รัฐบาลออก Easy e-Receipt ลดหย่อนภาษีสูงสุด 50,000 บาท

3 min read    Money Buffalo

ฉบับย่อ

  • Easy e-Receipt คือโครงการลดหย่อนภาษีกระตุ้นเศรษฐกิจ ที่ปลอบใจคนที่ไม่มีสิทธิได้เงินดิจิทัล 10,000 บาท
  • ต้องซื้อสินค้าและบริการมูลค่าไม่เกิน 50,000 บาท มีใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax invoice) สามารถนำมาลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
  • ยังต้องติดความคืบหน้าต่อไป ถึงรายละเอียดและเงื่อนไข ร่วมทั้งโครงการเงินดิจิทัล 10,000 บาท ว่าจะสำเร็จลุล่วงหรือเปล่า

รูปบน ของ desktop
รูปล่าง ของ mobile

หลังจากประกาศอัปเดตเงื่อนไขเงินดิจิทัล 10,000 บาท ปรากฎว่าคนที่เงินเดือน 70,000 บาทขึ้นไปและมีเงินฝากในบัญชีเกิน 500,000 บาท ไม่มีสิทธิได้เงินดิจิทัลนี้ ซึ่งทำให้ผู้มีเสียสิทธิไปประมาณ 6 ล้านคน แต่รัฐบาลก็มีโครงการชดเชยให้กลุ่มคนเหล่านี้คือ โครงการ Easy e-Receipt ที่จะเป็นตัวช่วยลดหย่อนภาษีได้มากสุดถึง 50,000 บาท และล่าสุดได้มีความชัดเจนจากครม. ออกมาแล้ว รายละเอียดและเงื่อนไขในการลดหย่อนภาษีจะเป็นยังไง พี่ทุยสรุปมาให้แล้ว 

Easy e-Receipt หรือ e-Refund คืออะไร

คือโครงการกระตุ้นการจับจ่ายของประชาชน ผ่านการนำใบเสร็จอิเล็กทรอนิกส์ที่ซื้อสินค้ามาใช้สิทธิลดหย่อนภาษี ใน

ช่วงวันที่ 1 ม.ค.-15 ก.พ. 2567 ซึ่งโครงการนี้เป็นโครงการพ่วงกับเงินดิจิทัล 10,000 บาท ที่แต่เดิมประกาศว่าจะแจกคนไทยทุกคนที่อายุ 16 ปีขึ้นไป แต่ภายหลังได้มีการปรับเปลี่ยนกฎเกณฑ์ ทำให้มีผู้เสียสิทธิไป แต่รัฐบาลก็ปลอบใจด้วยการออกโครงการ วันที่ 1 ม.ค.-15 ก.พ. 2567 นี้มา ซึ่งลดหย่อนภาษีได้ถึง 50,000 บาท

เงื่อนไข โครงการ Easy e-Receipt

  • ใช้สิทธิลดหย่อนภาษีจากการซื้อสินค้าและบริการมูลค่าไม่เกิน 50,000 บาท
  • ต้องมีใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax invoice) เพื่อมายื่นลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
  • ผู้ที่ร่วมโครงการเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาทสามารถเข้าร่วมโครงการ Easy e-Receipt เพื่อลดหย่อนภาษีได้ด้วย

สินค้าใดสามารถลดหย่อนภาษีได้

สินค้าและบริการเข้าเกณฑ์ลดหย่อนนั้น คือต้องสินค้าที่มีการจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่ก็มี สินค้าที่ไม่เข้าร่วม ดังนี้

  • สุรา เบียร์ และไวน์
  • ยาสูบ
  • รถยนต์ รถจักรยานยนต์ และเรือ
  • ค่าน้ำมันและก๊าซสำหรับเติมยานพาหนะ
  • ค่าสาธารณูปโภคค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้า ค่าบริการสัญญาณโทรศัพท์ ค่าบริการสัญญาณอินเทอร์เน็ต และค่าบริการสำหรับบริการที่มีข้อตกลงการให้บริการระยะยาว ซึ่งเริ่มต้นก่อนวันที่ 1 ม.ค. 2567 หรือสิ้นสุดหลังวันที่ 15 ก.พ. 2567
  • ค่าเบี้ยประกันวินาศภัย

ส่วนสินค้าและบริการที่มีสินค้าและบริการที่ที่ไม่จำเป็นต้องอยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้แก่

  • ค่าหนังสือ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร
  • ค่าบริการหนังสือ หนังสือพิมพ์ และนิตยสารที่อยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต
  • ค่าสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ซึ่งเป็นสินค้าที่ได้ลงทะเบียนกับกรมการพัฒนาชุมชนแล้ว

โครงการ Easy e-Receipt จะกระตุ้นการจับจ่าย

รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า Easy e-Receipt คาดว่าจะสามารถเพิ่มเงินหมุนเวียนในระบบ 70,000 ล้านบาท เพิ่มจีดีพี 0.18% เมื่อเทียบกับไม่มีมาตรการ

และโครงการนี้จะส่งเสริมให้ผู้ประกอบการเข้าเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และสนับสนุนการใช้ระบบภาษีอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งจะเป็นการขยายฐานภาษีและสนับสนุนการใช้ระบบภาษีอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งจะส่งผลดีต่อการจัดเก็บรายได้ภาษีของรัฐบาลในระยะยาว

คู่แฝดโครงการช้อปดีมีคืน

ปี 2565 ที่ผ่านมา รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ก็เคยจัดโครงการช้อปดีมีคืน ให้ประชาชนสามารถนำใบเสร็จที่ซื้อสินค้าหรือค่าบริการตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 40,000 บาท ไปลดหย่อนภาษีได้

เช่น หากซื้อสินค้าหรือค่าบริการ จำนวน 30,000 บาทแรก จะใช้เป็นใบกำกับภาษีแบบกระดาษ หรือใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้ ส่วนที่เกิน 30,000 บาท สามารถใช้ใบกำกับภาษีรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์มาลดหย่อนได้เพิ่มเติมอีก 10,000 บาท 

ดังนั้นโครงการ e-Receipt จึงมีความคลายคลึงกัน คือการกระตุ้นการจับจ่ายในกลุ่มห้างสรรพสินค้าได้ดีและเจาะกลุ่มกำลังซื้อสูง ซึ่งคาดว่าร้านค้าที่สามารถออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ได้จะมีมากขึ้นกว่าปีก่อนอีกด้วย

รูปบน ของ desktop
รูปล่าง ของ mobile