เลือก “ประกันสุขภาพ” อย่างไรให้เหมาะสมกับตัวเรา

เลือก “ประกันสุขภาพ” อย่างไรให้เหมาะสมกับตัวเรา

3 min read    Money Buffalo

ฉบับย่อ

  • กรณีที่เราเจ็บป่วย ซึ่งถ้าเราจะพูดถึงเรื่องนี้มาเป็นอันดับแรกเสมอ แล้วสินค้าการเงินตัวนึงที่มีบทบาทในเรื่องการบริหารความเสี่ยงอย่างเป็นมากเลยก็คือ “ประกันสุขภาพ” นั้นเอง
  • พี่ทุยจะพามาดูกันดีกว่าถ้าเราจะเลือกทำประกันสุขภาพสักฉบับเราจะเริ่มต้นได้อย่างไร แล้วตัวเราเองเหมาะสมกับประกันแบบไหนที่สุด

รูปบน ของ desktop
รูปล่าง ของ mobile

เมื่อเราพูดถึงเรื่อง “การวางแผนการเงิน” โดยทั่วไปแล้วอย่างแรกที่เราจะดูเลยจะไม่ใช่เรื่องของการลงทุน ไม่ใช่เรื่องการจะเอาเงินออมไปวางที่ไหน ให้เงินเรางอกเงยขึ้นได้อย่างไร อย่างที่รู้กันว่าเงินก้อนแรกที่เราควรมีก็คือ “ความจำเป็นพื้นฐาน (Basic Needs)” ซึ่งพี่ทุยว่าเราจะต้องมีเงินสำรองฉุกเฉินอย่างน้อย 3-6 เดือนของรายจ่ายเราในแต่ละเดือนเสมอ เพื่อการปรับตัวกรณีที่รายได้เราหยุดลง อีกส่วนหนึ่งคือเรื่องของการบริหารความเสี่ยง ก็คือกรณีที่เราเจ็บป่วย ซึ่งถ้าเราจะพูดถึงเรื่องนี้มาเป็นอันดับแรกเสมอ แล้วสินค้าการเงินตัวนึงที่มีบทบาทในเรื่องการบริหารความเสี่ยงอย่างเป็นมากเลยก็คือ “ประกันสุขภาพ” นั้นเอง

เลือก “ประกันสุขภาพ” อย่างไรให้เหมาะสมกับตัวเรา

แต่ปัญหาที่พี่ทุยเจอบ่อยมากในการเลือกซื้อ “ประกันสุขภาพ” ก็คือ เราไม่รู้ต้องซื้อแบบไหนเพราะแบบประกันในตลาดมีเยอะมาก ๆ แล้วเมื่อเลือกแบบได้แล้วเราต้องซื้อวงเงินเท่าไหร่ ซึ่งจริง ๆ เรื่องการเจ็บไข้ได้ป่วยนั้น เราไม่รู้หรอกว่าเมื่อถึงเวลาเราจะเสียเงินค่ารักษาพยาบาลเท่าไหร่กันแน่ ดังนั้นสิ่งที่ดีที่สุดคือการซื้อให้มากที่สุด ให้ครอบคลุมมากที่สุด เพราะถ้าเกิดต้อง นอนโรงพยาบาลจริง ๆ เราอาจจะเสียหลักพันไปจนหลักล้านได้เลยเดียว พี่ทุยว่ามันไม่คุ้มสักเท่าไหร่ แต่สิ่งที่ตามมาทันทีอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ก็คือเบี้ยประกันที่สูงขึ้นเรื่อย ๆ ตามความครอบครองที่เราได้รับ ดังนั้นการเลือกให้เหมาะสม ให้พอดีพอมีจึงเป็นเรื่องที้สำคัญมาก ๆ มาถึงตรงนี้ พี่ทุยจะพามาดูกันดีกว่าถ้าเราจะเลือกทำประกันสุขภาพสักฉบับเราจะเริ่มต้นได้อย่างไร

1. ดูตัวเราเองว่าตอนนี้ถ้าเราต้องนอนโรงพยาบาลเราจะเบิกอะไรตรงได้บ้าง

ไม่ว่าจะเป็นประกันกลุ่มที่บริษัทมีให้ประกันสุขภาพที่เราทำเพิ่มเติมเองหรือค่ารักษาพยาบาลจากบัตรเครดิต บัตรเดบิตต่าง ๆ เพื่อเราจะได้รู้ว่าเมื่อถึงเวลาต้องเบิกจริง ๆ เราสามารถเบิกได้เท่าไหร่ แล้วเบิกจากตรงไหนได้บ้าง?

2. ดูว่าโรงพยาบาลที่เรามีโอกาสเข้าใช้บริการค่ารักษาพยาบาลเป็นอย่างไรบ้าง

ที่โรงพยาบาลทุกที่จะมีฝ่ายที่เราสามารถเดินเข้าไปสอบถามค่ารักษาพยาบาลได้เลยว่า ถ้าเราเป็นโรคนี้ค่ารักษาพยาบาลโดยประมาณจะอยู่ที่เท่าไหร่ เป็นรายการเหมือนเมนูอาหารที่เราดูตามร้านอาหารเลยล่ะ พี่ทุยแนะนำว่าให้ดูส่วนที่เป็นค่าห้องพักหลัก ๆ ส่วนค่ารักษาพยาบาลเน้นดูโรคร้ายแรงที่มีโอกาสเป็น ว่าวงเงินรักษาอยู่ที่เท่าไหร่ เพราะโดยทั่วไปแล้ว ถ้าเป็นโรคธรรมดารักษาหายง่าย ๆ ถ้าโชคไม่ดีเป็นขึ้นมาก็สามารถจ่ายเงินรักษาได้โดยไม่กระทบกับแผนการเงินหรือแผนชีวิตเรามากมาย แต่ถ้าเป็นโรคร้ายแรงที่ค่ารักษาพยาบาลสูงมาก อาจจะทำให้เรามีปัญหาเรื่องการเงินได้ถ้าเราไม่ระวังให้ดี

3. จากนั้นนำข้อที่ 1 และ ข้อที่ 2 มาหาส่วนต่างเพื่อจะได้รู้ว่าเราต้องทำเพิ่มเท่าไหร่หรือว่า ณ ปัจจุบันมีเพียงพอแล้ว

กรณีที่ข้อที่ 1 ครอบคลุมหรือมากกว่าข้อที่ 2 อยู่แล้ว ก็ต้องบอกว่าเราไม่จำเป็นต้องทำเพิ่มแต่อย่างใด แต่ถ้าข้อที่ 2 มากกว่า ก็คือส่วนต่างที่เราควรมีความคุ้มครองมากขึ้น แนะนำว่า ณ ปัจจุบันนี้มีแบบประกันที่เรียกว่าแบบ “เหมา” อยู่ ที่จะดูเป็นวงเงินในการรักษาเป็นหลักไม่ได้แยกรายการค่ารักษาของเป็นรายการ ๆ แบบเมื่อก่อน ก็จะช่วยทำให้เราลดความเสี่ยงที่เราต้องจ่ายเงินเพิ่มในกรณีที่เราต้องนอนโรงพยาบาลได้

ผลิตภัณฑ์ประกันเป็นสินค้าการเงินเป็นเพียงตัวเดียวที่เราสามารถ “โอนย้ายความเสี่ยง” จากตัวเราไปที่คนอื่นได้ แน่นอนว่าการทำประกันหลาย ๆ คนอาจจะมองว่ายังไงก็ไม่คุ้ม เพราะถ้าปีไหนไม่ป่วยก็เหมือนกับเบี้ยจ่ายฟรีไปซะแบบนั้น แต่ว่าความเป็นจริงประกันเป็นสินค้าที่เราจะซื้อหรือไม่ซื้อก็คิดผิดด้วยกันทั้งนั้นแหละ ถ้าซื้อประกันแล้วไม่ป่วย ก็คิดผิดไม่น่าซื้อเลย แต่ถ้าไม่ได้ซื้อประกันแล้วป่วย ก็คิดผิดเหมือนกันว่าทำไมเราถึงไม่ซื้อ ก็ขึ้นอยู่กับที่ตัวเราแล้วล่ะว่าเราอยากคิดผิดแบบไหน การทำประกันจึงไม่ได้มองแค่ความคุ้มค่าที่เป็นตัวเงินเท่าไหร่ แต่เรามองถึงความสบายใจ ความเสี่ยงต่างประกอบด้วยต่างหากละ

รูปบน ของ desktop
รูปล่าง ของ mobile

Comment

Be the first one who leave the comment.

Leave a Reply