“FED” ผู้มีอิทธิพลต่อระบบการเงินโลก ทำกำไรมหาศาลจากวิกฤตการเงิน

“FED” ผู้มีอิทธิพลต่อระบบการเงินโลก ทำกำไรมหาศาลจากวิกฤตการเงิน

3 min read  

ฉบับย่อ

  • “Fed” คือธนาคารกลางสหรัฐฯ แต่เป็นธนาคารกลางที่มีผู้ถือหุ้นเป็นเอกชนมากพอสมควร แม้จะไม่มีสิทธิ์ในการตัดสินใจหรือบริหารงาน (โดยตรง) แต่อย่างน้อยที่สุด กลุ่มผู้ถือหุ้นเอกชนเหล่านี้ก็สามารถรับเงินปันผล 6% ของกำไรสุทธิที่เหลืออยู่
  • ผลจากวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ในปี 2008 ทำให้หลายบริษัทในสหรัฐฯ ขาดสภาพคล่องอย่างรุนแรง จนธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ต้องอัดฉีดเงินเข้าไปช่วย ซึ่งนั่นเองทำให้ Fed สามารถทำกำไรได้กว่าปีละ 2 ล้านล้านบาท เมื่อปี 2010 และ 2011 ซึ่งมากกว่ากำไรของ 5 ธนาคารใหญ่สุดของอเมริกาในเวลานั้นรวมกันเสียอีก

รูปบน ของ desktop
รูปล่าง ของ mobile

หลาย ๆ อาจจะคุ้นชินกันว่า “FED” หรือ Federal Reserve System มีสถานะเป็นธนาคารกลางของสหรัฐฯ แต่รู้หรือไม่ว่าจริง ๆ แล้วกลุ่มผู้ถือหุ้นหลักของเขาประกอบไปด้วยเอกชนอยู่มากพอสมควร

ย้อนกลับไปเมื่อแรกเริ่มของการก่อตั้ง Fed เมื่อ 23 ธันวาคม 1913 ในยุคประธานาธิบดี Woodrow Wilson ด้วยการตรารัฐบัญญัติธนาคารกลาง หลังเกิดวิกฤตการเงินขึ้นหลายครั้ง โดยเฉพาะวิกฤตการเงินปี 1907 ทำให้มีความต้องการควบคุมส่วนกลางระบบการเงินเพื่อบรรเทาวิกฤตการเงิน ซึ่งเป็นความต้องการที่มีเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมด้วย! แม้จะไม่มีการเปิดเผยข้อมูลผู้ถือหุ้นออกมาอย่างชัดเจน แต่ว่ากันว่าผู้ถือหุ้นหลัก 8 ราย ประกอบไปด้วย Citibank, Chase Manhatten, Morgan Guaranty Trust, Chemical Bank, Manufacturers Hanover Trust, Bankers Trust Company, National Bank of North America และ The Bank of New York

โดยมีกลุ่มตระกูลหลัก 8 กลุ่ม ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นอยู่เบื้องหลัง คือ 4 ตระกูลที่อยู่ในสหรัฐฯ ได้แก่ Goldman Sachs, Rockefellers, Lehmans และ Kuhn Loebs ส่วนอีก 4 ตระกูลในยุโรป ได้แก่ Rothshilcs of Paris and London, Warburgs of Hamburg, Lazards of Paris และ Israel Moses Seifs of Rome

กว่า 100 ปีที่ผ่านมา หลังจากการถือกำเนิดขึ้น ธนาคารกลางของสหรัฐฯ ได้เข้ามามีอิทธิพลต่อระบบการเงินโลกอย่างมาก นโยบายต่าง ๆ ที่ออกมา ทำให้สถาบันการเงินทั่วโลกต่างต้องให้ความสนใจทั้งสิ้น ขณะเดียวกันนั้นยังได้เข้ามามีส่วนร่วมกับวิกฤตการณ์ทางการเงินทุก ๆ ครั้งที่ผ่านมา ซึ่งนอกจากจะเป็นการเข้ามาช่วยอัดฉีดสภาพคล่องในยามขัดสนแล้ว สิ่งที่เขาทำแล้วได้รับกลับคืนไปนั่นก็คือ “กำไร” จำนวนมหาศาล

อย่างผลจากวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ในปี 2008 ทำให้หลายบริษัทเอกชนในสหรัฐฯ ขาดสภาพคล่องอย่างรุนแรง ทำให้เฟดเข้ามาช่วยอัดฉีดเงินเข้าไปในกิจการเหล่านั้น ซึ่งนั่นเองเป็นที่มาที่ทำให้เฟดสามารถทำกำไรได้ถึง กว่าปีละ 2 ล้านล้านบาท เมื่อปี 2010 และ 2011 ซึ่งมากกว่ากำไรของ 5 ธนาคารใหญ่สุดของอเมริกาในเวลานั้นรวมกัน และยังมากกว่ากำไรของบริษัท Apple ในช่วงเวลานั้นกว่า 2 เท่าตัว

จากตัวอย่างในปี 2010 กำไรของเฟด อยู่ที่ประมาณ 8.2 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ มาจากการเข้าซื้อ Bear Stearns และ AIG ได้กำไร 3.5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ การเข้าซื้อ Mortgage-backed security (MBS) จำนวน 1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ ได้กำไร 4.5 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ รวมถึงกำไรจากการถือพันธบัตรรัฐบาลอีก 2.6 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อมีกำไร ก็ย่อมมีการจ่ายเงินปันผล โดยกำไรส่วนมากของธนาคารกลางของสหรัฐฯ เกิดมาจากการที่ดอกเบี้ยผ่านการเข้าไปซื้อตราสารทางการเงินของหลาย ๆ บริษัทซึ่งใกล้จะล้มละลายลงในช่วงวิกฤต ทั้งนี้ยังได้จ่ายเงินปันผลให้กับผู้ถือหุ้นในอัตรา 6% จากกำไรหลังหักค่าใช้จ่ายด้วย จนถึงปัจจุบันธนาคารกลางของสหรัฐฯ  ยังคงสถานะขององค์กรอิสระ ทำให้ไม่จำเป็นจะต้องเปิดเผยข้อมูลทุกอย่างต่อสาธารณะ ดังเช่นที่บริษัทเอกชนจำเป็นต้องทำ แต่ที่ผ่านมาก็มีความพยายามที่อยากจะให้มีการตรวจสอบธนาคารกลางของสหรัฐฯ อยู่ด้วยเช่นกัน

เมื่อปี 2013 วุฒิสมาชิกของพรรครีพลับลิกัน นามว่า Rand Paul ได้นำเสนอร่างกฎหมายที่เรียกว่า “Audit the Fed” ซึ่งเป็นความพยายามที่จะทำให้ Fed เกิดความโปร่งใสมากยิ่งขึ้น แต่จนถึงปัจจุบันร่างกฎหมายดังกล่าวก็ยังไม่ได้มีการนำมาบังคับใช้แต่อย่างใด

รูปบน ของ desktop
รูปล่าง ของ mobile
FBS Trader เทรดได้อย่างปลอดภัย
FBS Trader เทรดได้อย่างปลอดภัย

Comment

Be the first one who leave the comment.

Leave a Reply