Fear and Greed Index คืออะไร ? ทำไมสร้างกำไรจากตัวเลขความกลัวและความโลภได้

Fear and Greed Index คืออะไร ? ทำไมสร้างกำไรจากตัวเลขความกลัวและความโลภได้

3 min read  

ฉบับย่อ

  • Fear and Greed Index ใช้ดูพฤติกรรมที่แสดงออกมาทาง “อารมณ์” ของนักลงทุนในตลาดคริปโตเคอร์เรนซี ซึ่งเป็นการวัดความกลัวและความโลภใน Bitcoin
  • สภาวะเกิดความ “กลัวมาก ๆ”  Fear and Greed Index = 10 จึงเกิดการเทขายสินทรัพย์ ในตอนที่ตลาดลงจนถึงขีดสุด เพราะ กลัวจะขาดทุนไปมากกว่านี้
  • สภาวะเกิดความ “โลภมาก ๆ ” Fear and Greed Index = 90 กลัวที่จะพลาดโอกาสในการทำกำไร จึงเข้าไปลงทุน
  • ใช้แนวรับแนวต้านมาหาโอกาสในการลงทุนได้

รูปบน ของ desktop
รูปล่าง ของ mobile

Fear and Greed Index คือ ดัชนีความกลัวและความโลภถูกพัฒนาโดย CNNMoney ซึ่งนำไปใช้ในตลาดหุ้น และในปัจจุบัน Alternative.me ได้นำแนวคิดนั้นไปสร้างเป็นดัชนี Fear and Greed ไปประยุกต์ใช้กับการดูพฤติกรรมที่แสดงออกมาทางอารมณ์ของนักลงทุนในตลาดคริปโต ซึ่งเป็นการวัดความกลัวและความโลภใน Bitcoin อีกทั้งยังสามารถใช้วัดความเชื่อมั่นของนักลงทุนที่มีต่อตลาด และแสดงให้เห็นว่าตลาดอยู่ในสภาวะ “ขาขึ้นหรือขาลง”

ทำไมต้องใช้ Fear and Greed Index ?

ตามแนวคิดของ The Cycle of Emotion Market ตลาดในสภาวะต่าง ๆ กันก็ทำให้เกิดอารมณ์ที่แตกต่างกันไป เช่น เกิดความกลัว จึงเกิดการเทขายสินทรัพย์ ในตอนที่ตลาดลงจนถึงขีดสุด เพราะ กลัวจะขาดทุนไปมากกว่านี้ แต่อาจจะไม่ได้พิจารณาปัจจัยอื่น ๆ เช่น อินดิเคเตอร์, ข่าวช็อคระยะสั้น รวมถึง ณ จุดตรงนั้นอาจจะมีโอกาสเป็นจุดกลับตัวของตลาด 

หรือเกิดความโลภเมื่อตลาดมีสภาวะฟองสบู่ อารมณ์กลัวตกรถที่นักลงทุนส่วนใหญ่ชอบพูดกัน หรือแม้แต่ Fear Of Missing Out (FOMO) เองที่หลายคนอาจจะคุ้นเคย ซึ่งหมายถึงความกลัวที่จะพลาดโอกาสทำกำไร เพราะคิดว่าสินทรัพย์นั้นกำลังขึ้น จึงเข้าไปลงทุน แต่เมื่อเข้าไปลงทุนแล้วจุดนั้นอาจจะเป็นจุดสูงสุด และสินทรัพย์ก็โดนเทขายทันที (ติดดอยไปตามระเบียบ)

อารมณ์ของนักลงทุนคนเดียวอาจจะไม่มีผลกระทบอะไรมากกับตลาด แต่ถ้าหากนักลงทุนหลายคนคิดแบบเดียวกันพร้อม ๆ กันก็จะกลายเป็นคลื่นลูกใหญ่สร้าง “ความผันผวน” ให้กับตลาดได้ 

ซึ่งความโลภและความกลัวเป็นอารมณ์พื้นฐานของมนุษย์ที่มักแสดงออกมาในเวลาที่อารมณ์อยู่เหนือเหตุผล นั้นจึงเป็นสิ่งสำคัญที่เราต้องพิจารณาว่าภาพรวมตลาดในตอนนั้นมีอารมณ์แบบไหน ก่อนตัดสินใจลงทุน เราจึงจำเป็นที่ต้องใช้ดัชนีนี้ เพื่อนำไปพิจารณาในการตัดสินใจลงทุนนั่นเอง

Fear and Greed Index คืออะไร ? ทำไมสร้างกำไรจากตัวเลขความกลัวและความโลภได้

ตัวชี้วัดในการสร้าง Fear and Greed Index

Fear and Greed Index คืออะไร ? ทำไมสร้างกำไรจากตัวเลขความกลัวและความโลภได้

ระดับค่าความกลัวและความโลภอยู่ระหว่าง 0-100 แบ่งเป็นระดับได้ดังนี้ 

0-25 (Extreme Fear) = สภาวะที่นักลงทุนหรือตลาดมีความกลัวขั้นสุด เกิดการขาดทุนที่มาก จนหลายคนอยากจะขาย

26-49 (Fear) = สภาวะที่นักลงทุนหรือตลาดยังมีความกลัวอยู่เล็กน้อย 

50 (Neutral) = สภาวะที่นักลงทุนหรือตลาดอยู่ในเกณฑ์ปกติ

51-74 (Greed) = สภาวะที่นักลงทุนหรือตลาดมีความโลภ 

75-100 (Extreme Greed) = สภาวะที่นักลงทุนหรือตลาดมีความโลภขั้นสุด เกิดอารมณ์ FOMO ได้ง่าย 

โดยคิดคำนวณแบบค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก ที่อาศัยปัจจัยต่อไปนี้

1. ความผันผวนของตลาดเปรียบเทียบกับความผันผวนเฉลี่ยตามช่วงเวลาที่เลือก 25% 

2. ปริมาณการซื้อขายของตลาด 25% 

3. Social Media ซึ่งเป็นเก็บข้อมูลการพูดถึง Bitcoin บน Twitter 15% 

4. การถือครอง Bitcoin 10% ซึ่งดูจากหากการถือครอง BTC ลดลง แสดงว่าเงินจะถูกโยกไปยังเหรียญทางเลือก (Alt Coin) ซึ่งนั่นกำลังบ่งบอกได้ว่าตลาดกำลังเกิดความโลภและแรงเก็งกำไรในเหรียญอื่นที่ไม่ใช่ BTC 

5. Trend 10% ดูพฤติกรรมการค้นหาคำที่เกี่ยวข้องกับ Bitcoin ใน Google  

6. แบบสำรวจบนแพลตฟอร์มเพื่อดูมุมมองของผู้ตอบแบบสอบถาม 15% (ถูกระงับชั่วคราวเนื่องจากไม่ได้รับความสนใจเท่าที่ควร)

วิธีการประยุกต์ใช้ Fear and Greed Index ในการลงทุน

Fear and Greed Index คืออะไร ? ทำไมสร้างกำไรจากตัวเลขความกลัวและความโลภได้

นักลงทุนสามารถใช้ตัวเลขดัชนีความกลัวกับความโลภไปใช้ทำกำไรได้ โดยการใช้ “แนวรับ – แนวต้าน” ที่ใช้พิจารณากราฟ “จับจังหวะซื้อ-ขาย”

พี่ทุยลองไปดูข้อมูลสถิติของดัชนี แนวต้านบนสุดของดัชนี Fear and Greed คือค่าประมาณ 95 เช่น วันที่ 6 ม.ค. 2564 เป็นช่วงที่ BTC ทำ All Time High เมื่อเทียบกับราคาก่อนหน้า

แนวรับล่างสุดของดัชนี Fear and Greed คือค่าประมาณ 10 จากข้อมูลในอดีตที่ปรากฏทั้งหมด มีเพียงครั้งเดียวเท่านั้นที่ดัชนีลงไปอยู่ที่ 5 เช่น วันที่ 21 ก.ค. 2564 ค่าดัชนี Fear and Greed = 10 เป็นช่วงเวลาหลังจากที่ BTC ลงมาที่ 29,278 ดอลลาร์ ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่เกิดการปรับฐานครั้งใหญ่ของ Bitcoin หลังจากขึ้นไปทำสถิติสูงสุดที่ราคาประมาณ 60,000 ดอลลาร์

แต่ต้องบอกก่อนว่า “ดัชนี Fear and Greed” ที่ใช้ความกลัวเเละความโลภมาคำนวณเป็นเครื่องมือทางเทคนิค นั้นไม่สามารถทำนายอนาคตได้แบบ 100% แต่ควรใช้ประกอบการตัดสินใจร่วมกับเครื่องมือตัวอื่น ๆ ในการลงทุน เพื่อให้สามารถวิเคราะห์และตัดสินใจลงทุนได้อย่างแม่นยำยิ่งขึ้น 

รูปบน ของ desktop
รูปล่าง ของ mobile
FBS Trader เทรดได้อย่างปลอดภัย
FBS Trader เทรดได้อย่างปลอดภัย