เครื่องมือที่ใช้วิเคราะห์หุ้นของ "Peter Lynch"

เครื่องมือที่ใช้วิเคราะห์หุ้นของ “Peter Lynch”

3 min read  

ฉบับย่อ

  • ตลอด 13 ปีของการเป็นผู้จัดการกองทุน Fidelity Magellan ของ “Peter Lynch” เขาช่วยให้สินทรัพย์ของกองทุนเพิ่มขึ้นจาก 1.4 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ เป็น 1.8 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือเพิ่มขึ้นราว 1.3 แสนล้านบาท ก่อนที่เขาจะเกษียณตัวเองด้วยวัย 46 ปี ในปี 1990
  • แนวคิดสำคัญของ “Peter Lynch” อย่างหนึ่งคือ การเข้าซื้อหุ้นที่ราคาสมเหตุสมผลกับมูลค่าของกิจการในช่วงเวลานั้น ๆ โดยหนึ่งในเครื่องมือที่เขานำมาใช้ประกอบการวิเคราะห์ก็คือ P/E ratio
  • “Peter Lynch” ให้ความหมายของ P/E ratio ไว้ว่า “P/E ของแต่ละบริษัท คือ ราคาที่เหมาะสมต่ออัตราการเติบโต สมมุติว่า P/E ของหุ้นตัวหนึ่งคือ 15 เท่า หมายความว่า เรากำลังคาดหวังให้หุ้นตัวนั้นมีอัตราการเติบโต 15% ต่อปี แต่ถ้า P/E ของหุ้นนั้น ๆ ต่ำกว่าอัตราการเติบโต แปลว่าเรากำลังซื้อหุ้นได้ต่ำกว่ามูลค่า แต่ในทางกลับกัน ถ้า P/E สูงกว่าอัตราการเติบโต ความน่าสนใจของหุ้นตัวนั้นก็จะลดลงไป”

รูปบน ของ desktop
รูปล่าง ของ mobile

จากเด็กฝึกงานที่ Fidelity Investment ในช่วงก่อนจบการศึกษาจาก Wharton School University of Pennsylvania ในสาขา MBA จนในปี 1977 “Peter Lynch” ได้ก้าวขึ้นมาเป็นผู้จัดการกองทุน Fidelity Magellan และดำรงตำแหน่งนั้นอยู่จนถึงปี 1990 ช่วงเวลา 13 ปี ของ Peter Lynch เขาช่วยให้สินทรัพย์ของกองทุนเพิ่มขึ้นจาก 1.4 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ เป็น 1.8 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือเพิ่มขึ้นราว 1.3 แสนล้านบาท (อิงจากค่าเงินปัจจุบัน) ก่อนจะเกษียณตัวเองด้วยวัย 46 ปี

แนวคิดสำคัญของ Peter Lynch อย่างหนึ่งคือ การเข้าซื้อหุ้นที่ราคาสมเหตุสมผลกับมูลค่าของกิจการในช่วงเวลานั้น ๆ โดยหนึ่งในเครื่องมือที่เขานำมาใช้ประกอบการวิเคราะห์ คือ P/E ratio เขาให้ความหมายของ P/E ratio ไว้ว่า “P/E ของแต่ละบริษัท คือ ราคาที่เหมาะสมต่ออัตราการเติบโต สมมุติว่า P/E ของหุ้นตัวหนึ่งคือ 15 เท่า หมายความว่า เรากำลังคาดหวังให้หุ้นตัวนั้นมีอัตราการเติบโต 15% ต่อปี แต่ถ้า P/E ของหุ้นนั้น ๆ ต่ำกว่าอัตราการเติบโต แปลว่าเรากำลังซื้อหุ้นได้ต่ำกว่ามูลค่า แต่ในทางกลับกัน ถ้า P/E สูงกว่าอัตราการเติบโต ความน่าสนใจของหุ้นตัวนั้นก็จะลดลงไป”

โดยทั่วไปแล้วเขามองว่าจำนวนเท่าของ P/E ratio ซึ่งมีตัวเลขต่ำกว่าอัตราการเติบโตครึ่งหนึ่ง อย่างเช่น หุ้น X มี P/E 6 เท่า และมีอัตราการเติบโต 12% จัดเป็นหุ้นที่น่าสนใจมาก แต่ในทางกลับกัน หาก P/E มีค่ามากกว่าอัตราการเติบโตเท่าตัว หุ้นนั้น ๆ จะมีความน่าสนใจที่ต่ำมาก นอกจาก P/E ratio แล้ว เขายังได้พัฒนาเครื่องมือการวิเคราะห์ซึ่งต่อยอดจาก P/E ปกติ มาเป็น PEG หรือ P/E to Growth ratio

เจ้า PEG เป็นเครื่องมือที่ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อให้การเปรียบเทียบราคากับการเติบโตของบริษัททำได้ง่ายขึ้น โดยผลลัพธ์ของ PEG ที่ต่ำกว่า 1 จะหมายความว่าหุ้นนั้น ๆ มีราคาต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริงเมื่อเทียบกับการเติบโต (ในกรณีที่การเติบโตเป็นไปตามคาด)

ตัวอย่างหนึ่งที่อาจจะพอทำให้เห็นภาพมากขึ้นคือ ถ้าหุ้น 2 ตัว กำลังซื้อขายกันที่ P/E 15 เท่า ขณะที่หุ้นตัวหนึ่งเติบโต 10% อีกตัวหนึ่งเติบโต 20% จะเห็นว่าหุ้นตัวที่เติบโต 20% ซึ่งมีค่า PEG เท่ากับ 0.75 เท่า ย่อมมีความน่าสนใจมากกว่า ไม่เพียงแค่การวิเคราะห์ PEG เท่านั้น Peter Lynch ยังได้ต่อยอดเครื่องมือดังกล่าวด้วยสิ่งที่เรียกว่า Dividend-Adjusted PEG ratio เพื่อให้สามารถวิเคราะห์ผลตอบแทนรวมของหุ้นได้ง่ายขึ้น เพราะผลตอบแทนจากการลงทุนโดยรวม (Total return) ไม่ได้เกิดจากเพียงแค่ ผลกำไรส่วนต่างจากราคาหลักทรัพย์ (Capital gain) เท่านั้น แต่ยังรวมถึงผลตอบแทนจากเงินปันผล (Dividend) อีกด้วย

ตัวอย่างเช่น หากซื้อหุ้นที่ P/E 14 เท่า ซึ่งมีอัตราการเติบโตเฉลี่ย 6% ต่อปี ทำให้หุ้นตัวนี้ดูเหมือนจะแพงเกินไป อย่างไรก็ตาม ถ้าหุ้นตัวนี้ให้เงินปันผลต่อเนื่อง 8% จะทำให้ความน่าสนใจในการเข้าลงทุนเพิ่มขึ้น

จากสูตรคือ Dividend-adjusted PEG ratio = P/E ratio / (earning growth + dividend yield) โดยผลลัพธ์ที่ต่ำกว่า 1 จะหมายถึงราคาที่ต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริง

แม้ว่าแนวคิดของ Peter Lynch ในเรื่องของ P/E จะเป็นเหมือนกันวิเคราะห์ไปที่ราคาหุ้น แต่แท้จริงแล้ว สิ่งที่เขาให้ความสำคัญคือ ธุรกิจของบริษัทและผลประกอบการที่แท้จริงของมัน และหนึ่งในประโยคที่เขาเคยกล่าวไว้ในหนังสือ Beating the street คือ “This is one of the keys to successful investing: focus on the companies, not on the stocks.”

รูปบน ของ desktop
รูปล่าง ของ mobile
FBS Trader เทรดได้อย่างปลอดภัย
FBS Trader เทรดได้อย่างปลอดภัย

Comment

Be the first one who leave the comment.

Leave a Reply