พนักงานงานออฟฟิศมีเงินเดือนก้อนใหญ่ แต่ค่าใช้จ่ายก็บานตามไปด้วย สุดท้ายก็เหลือเก็บแต่ละเดือนไม่เท่าไหร่ แล้วเงินเหลือเก็บที่อดออมมาอย่างยากลำบากจะเอาไปฝากไว้ที่ไหนดี ให้เงินก้อนน้อยออกดอกออกผลเพิ่มขึ้น วันนี้พี่ทุยเหลือมาแนะนำว่า เก็บเงิน 1000 บาท ทุกเดือน ที่ไหนดี แล้วจะได้ผลตอบแทนเท่าไหร่ ไปดูกัน
ทำไม เก็บเงิน 1000 บาท ไม่ควรฝากที่บัญชีออมทรัพย์
ส่วนใหญ่ที่พักเงินง่ายที่สุดก็คือ บัญชีออมทรัพย์ทั่วไปตามธนาคารต่าง ๆ แต่ก็ไม่แนะนำให้พักเงินก้อนใหญ่ไว้นิ่ง ๆ ที่นี่ เพราะว่าบัญชีออมทรัพย์ ให้ดอกเบี้ยเงินฝากน้อยมาก ในท้องตลาดตอนนี้บัญชีออมทรัพย์ทั่วไปของธนาคารต่าง ๆ ให้ดอกเบี้ยอยู่ที่ 0.2-0.3% ต่อปีเท่านั้น
พี่ทุยลองคำนวณให้ดู ถ้า เก็บเงิน 1000 บาท ทุกเดือนโดยไม่ถอน ดอกเบี้ย 0.3% ต่อปี แล้วบัญชีจ่ายดอกเบี้ยทุก 6 เดือน
- เดือน ม.ค. มี 31 วัน (1,000 x 0.3% x 31) / 365 = 0.25 บาท
- เดือน ก.พ. มี 28 วัน ((1,000 + 1,000) x 0.3% x 28) / 365 = 0.46 บาท
- มี.ค. มี 31 วัน ((1,000 + 1,000 + 1000) x 0.3% x 31) / 365 = 0.76 บาท
- เม.ย. มี 30 วัน ((1,000 + 1,000 + 1000 + 1000) x 0.3% x 30) / 365 = 0.99 บาท
- พ.ค. มี 31 วัน ((1,000 + 1,000 + 1000 + 1000 + 1000) x 0.3% x 31) / 365 = 1.27 บาท
- มิ.ย. มี 30 วัน ((1,000 + 1,000 + 1000 + 1000 + 1000 + 1000) x 0.3% x 30) / 365 = 1.48 บาท
ช่วงครึ่งปีแรกเราจะได้ดอกเบี้ย 5.21 บาท จากเงินต้น 6000 บาท
แล้วถ้าครึ่งปีหลังฝากเงินต่อ โดยไม่ถอนดอกเบี้ย
- เดือน ก.ค. มี 31 วัน ((7,000+5.21) x 0.3% x 31) / 365 = 1.78 บาท
- เดือน ส.ค. มี 31 วัน ((8,000+5.21) x 0.3% x 31) / 365 = 2.04 บาท
- ก.ย. มี 30 วัน ((9,000+5.21) x 0.3% x 30) / 365 = 2.22 บาท
- ต.ค. มี 31 วัน ((10,000+5.21) x 0.3% x 31) / 365 = 2.55 บาท
- พ.ย. มี 30 วัน ((11,000+5.21) x 0.3% x 31) / 365 = 2.71 บาท
- ธ.ค. มี 31 วัน ((12,000+52.18) x 0.3% x 31) / 365 = 3.06 บาท
เท่ากับว่าครึ่งปีแรกจะได้ดอกเบี้ย 14.36 บาท
สรุป 1 ปี จะได้ดอกเบี้ย 5.21 + 14.36 = 19.57 บาท จากเงินต้น 12,000 บาท
ก็จะเห็นได้ว่าการพักเงินไว้ที่บัญชีออมทรัพย์ได้ผลตอบแทนน้อยแบบน่าใจหายไปเลย
ได้ดอกเบี้ยมากกว่ากับบัญชีเงินฝากดิจิทัล
ถ้าอยากออมเงิน แต่ว่าก็อยากได้สภาพคล่องด้วย ไปออมกับบัญชีเงินเงินฝากดิจิทัล ก็จะให้ดอกเบี้ยที่สูงกว่า ซึ่งคุณสมบัติคล้ายคลึงกับบัญชีออมทรัพย์เพียงเป็นบัญชีออนไลน์ที่ไม่มีสมุดคู่ฝาก (Book Bank) ได้รับดอกเบี้ยประมาณ 1.5 – 5.0% นอกจากจะได้รับดอกเบี้ยที่มากกว่าบัญชีเงินฝากทั่วไปแล้ว ยังสามารถฝาก ถอน โอน ได้สะดวกรวดเร็วผ่านอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่มีแอพพลิเคชันของธนาคารผู้ให้บริการด้วย
เก็บเงิน 1000 บาท ทุกเดือน ฝากไว้ที่ไหนดี ? 1 ปีได้ดอกเบี้ยเท่าไหร่
1. Dime! Save โดย ธนาคารเกียรตินาคินภัทร
- บัญชีออมทรัพย์ดิจิทัล Dime! Save ให้ดอกเบี้ยสูงสุดถึง 3% ต่อปี โดยยอดเงินฝากไม่เกิน 10,000 บาท จ่ายดอกเบี้ยทุก 6 เดือน
- เงินฝาก 10,000 – 1,000,000 บาท ดอกเบี้ย 1.50%
พี่ทุยจะลองคำนวณ ถ้าฝากต่อเนื่องเดือนละ 1,000 บาท โดยไม่ถอนออก 1 ปี จะได้ดอกเบี้ยเท่าไหร่
- เดือน ม.ค. มี 31 วัน (1,000 x 3% x 31) / 365 = 2.55 บาท
- เดือน ก.พ. มี 28 วัน ((1,000 + 1,000) x 3% x 28) / 365 = 4.60 บาท
- มี.ค. มี 31 วัน ((1,000 + 1,000 + 1000) x 3% x 31) / 365 = 7.64 บาท
- เม.ย. มี 30 วัน ((1,000 + 1,000 + 1000 + 1000) x 3% x 30) / 365 = 9.86 บาท
- พ.ค. มี 31 วัน ((1,000 + 1,000 + 1000 + 1000 + 1000) x 3% x 31) / 365 = 12.74 บาท
- มิ.ย. มี 30 วัน ((1,000 + 1,000 + 1000 + 1000 + 1000 + 1000) x 3% x 30) / 365 = 14.79 บาท
เท่ากับว่าครึ่งปีแรกจะได้ดอกเบี้ย 52.18 จากเงินต้น 6000 บาท
แล้วถ้าครึ่งปีหลังฝากเงินต่อ โดยไม่ถอนดอกเบี้ย
- เดือน ก.ค. มี 31 วัน ((7,000+52.18) x 3% x 31) / 365 = 17.97 บาท
- เดือน ส.ค. มี 31 วัน ((8,000+52.18) x 3% x 31) / 365 = 20.52 บาท
- ก.ย. มี 30 วัน ((9,000+52.18) x 3% x 30) / 365 = 22.32 บาท
- ต.ค. มี 31 วัน ((10,000 x 3% x 31) / 365) + ((52.18 x 1.5% x 31) / 365) = 25.55 บาท
- พ.ย. มี 30 วัน ((10,000 x 3% x 30) / 365) + (((1,000+52.18) x 1.5% x 30) / 365) = 25.96 บาท
- ธ.ค. มี 31 วัน ((10,000 x 3% x 31) / 365) + (((2,000+52.18) x 1.5% x 31) / 365) = 31.10 บาท
เท่ากับว่าครึ่งปีแรกจะได้ดอกเบี้ย 143.42 บาท
สรุป 1 ปี จะได้ดอกเบี้ย 52.18 + 143.42 = 195.60 บาท จากเงินต้น 12,000 บาท
แต่ตอนนี้ Dime! มีโปรโมชัน รับดอกเบี้ยโบนัสสูงสุด 5% ต่อปี สำหรับลูกค้าใหม่ ต้องเป็นลูกค้าที่เปิดบัญชีให้สำเร็จ ตั้งแต่ 1 พ.ค. – 28 มิ.ย. 67 เท่านั้น โดยลูกค้าจะได้รับดอกเบี้ยโบนัส เมื่อเปิดบัญชีลงทุนผ่าน Dime! และทำรายการซื้อหุ้นสหรัฐอเมริกา และ/หรือ ETF ต่ำงประเทศ (ไม่นับรวมรายการล่วงหน้า (DCA)) มูลค่ำรวมทั้งสิ้น 5,000 บาทขึ้นไป ซึ่งจะคำนวณดอกเบี้ยโบนัสให้สิ้นเดือน ส.ค. และ ก.ย.
2. ttb ME Save โดย ธนาคารทหารไทยธนชาต
บัญชี ทีทีบี มีเซฟ บัญชีเงินฝากดิจิทัล รับดอกเบี้ยสูงถึง 2.20% ต่อปี สำหรับยอดฝากตั้งแต่ 0 – 100,000 บาท จ่ายดอกเบี้ยเดือน มิ.ย. และ ธ.ค. แต่ต้องมียอดฝากมากกว่าถอนในแต่ละเดือน
พี่ทุยจะลองคำนวณ ถ้าฝากต่อเนื่องเดือนละ 1,000 บาท โดยไม่ถอนออก 1 ปี จะได้ดอกเบี้ยเท่าไหร่
- เดือน ม.ค. มี 31 วัน (1,000 x 2.2% x 31) / 365 = 1.87 บาท
- เดือน ก.พ. มี 28 วัน (2,000 x 2.2% x 28) / 365 = 3.38 บาท
- มี.ค. มี 31 วัน (3,000 x 2.2% x 31) / 365 = 5.61 บาท
- เม.ย. มี 30 วัน (4,000 x 2.2% x 30) / 365 = 7.23 บาท
- พ.ค. มี 31 วัน (5,000 x 2.2% x 31) / 365 = 9.34 บาท
- มิ.ย. มี 30 วัน (6,000 x 2.2% x 30) / 365 = 10.85 บาท
เท่ากับว่าครึ่งปีแรกจะได้ดอกเบี้ย 38.28 บาท จากเงินต้น 6000 บาท
แล้วถ้าครึ่งปีหลังฝากเงินต่อ โดยไม่ถอนดอกเบี้ย
- เดือน ก.ค. มี 31 วัน ((7,000+38.28) x 2.2% x 31) / 365 = 13.15 บาท
- เดือน ส.ค. มี 31 วัน ((8,000+38.28) x 2.2% x 31) / 365 = 15.02 บาท
- ก.ย. มี 30 วัน ((9,000+38.28 x 2.2% x 30) / 365 = 16.34 บาท
- ต.ค. มี 31 วัน ((10,000+38.28) x 2.2% x 31) / 365 = 18.76 บาท
- พ.ย. มี 30 วัน ((11,000+38.28) x 2.2% x 30) / 365 = 19.96 บาท
- ธ.ค. มี 31 วัน ((12,000+38.28) x 2.2% x 31) / 365 = 22.49 บาท
เท่ากับว่าครึ่งปีแรกจะได้ดอกเบี้ย 105.72 บาท
สรุป 1 ปี จะได้ดอกเบี้ย 38.28 + 105.72 = 144 บาท จากเงินต้น 12,000 บาท
3. Grow savings โดย Kept by krungsri
- บัญชีเงินฝากออมทรัพย์อิเล็กทรอนิกส์ ดอกเบี้ยสูงสุด 2.22% ต่อปี* โดย เดือนที่ 1 – 18 รับอัตราดอกเบี้ย 1.75% ต่อปี เดือนที่ 19 – 24 อัตราดอกเบี้ย 2.22% ต่อปี *อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยตลอดระยะเวลาการฝากเงิน 1.87% ต่อปี
- จ่ายดอกเบี้ยทุกวันที่ 28 ของเดือน
พี่ทุยจะลองคำนวณ ถ้าฝากต่อเนื่องเดือนละ 1,000 บาท โดยไม่ถอนออก 1 ปี จะได้ดอกเบี้ยเท่าไหร่
- เดือน ม.ค. มี 31 วัน (1,000 x 1.75% x 31) / 365 = 1.49 บาท
- เดือน ก.พ. มี 28 วัน (2,001.49 x 1.75% x 28) / 365 = 2.61 บาท
- มี.ค. มี 31 วัน (3,004.1 x 1.75% x 31) / 365 = 4.46 บาท
- เม.ย. มี 30 วัน (4,008.56 x 1.75% x 30) / 365 = 5.77 บาท
- พ.ค. มี 31 วัน (5,014.33 x 1.75% x 31) / 365 = 7.45 บาท
- มิ.ย. มี 30 วัน (6,021.78 x 1.75% x 30) / 365 = 8.66 บาท
- เดือน ก.ค. มี 31 วัน (7,030.44 x 1.75% x 31) / 365 = 10.45 บาท
- เดือน ส.ค. มี 31 วัน (8,040.89 x 1.75% x 31) / 365 = 11.95 บาท
- ก.ย. มี 30 วัน (9,052.84 x 1.75% x 30) / 365 = 13.02 บาท
- ต.ค. มี 31 วัน (10,065.86 x 1.75% x 31) / 365 = 14.96 บาท
- พ.ย. มี 30 วัน (11,080.82 x 1.75% x 30) / 365 = 15.94 บาท
- ธ.ค. มี 31 วัน (12,096.76 x 1.75% x 31) / 365 = 17.98 บาท
สรุป 1 ปี จะได้ดอกเบี้ย 114.74 บาท จากเงินต้น 12,000 บาท
4. SCB, กรุงไทย, กรุงเทพ, กสิกร, กรุงศรี, Pro-Fit (LH Bank)
- SCB, กรุงศรี : อัตราดอกเบี้ย 1.5% สำหรับเงินฝากไม่เกิน 2 ล้านบาท จ่ายดอกเบี้ยทุกเดือน
- กรุงไทย : อัตราดอกเบี้ย 1.5% สำหรับเงินฝากไม่เกิน 2 ล้านบาท จ่ายดอกเบี้ยทุก มิ.ย. และ ธ.ค.
- กรุงเทพ : อัตราดอกเบี้ย : 1.5% สำหรับเงินฝากไม่เกิน 1 ล้านบาท จ่ายดอกเบี้ยทุก มิ.ย. และ ธ.ค.
- กสิกร : อัตราดอกเบี้ย 1.5% สำหรับเงินฝากไม่เกิน 3 แสนบาท จ่ายดอกเบี้ยทุก มิ.ย. และ ธ.ค.
- Pro-Fit (LH Bank) : อัตราดอกเบี้ย 1.5% สำหรับเงินฝากไม่เกิน 3 ล้านบาท จ่ายดอกเบี้ยทุก มิ.ย. และ ธ.ค.
พี่ทุยจะลองคำนวณ ถ้าฝากเงินบัญชีดิจิทัลกับ SCB ต่อเนื่องเดือนละ 1,000 บาท โดยไม่ถอนออก 1 ปี จะได้ดอกเบี้ยเท่าไหร่
- เดือน ม.ค. มี 31 วัน (1,000 x 1.5% x 31) / 365 = 1.27 บาท
- เดือน ก.พ. มี 28 วัน (2,001.27 x 1.5% x 28) / 365 = 2.30 บาท
- มี.ค. มี 31 วัน (3,003.57 x 1.5% x 31) / 365 = 3.83 บาท
- เม.ย. มี 30 วัน (4,007.4 x 1.5% x 30) / 365 = 4.94 บาท
- พ.ค. มี 31 วัน (5,012.34 x 1.5% x 31) / 365 = 6.39 บาท
- มิ.ย. มี 30 วัน (6,018.73 x 1.5% x 30) / 365 = 7.42 บาท
- เดือน ก.ค. มี 31 วัน (7,026.15 x 1.5% x 31) / 365 = 8.95 บาท
- เดือน ส.ค. มี 31 วัน (8,035.1 x 1.5% x 31) / 365 = 10.24 บาท
- ก.ย. มี 30 วัน (9,045.34 x 1.5% x 30) / 365 = 11.15 บาท
- ต.ค. มี 31 วัน (10,056.49 x 1.5% x 31) / 365 = 12.81 บาท
- พ.ย. มี 30 วัน (11,069.3 x 1.5% x 30) / 365 = 13.65 บาท
- ธ.ค. มี 31 วัน (12,082.95 x 1.5% x 31) / 365 = 15.39 บาท
สรุป 1 ปี จะได้ดอกเบี้ย 98.34 บาท จากเงินต้น 12,000 บาท
พี่ทุยหยิบยกบัญชีเงินฝากดิจิทัล ที่ให้ดอกเบี้ยสูงสำหรับเงินต้น 12,000 บาท ซึ่งจะเห็นได้ว่า ดอกเบี้ยที่ได้สูงกว่าออมทรัพย์ทั่วไปจริง ๆ สามารถทำธุรกรรมได้ ทั้งฝาก โอน จ่าย เหมือนกัน
อย่างไรก็ดี อย่าลืม อ่านเงื่อนไของแต่ละธนาคารให้ดี เพราะ ทุกธนาคารจะมีอัตราดอกเบี้ยที่ให้แตกต่างกัน จำนวนเงินสูงสุดที่ฝากได้ก็จะแตกต่างกัน อีกทั้งอัตราดอกเบี้ยในส่วนเงินฝากที่เกินก็ไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับแต่ละธนาคารกำหนด ดังนั้นจึงต้องศึกษาให้ดีก่อนเลือกฝากเงิน และยิ่งฝากนานก็จะยิ่งได้ดอกเบี้ยมากขึ้น
ทั้งนี้ที่พี่ทุยคำนวณผลตอบแทนให้ดูยังไม่หักลบกับภาษีดอกเบี้ยเงินฝาก 15% ที่จะคิดในกรณีดอกเบี้ยรวมกันทุกธนาคารเกิน 20,000 บาทนะ
เปิดบัญชี FCD อีกทางเลือกฝากเงินที่ให้ดอกเบี้ยสูง
บัญชี FCD หรือ Foreign Currency Deposit ย่อมาจาก บัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศ เป็นบัญชีที่ให้บริการสำหรับบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลที่ต้องการฝากเงินเป็นสกุลเงินตราต่างประเทศ โดยธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทยให้บริการรับฝากบัญชี FCD มากกว่า 15 สกุล เช่น ดอลลาร์ (USD) เยน (JPY) ยูโร (EUR) หยวน (CNY) และสกุลอื่น ๆ
ซึ่งข้อดีก็คือ บางสกุลเงินให้อัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่า เช่น ดอลลาร์สหรัฐฯ ที่ปัจจุบันให้ดอกเบี้ยเงินฝากสูงสุดถึง 5%
อ่านเพิ่ม