วิธี "ยื่นภาษี"

5 วิธียอดฮิตของการ “ยื่นภาษี”

2 min read  

ฉบับย่อ

  • เมื่อคนเราทำงานมีรายได้ แน่นอนว่าสิ่งที่เราทุกคนต้องเจอก็คือภาษี อย่างที่หลาย ๆ คนเคยกล่าวไว้ว่า สิ่งที่เราไม่มีวันหนีพ้น ก็คือความตายและภาษี
  • ในสถานะที่เราเป็นประชาชนคนธรรมดา เรายังมีหน้าที่อย่างนึงก็คือเราต้อง “ยื่นภาษี” เองด้วย เรียกง่าย ๆ ว่า เรามีหน้าที่ไปเสียภาษีให้เค้านั้นแหละ โดยไม่ต้องรอให้ทางสรรพากรทวงถาม
  • วิธียื่นภาษียอดฮิตมีอยู่ 5 ทาง คือ 1) ยื่นภาษีออนไลน์ 2) ยื่นภาษีที่กรมสรรพากร 3) ให้ฝ่าย HR ยื่นภาษีให้ 4) ยื่นภาษีที่ธนาคาร 5) ยื่นภาษีทางไปรษณีย์

รูปบน ของ desktop
รูปล่าง ของ mobile

เข้าสู่เทศกาล “ยื่นภาษี” กันแล้ว เมื่อคนเราทำงานมีรายได้ แน่นอนว่าสิ่งที่เราทุกคนต้องเจอก็คือภาษี อย่างที่หลาย ๆ คนเคยกล่าวไว้ว่า สิ่งที่เราไม่มีวันหนีพ้น ก็คือความตายและภาษี

แล้วในสถานะที่เราเป็นประชาชนคนธรรมดา เรายังมีหน้าที่อย่างนึงก็คือเราต้อง “ยื่นภาษี” เองด้วย เรียกง่าย ๆ ว่า เรามีหน้าที่ไปเสียภาษีให้เค้านั้นแหละ โดยไม่ต้องรอให้ทางเฮียสรรพากรทวงถาม

บทความนี้พี่ทุยจะพามาดูกันว่า เรามีวิธีการ “ยื่นภาษี” แบบไหนกันได้บ้าง ?

1. “ยื่นภาษี” ออนไลน์

วิธีนี้พี่ทุยว่าเป็นวิธีที่ง่ายและสะดวกที่สุดแล้วล่ะ แค่เข้าไปเว็บไซด์ของกรมสรรพากร www.rd.go.th หน้าแรกก็จะมีปุ่ม ยื่นออนไลน์ ก็เข้าไปทำตามขั้นตอนได้เลย

แต่วิธีนี้พี่ทุยว่าเหมาะกับคนที่มีรายได้ไม่ซับซ้อน เช่น มีรายได้ 40(1) หรือ 40(2) เท่านั้น แบบไม่ต้องมีเอกสารอะไรเพิ่มเติมเยอะ แค่ใบ ทวิ 50 จากนายจ้าง แล้วก็เอกสารลดหย่อนต่าง ๆ เท่านั้น

แต่สำหรับคนที่มีรายได้แปลก ๆ เช่น 40(8) ที่มีการหักค่าใช้จ่ายตามจริง อันนี้พี่ทุยแนะนำให้ใช้วิธีถัดไปดีกว่า นั่นก็คือ

2. “ยื่นภาษี” ที่สรรพากร

อันนี้เป็นวิธีโบราณที่สุด ก็คือการที่เราต้องเตรียมเอกสารทุกอย่าง (ต้องเตรียมให้ครบนะ) แล้วไปที่กรมสรรพากรใกล้บ้าน เอาไปให้เจ้าหน้าที่ทำให้เลย

อย่างที่พี่ทุยพูดถึงไว้ในข้อ 1 ว่าถ้าเรามีรายได้ประเภทที่หักค่าใช้จ่ายตามจริง ที่ต้องแนบเอกสารเยอะ ๆ แนะนำว่าให้ไปทำที่กรมสรรพากรดีกว่า เวลามีเอกสารผิดพลาด เจ้าหน้าที่จะได้แจ้งให้เราจัดการได้ทันที ไม่ต้องรอส่งเมลไปมา กว่าเราจะได้ภาษีคืน หรือว่าจะเสร็จกินเวลาหลายอาทิตย์

3. รบกวยฝ่าย HR ของบริษัท ยื่นภาษีให้

HR หรือ Human Resource หรือฝ่ายบุคคลของบริษัทที่เราทำงานอยู่เนี้ยแหละ จริง ๆ ก็สามารถให้ฝ่ายบุคคลเราดำเนินการได้เช่นกัน แค่เดินไปแจ้งให้จัดการให้หน่อย เดี๋ยวฝ่ายบุคคลก็จะเรียกเอกสารจากเราเอง ว่าเค้าจะเอาอะไรบ้างในการประกอบการยื่นภาษี

แต่วิธีนี้พี่ทุยแนะนำว่า เหมาะกับคนที่มีรายได้แค่ 1 ทาง คือจากบริษัทนายจ้างเราบริษัทเดียวนะ เพราะถ้าเรามีรายได้อื่น ๆ เยอะ พี่ทุยว่าก็คงไม่มีใครอยากจะไปโชว์ให้คนอื่นเห็นสักเท่าไหร่

หรือว่าถ้าฝ่ายบุคคลเป็นสาวสวย แล้วอยากโชว์ป๋า ว่าเรารายได้เยอะ เลี้ยงเธอได้ทั้งชีวิตนะจ้ะ มาอยู่กับพี่ให้พี่ดูแลมั้ย ? อันนี้พี่ทุยก็ไม่ขัดนะ ฮรี่ๆๆๆๆ

4. ยื่นภาษีที่ธนาคาร

วิธีนี้เราสามารถไปได้ที่ธนาคารทุกที่เลย โดยที่เราจะต้องเตรียม ภงด.90 หรือ 91 ไปยื่นได้เลย แต่ยกเว้นธนาคารกรุงไทยที่จะสะดวกหน่อย คือเราไม่จำเป็นต้องเตรียมเอกสารไป ทางธนาคารมีข้อมูลภาษีอยู่แล้ว ก็แค่เตรียมเงินไปจ่าย เนื่องจากเป็นธนาคารที่กรมสรรพากรใช้บริการอยู่แล้ว ธนาคารเค้าจะมีข้อมูลในกรณีที่ต้องชำระเพิ่ม แต่ต้องจ่ายเต็มทั้งจำนวน

5. ยื่นภาษีทางไปรษณีย์

วิธีนี้สามารถทำได้เฉพาะคนที่มีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพฯเท่านั้น โดยไปยื่น ภงด.90 หรือ 91 แล้วถ้าต้องชำระเพิ่มต้องเป็น เช็ค หรือ ธนาณัติ เท่านั้น

สำหรับคนที่มีรายได้ไม่ถึงเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษี หลายคนเข้าใจว่า ไม่ต้องยื่นภาษีละกัน ! ก็รายได้ไม่ถึงไม่ต้องเสียภาษีอยู่แล้ว พี่ทุยอยากจะบอกว่า จำเป็นต้องยื่นภาษีนะจ๊ะ เพราะไม่งั้นแล้ว เราอาจจะโดน “ค่าปรับ” ได้เหมือนกัน

อ่านต่อเรื่อง เงินเดือนเท่าไหร่ต้องเสียภาษี

แล้วถ้าในกรณีที่เราได้เงินมา แต่ถูกหัก ณ ที่จ่ายไว้ 3% เราก็ยื่นภาษีเพื่อขอคืนได้เหมือนนะ พี่ทุยว่าได้คืนก็หลายบาทอยู่เหมือนกัน ดังนั้นก็ไปยื่นเถอะ ยื่นออนไลน์ก็ได้ เสียเวลาแป๊บเดียวเอง

สำหรับใครที่ต้องเสียภาษีเพิ่ม แล้วเราเกิดบริหารเงินผิดพลาด ไม่มีเงินมาชำระภาษี จริง ๆ ทางกรมสรรพากรเค้ามีโปรโมชั่นพิเศษ ให้ผ่อนได้ 0% 3 เดือน อย่างกับโปรโมชั่นบัตรเครดิต ฮ่าๆๆๆๆ

แต่พี่ทุยแนะนำว่าถ้าจ่ายเต็มได้ ก็จ่ายเต็มเถอะไม่เสียหาย เราจะไม่ได้ลืม เดี๋ยวถ้าพลาดโดนเบี้ยปรับอีก ก็ยุ่งวุ่นวายกันไปใหญ่

5 วิธีที่พี่ทุยแนะนำมานี้ ถ้าใครสะดวกวิธีไหนก็รีบไปจัดการยื่นภาษีกันได้เลยนะจ๊ะ..

รูปบน ของ desktop
รูปล่าง ของ mobile
FBS Trader เทรดได้อย่างปลอดภัย
FBS Trader เทรดได้อย่างปลอดภัย