การทำ "Reverse Repo" ของ FED ส่งผลต่อโลกการลงทุนอย่างไรบ้าง ?

การทำ “Reverse Repo” ของ FED ส่งผลต่อโลกการลงทุนอย่างไรบ้าง ?

4 min read  

ฉบับย่อ

  • Fed ดึงเงินจากระบบออก 485,000 ล้านเหรียญด้วย “Reverse Repo” สะท้อนสภาพคล่องที่ล้นตลาดในปัจจุบัน
  • Reverse Repo เป็นการขายคืนพันธบัตรกลับสู่ตลาดเงินเพื่อดึงสภาพคล่องออกจากตลาด
  • การทำ QE มาอย่างยาวนาน ตลาดสินเชื่อที่ยังฟื้นไม่เต็มที่และดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มกลับมาขาขึ้นทำให้สภาพคล่องของสถาบันการเงินล้น
  • QE Tapering อาจเกิดขึ้นเร็วขึ้นหากตัวเลขการจ้างงานและเงินเฟ้อสูงขึ้น ซึ่งจะกระทบให้เศรษฐกิจและตลาดหุ้นสหรัฐชะลอตัวลง

 


รูปบน ของ desktop
รูปล่าง ของ mobile

“Reverse Repo” ถือเป็นหนึ่งในเทคนิคการดึงสภาพคล่องกลับของธนาคารกลางสหรัฐ หรือ Fed โดยครั้งนี้เป็นการดึงเม็ดเงินใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมา ด้วยจำนวนเงินสูงถึง 485,000 ล้านเหรียญสหรัฐ อะไรคือเหตุผลเบื้องหลังของเหตุการณ์นี้ พี่ทุยจะพาเราไปทำความเข้าใจกัน

“Reverse Repo” คืออะไร ?

Repurchase Agreement หรือ Repo นั้นเป็นการกู้ยืมระยะสั้นโดยใช้หลักทรัพย์ที่มั่นคงเป็นเครื่องมืออย่างพันธบัตรรัฐบาล โดยมีจุดมุ่งหมายในการบริหารเงินสดและสภาพคล่องในตลาดการเงิน ซึ่งจะเกิดขึ้นในระยะสั้น ในระดับข้ามคืน เป็นวัน หรือสัปดาห์

โดยการทำ Repurchase Agreement ของ Fed (ธนาคารกลางสหรัฐฯ) นั้น จะทำการซื้อพันธบัตรในตลาดเพื่อเป็นการเพิ่มเงินสดและสภาพคล่องให้กับธนาคารและสถาบันการเงินต่าง ๆ ในทางกลับกันการทำ Reverse Repurchase Agreement จะเป็นการดึงสภาพคล่องออกจากระบบ โดยที่ Fed  นั้นจะทำการขายพันธบัตรคืนกลับสู่ตลาดทำให้เงินสดในตลาดนั้นถูกดึงออกมาชั่วคราว 

สาเหตุที่สภาพคล่องล้นตลาด

  • สาเหตุแรกอาจจะมาจากสภาพเศรษฐกิจปัจจุบันที่ยังไม่สามารถฟื้นได้อย่างเต็มที่ จนทำให้ธนาคารพาณิชย์ต่าง ๆ ยังไม่สามารถปล่อยสินเชื่อได้เต็มที่จนมีสภาพคล่องเหลือ 
  • สาเหตุต่อมาเนื่องจากในปัจจุบันดอกเบี้ยลงมาต่ำมากเป็นระยะเวลานาน จนหลาย ๆ ฝ่ายคาดเดาว่าใกล้ถึงเวลาที่ดอกเบี้ยจะเตรียมกลับเป็นขาขึ้น ทำให้ธนาคารและสถาบันการเงินต่าง ๆ ไม่อยากถือสินทรัพย์หรือพันธบัตรที่มีอายุยาว เพราะหากดอกเบี้ยกลับเป็นขาขึ้นก็จะขาดทุนในสินทรัพย์เหล่านั้น ธนาคารและสถาบันการเงินต่าง ๆ จึงพยายามที่จะเลือกหาพันธบัตรที่มีระยะสั้นที่สุด ซึ่งตลาด Repurchase ก็เป็นหนึ่งในทางเลือกสำคัญ

การทำ “Reverse Repo” ในช่วงนี้

การทำ Reverse Repurchase Agreement ในครั้งนี้เป็นการทำแบบ Overnight ซึ่งสะท้อนให้เห็นสภาพคล่องที่เอ่อล้นในตลาดสหรัฐฯ ในปัจจุบันที่สูงมาก โดยส่วนหนึ่งอาจเป็นผลจากการทำ QE ที่ทำให้แม้อัตราดอกเบี้ยของ Fed จะอยู่ที่ 0% ก็ยังมีการทำ Reverse Repurchase Agreement เกิดขึ้นแถมสูงที่สุดเท่าที่เคยเกิดขึ้นมาเลยทีเดียว

ซึ่งเรื่องนี้ถือว่าไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะในปัจจุบัน Balance Sheet ของ Fed นั้น มีการซื้อพันธบัตรสะสมไปถึง 8 ล้านล้านสหรัฐ จากการทำ QE อย่างต่อเนื่อง โดยปัจจุบันมีการทำ QE สูงถึง 120,000 ล้านเหรียญสหรัฐต่อเดือน ดังนั้นตัวเลข 485,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ที่เกิดขึ้นในช่วงนี้จึงไม่ใช่ตัวเลขที่น่าตกใจมากนัก

ตัวเลข “Reverse Repo” ในอดีต

การทำ Reverse Repurchase Agreement กว่า 400,000 ล้านเหรียญนั้นเคยเกิดขึ้นในอดีตแล้ว โดยเกิดขึ้นในช่วงปลายปี 2015 และปลายปี 2016 โดย Reverse Repurchase Agreement มักมีตัวเลขสูงในช่วงปลายปี และช่วงปิดไตรมาส หากเราย้อนไปดูในอดีตแล้วจะพบว่าช่วงเวลาเหล่านี้จะเป็นช่วงที่เกิด Reverse Repurchase Agreement สูงเป็นพิเศษ

QE Tapering อาจเกิดขึ้นในอนาคต

QE (Quantitative Easing) หรือเม็ดเงินที่ใช้ในการกระตุ้นเศรษฐกิจนั้นคล้ายเป็นการอัดฉีดเงินเข้าไปในระบบ เป็นหนึ่งในวิธีกระตุ้นเศรษฐ กิจที่สหรัฐใช้มาอย่างต่อเนื่องในหลายปีที่ผ่านมา และเนื่องจากมีการใช้มาตรการ QE มาเป็นระยะเวลานาน สิ่งที่หลาย ๆ คนกลัว คือเงินเฟ้อที่จะเกิดขึ้นและประเด็นที่จะหนีไม่พ้นเลยคือ QE Tapering หรือการปรับลดเม็ดเงินที่ใช้ในการกระตุ้นเศรษฐกิจนั่นเอง 

ซึ่งการทำ Reverse Repurchase Agreement ครั้งใหญ่ที่เกิดขึ้นนี้ อาจเป็นหนึ่งในสัญญาณที่ทำให้นักลงทุนเริ่มกลับมาสนใจ QE Tapering ว่า Fed จะเริ่มใช้นโยบายการเงินแบบตึงตัวเร็วขึ้น เพราะการที่เศรษฐกิจเดินหน้าและมีเงินเฟ้อนิดหน่อยนั้นเป็นสิ่งที่ดี แต่หากมีการเพิ่ม QE อย่างต่อเนื่องจนเงินเฟ้อเริ่มรุนแรง Fed ก็อาจเริ่มลดแผนการกระตุ้นเศรษฐกิจและอาจส่งผลกระทบกับตลาดหุ้นในสหรัฐให้เกิดการชะลอตัวลง

ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น

ผลกระทบจาก Reverse Repurchase Agreement นั้นเป็นผลกระทบในระยะสั้นเท่านั้น และนักลงทุนในตลาดยังไม่ให้น้ำหนักมากจากทิศทางของ Fed ที่มองว่าเงินเฟ้อในปัจจุบันเพิ่มขึ้นเพียงชั่วคราวและยังไม่น่ากลัว สิ่งที่น่าสนใจคือหากตัวเลขการจ้างงานออกมาดีเกินคาดนั้น อาจมีการลดวงเงินที่ใช้อัดฉีดเพื่อให้เกิดการชะลอตัวจากความกลัวการเพิ่มขึ้นของเงินเฟ้อก็เป็นได้

ในส่วนของหุ้นไทยนั้นการชะลอตัวของตลาดสหรัฐที่อาจเกิดขึ้นนั้นอาจจะยังไม่ได้มีผลต่อหุ้นไทยสักเท่าไหร่ เพราะ Fund Flow ต่างชาตินั้นมีการขายมาอย่างต่อเนื่องทำให้แรงขายจากนักลงทุนต่างชาติมีการขายมาอย่างต่อเนื่องทำให้แรงขายจากนักลงทุนต่างชาตินั้นมีค่อนข้างจำกัด

รูปบน ของ desktop
รูปล่าง ของ mobile
FBS Trader เทรดได้อย่างปลอดภัย
FBS Trader เทรดได้อย่างปลอดภัย