร์ก็อยู่ที่ว่า ฝ่ายไหนมีทหารไอทีฝีมือดีที่เชี่ยวชาญด้านการป้องกันหรือจู่โจมมากกว่ากัน แต่สุดท้ายแล้ว ต่อให้การทำสงครามไซเบอร์ในเวลานั้นจะมีฝ่ายหนึ่งเป็นผู้ชนะ และอีกฝ่ายเป็นผู้แพ้ สุดท้ายเมื่อสงครามสงบก็จะพบว่า ทุกฝ่ายต่างก็บาดเจ็บไปด้วยกัน ดังนั้นไม่เกิดสงครามเลย ทุกอย่างจบลงด้วยการเจรจาอย่างสันติวิธีก็น่าจะดีที่สุดสำหรับทุกคน
อ่านเพิ่ม