เปรียบเทียบ อาณาจักร Central vs อาณาจักร The Mall

 

รูปบน ของ desktop
รูปล่าง ของ mobile

ตั้งแต่โตมาจำความได้ “ห้างสรรพสินค้า” ใหญ่ๆ ของเยอะๆ ที่พี่ทุยเดินดูของ เดินจนเมื่อยขา ไปกินข้าว นัดเจอกับเดอะแก็งค์ ก็แทบจะมีแต่ห้างในเครือเซ็นทรัลกับเดอะมอลล์ ทำให้พี่ทุยเริ่มจะอยากรู้แล้วว่าห้างสรรพสินค้านี่มีความเป็นมายังไง

ความเป็นมาของอาณาจักร Central

จุดกำเนิดสงครามธุรกิจห้างสรรพสินค้าเริ่มต้นขึ้นในปี พ.ศ. 2490 เมื่อ เตียง จิราธิวัฒน์ (นี่เตียง แซ่เจ็ง: ผู้เป็นพ่อ) และ สัมฤทธิ์ จิราธิวัฒน์ (ฮกเส่ง แซ่เจ็ง: ลูกชายคนแรกของเตียง) พี่ทุยไปสืบมาว่า คุณเตียง นี่เป็นคุณทวดของ พีช พชร เลยนะ ส่วนคุณสัมฤทธิ์ ก็เป็นคุณปู่ของพีช พชร เหมือนกัน ได้เปิดห้างเซ็นทรัล ซึ่งเป็นร้านค้าตึกแถวย่านสี่พระยา ภายใต้ชื่อ บริษัท เซ็นทรัลเทรดดิ้ง จำกัด

อาณาจักร Central vs อาณาจักร The Mall

ปี พ.ศ. 2499 เตียง ลงเงินกับลูกชายทั้งสามคน สัมฤทธิ์, วันชัย และ สุทธิพร จิราธิวัฒน์ เปิดห้างสรรพสินค้าเต็มรูปแบบที่ย่านวังบูรพาภิรมย์ โดยมีชื่อว่า เซ็นทรัล วังบูรพา โดยสัมฤทธิ์ จิราธิวัฒน์ เป็นผู้ก่อตั้งกลุ่มเซ็นทรัล

อาณาจักร Central vs อาณาจักร The Mall

ปี พ.ศ. 2521 ก่อตั้ง กลุ่มธุรกิจอาหาร Central Restaurant Group เรียกได้ว่าเป็นคนแรกๆที่มาทำธุรกิจการบริการอาหารตะวันตกและร้านอาหารบริการด่วน โดยนำร้าน Mister Donut มาสู่ชาวไทยเป็นร้านแรก

ปี พ.ศ. 2523 ก่อตั้งเซ็นทรัล พัฒนา เป็นบริษัทสำหรับการพัฒนา ดูแล และบริหารโครงการอสังหาริมทรัพย์ขนาดใหญ่ทั้งในและต่างประเทศ

ปี พ.ศ. 2533 เปิดตัวห้างสรรพสินค้า ZEN
ปี พ.ศ. 2537 เปิดตัว Big C Supercenter
ปี พ.ศ. 2538 เปิดตัวห้างสรรพสินค้า Robinson
ปี พ.ศ. 2553 เปิดตัวร้านขายวัสดุอุปกรณ์ก่อสร้าง ไทวัสดุ
ปี พ.ศ. 2554 เปิดตัวห้างสรรพสินค้า La Rinascente ที่ประเทศอิตาลี

อาณาจักร Central vs อาณาจักร The Mall

ปี พ.ศ. 2556 เข้าซื้อกิจการห้างสรรพสินค้า ILLUM ที่ประเทศเดนมาร์ก

อาณาจักร Central vs อาณาจักร The Mall

ปี พ.ศ. 2557 เปิดตัวห้างสรรพสินค้า ROBINS ที่ประเทศเวียดนาม
ปี พ.ศ. 2558 เปิดตัว Central Online ช่องทางการซื้อของออนไลน์

เซ็นทรัลนั้นเป็นเจ้าของธุรกิจเยอะมาก พี่ทุยกลัวทุกคนจะจำได้ไม่หมด พี่ทุยเลยสรุปง่ายๆ เพื่อให้ทุกคนเห็นภาพชัดเจน ได้ว่า เซ็นทรัลกรุ๊ปเนี่ยมีกลุ่มธุรกิจทั้งหมด 9 ธุรกิจเลยทีเดียว พี่ทุยเชื่อว่าเราต้องได้ใช้บริการสักหนึ่งแหละ

กลุ่มธุรกิจทั้งหมด 9 ธุรกิจของอาณาจักร Central

อาณาจักร Central vs อาณาจักร The Mall

  1. กลุ่มธุรกิจห้างสรรพสินค้า (Central Department Store Group: CDG) ได้แก่
  • Central
  • Central.co.th
  • Central Embassy
  • ZEN
  • Robins
  • Super Sports
  • La Rinascente ประเทศอิตาลี
  • ILLUM ประเทศเดนมาร์ก
  • KaDewe ประเทศเยอรมนี
  • Oberpollinger ประเทศเยอรมนี
  • Alsterhaus ประเทศเยอรมนีก

2. กลุ่มธุรกิจห้างสรรพสินค้า (Central Department Store Group: CDG)

เป็นกลุ่มบริษัทผู้ดำเนินธุรกิจด้านการผลิต ค้าปลีก ค้าส่ง นำเข้าและเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภค นอกจากนั้นยังเป็นผู้ส่งออกสินค้าไปยังต่างประเทศอีกด้วย แบ่งออกเป็น 6 หมวด ได้แก่ เครื่องแต่งกาย, ผลิตภัณฑ์ความงามและการดูแลผิว, อัญมณีและเครื่องประดับ, รองเท้าและกระเป๋า, เครื่องใช้ภายในบ้าน และอุปกรณ์สำนักงาน

3. กลุ่มธุรกิจสินค้าอุปโภคบริโภค (Central Food Retail Group: CFG) ได้แก่

  • Central Food Hall
  • Tops Market
  • Tops Super Store
  • ซูเปอร์คุ้ม
  • Tops Daily
  • Tops Online
  • Central Wine Cellar
  • Segafredo
  • Matsumoto Kiyoshi
  • Family Mart
  • Eathai

4. กลุ่มธุรกิจร้านอาหาร (Central Restaurant Group: CRG) ได้แก่

  • Mister Donut
  • KFC
  • Auntie Anne’s
  • Pepper Lunch
  • Chabuton
  • Cold Stone
  • The Terrace
  • Yoshinoya
  • Ootoya
  • เทนยะ
  • คัตสึยะ

5. กลุ่มธุรกิจอุปกรณ์เครื่องเขียน หนังสือและออนไลน์ (Central Online Group: COL) ได้แก่

  • Office Mate
  • B2S

6. ธุรกิจศูนย์การค้าและอสังหาริมทรัพย์ (Central Pattana Group: CPN) ปัจจุบันมีห้างสรรพสินค้าถึง 33 แห่ง ได้แก่

  • Central World
  • Central Plaza
  • Central Festival

7. กลุ่มธุรกิจโรงแรมและรีสอร์ท (Centara Grand Hotel & Resorts: CHR) ได้แก่

  • Centara Grand Hotels & Resort
  • Centara Grand Residence & Suites
  • Centara Hotels & Resort
  • Centara Residence & Suites
  • Centara Boutique Collection
  • Centra Hotels & Resorts
  • COSI
  • SPA Cenvaree
  • Cense by Spa Cenvaree

8. กลุ่มธุรกิจวัสดุก่อสร้าง สินค้าตกแต่งบ้านและเครื่องใช้ไฟฟ้า (Central Home Group: CHG) ได้แก่

  • ไทวัสดุ
  • hW homeWorks
  • baan & BEYOND

9. กลุ่มธุรกิจเวียดนาม (Central Group Vietnam: CGV)

ความเป็นมาของอาณาจักร The Mall

34 ปีต่อมาตั้งแต่มีเซนทรัล เดอะมอลล์แห่งแรก สาขาราชดำริ ได้ถือกำเนิดขึ้นในปี พ.ศ. 2524 โดย ศุภชัย และนงลักษณ์ อัมพุช

อาณาจักร Central vs อาณาจักร The Mallอาณาจักร Central vs อาณาจักร The Mall ปี พ.ศ. 2526 เปิดตัวเดอะมอลล์ รามคำแหง นับได้ว่าเป็นห้างสรรพสินค้าที่ครบวงจรแห่งเดียวในย่านรามคำแหง
ปี พ.ศ. 2532 เปิดตัวเดอะมอลล์ ท่าพระ ซึ่งนับได้ว่าเป็นห้างสรรพสินค้าที่ครบวงจรและทันสมัยที่สุดในฝั่นธนบุรี
ปี พ.ศ. 2540 เปิดตัว Emporium ห้างสรรพสินค้าระดับไฮเอนด์ในกรุงเทพมหานคร
ปี พ.ศ. 2543 เปิดตัวเดอะมอลล์ โคราช เป็นครั้งแรกที่เดอะมอลล์เข้าไปทำธุรกิจในต่างจังหวัด
ปี พ.ศ. 2558 เปิดตัวห้างสรรพสินค้าสยามพารากอน ใจกลางเมือง กรุงเทพมหานคร ร่วมทุนกับทางสยามพิวรรธน์
ปี พ.ศ. 2559 เปิดตัว BLUPORT หัวหิน โดยเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมทั้งคนไทยและชาวต่างชาติตลอดทั้งปี

โดยสามารถแบ่งธุรกิจของเดอะมอลล์กรุ๊ป เป็นกลุ่มธุรกิจทั้งหมด 3 ธุรกิจด้วยกัน

กลุ่มธุรกิจทั้งหมด 3 ธุรกิจของเดอะมอลล์กรุ๊ป

  1. กลุ่มธุรกิจศูนย์การค้าและห้างสรรพสินค้า ได้แก่
  • The Mall
  • Emporium
  • EmQuartier
  • Siam Paragon
  • Bluport

2. กลุ่มธุรกิจร้านสินค้าจำเพาะ ได้แก่

  • M Card
  • gourmet market
  • BE Trend
  • Beauty Hall
  • Power Mall
  • Sports Mall
  • The Mall Skyport

3. กลุ่มธุรกิจนำเข้าแฟชั่น ได้แก่

  • Another Story
  • Style Nanda
  • BEAMS

ระหว่างสองอาณาจักรนี้ ใครกันแน่ที่เจ๋งกว่ากัน ?

พี่ทุยก็อยากรู้นะว่าตอนนี้ระหว่างเซ็นทรัลกับเดอะมอลล์ใครเจ๋งกว่ากัน แต่ด้วยปัจจุบันเซ็นทรัลกรุ๊ปมีธุรกิจถึง 9 กลุ่มธุรกิจ ขณะที่เดอะมอลล์กรุ๊ปมีเพียงแค่ 3 กลุ่มธุรกิจเท่านั้น และเนื่องจากเซ็นทรัลกรุ๊ปมีธุรกิจอยู่หลากหลายประเภทมากกว่าเดอะมอลล์กรุ๊ป พี่ทุยเลยใช้การเปรียบเทียบระหว่างทั้งสองอาณาจักรโดยเน้นไปใน “ธุรกิจห้างสรรพสินค้า” เป็นหลัก ซึ่งในส่วนของเซ็นทรัลกรุ๊ปจะเป็น กลุ่มธุรกิจศูนย์การค้าและอสังหาริมทรัพย์ (Central Pattana Group: CPN) เปรียบเทียบกับ เดอะมอลล์กรุ๊ป

เรามาดูกันที่ส่วนแบ่งทางการตลาดในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลกันหน่อย CPN มีส่วนแบ่งทางการตลาดมากที่สุดถึง 21% รองลงมาคือ กลุ่มเดอะมอลล์ 5% ซึ่งมีความแตกต่างกันอยู่ค่อนข้างมาก จึงถือได้ว่าในเขตกรุงเทพฯและปรมณฑลกลุ่มเซ็นทรัลยังเป็นผู้นำในตลาดห้างสรรพสินค้าอยู่

อาณาจักร Central vs อาณาจักร The Mallอาณาจักร Central vs อาณาจักร The Mall

รายได้รวมและกำไรสุทธิ CPN 

รายได้ปี 2558 รวม 26,621.15 ล้านบาท กำไรสุทธิ รวม 7,880.31 ล้านบาท
รายได้ปี 2559 รวม 30,113.84 ล้านบาท กำไรสุทธิ รวม 9,243.80 ล้านบาท
รายได้ปี 2560 รวม 35,455.99 ล้านบาท กำไรสุทธิ รวม 13,567.64 ล้านบาท

รายได้รวมและกำไรสุทธิ The Mall Group

รายได้ปี 2558 รวม 23,570 ล้านบาท กำไรสุทธิ รวม 1,000 ล้านบาท
รายได้ปี 2559 รวม 24,225 ล้านบาท กำไรสุทธิ รวม 1,130 ล้านบาท

ถ้าเรามองเลือกของรายได้ของ CPN กับ The Mall Group จริงๆก็ไม่ได้ต่างกันมากนะ แต่ถ้ามาดูที่บรรทัดสุดท้ายของบัญชีคือที่ “กำไรสุทธิ” มีความแตกต่างกันอยู่มาก ซึ่ง CPN สามารถสร้างกำไรได้มากกว่า อาจจะเนื่องด้วยกลยุทธ์ในการทำธุรกิจ Business Model ที่แตกต่างกัน รวมถึงปัจจัยอื่นๆทางด้านธุรกิจ

โครงการอนาคตของเซ็นทรัลพัฒนา CPN

เซ็นทรัลพัฒนามีแผนธุรกิจ 3 ปี งบประมาณกว่า 60,000 ล้านบาท ในการสร้างและพัฒนาห้างสรรพสินค้าด้วยการ สร้างใหม่ 5 ปรับปรุง 5 โดยเริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559 โดยมีโครงการที่เปิดตัวไปแล้ว ในปี พ.ศ. 2559 เซ็นทรัลพลาซา นครศรีธรรมราช และในปี พ.ศ. 2560 เซ็นทรัลพลาซา มหาชัย เซ็นทรัลพลาซา นครราชสีมา และเซ็นทรัล ภูเก็ต รวมแล้วทั้งหมด 4 โครงการ

สำหรับโครงการในอนาคต ในปีนี้ CPN โกอินเตอร์เป็นครั้งแรกด้วยการจะเปิดตัว เซ็นทรัล ไอ-ซิตี้ ที่ประเทศมาเลเซีย ตัวโครงการเป็นแบบ Mix Use มีทั้งศูนย์การค้า อาคารพาณิชย์ ไซเบอร์ออฟฟิศ ศูนย์ข้อมูลไซเบอร์เซ็นเตอร์ของซิสโกคอมพิวเตอร์ ที่พักอาศัย และแอทแทรคชั่นเพื่อการท่องเที่ยว และนอกจาก 5 โครงการใหม่แล้ว CPN ยังปรับปรุง 5 โครงการเดิมให้มีความทันสมัยมากขึ้น ทั้ง เซ็นทรัลพลาซา ปิ่นเกล้า เซ็นทรัลพลาซา บางนา เซ็นทรัลพลาซา พัทยา เซ็นทรัลพลาซา พระราม 3 และเซ็นทรัลเวิลด์ ซึ่งทุกแห่งล้วนถือเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญในการสร้างรายได้

แล้วรู้สึกว่า CPN ยังมีเมกะโปรเจคที่อยู่ในมือในการพัฒนาสร้างร่วมกับทางดุสิตธานี ในการพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ในรูปแบบผสมขนาดใหญ่ (Mixed-use) ประกอบไปด้วย โรงแรม อาคารที่พักอาศัย อาคารสำนักงาน และพื้นที่ค้าปลีก บริเวณสีลม ซึ่งเป็นทั้งศูนย์กลางทางธุรกิจ ศูนย์กลางค้าปลีก รวมถึงศูนย์กลางเชื่อมต่อระบบขนส่งมวลชนทั้ง MRT และ BTS

เมกะโปรเจคอนาคตของเดอะมอลล์กรุ๊ป

ในฝากฝั่งของเดอะมอลล์กรุ๊ปยังมีเมกะโปรเจคที่รอเปิดตัวในอนาคตอีก 3 โครงการด้วยกัน ทั้ง The EmSphere ที่มีกำหนดการจะเปิดตัวในปี พ.ศ. 2563 เป็นโครงการสุดท้ายของเมกะโปรเจค Em District ที่เปิดตัว The Emporium และ The EmQuartier ไปเรียบร้อยแล้ว

อาณาจักร Central vs อาณาจักร The Mallอาณาจักร Central vs อาณาจักร The Mall

ตามมาด้วยโครงการเมกะโปรเจ็ค 20,000 ล้านบาท อย่างโครงการ BLÚ Pearl ภูเก็ต หนึ่งในหัวใจหลักแหล่งท่องเที่ยวของประเทศไทย ที่มีชื่อเสียงระดับโลก และเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งในเอเชีย ภายใต้คอนเซ็ปต์ “The Grand Majestic Palace” เพื่อให้เป็นไข่มุกอันเลอค่าที่สุดแห่งเอเชีย โครงการนี้ประกอบไปด้วย ศูนย์รวมความบันเทิงระดับโลกแห่งเอเชีย Convention & Exhibition Center ขนาดใหญ่ทันสมัยที่สุดในภูเก็ต พร้อม Resort Hotel และ World Class Them Park ที่ยิ่งใหญ่ คาดว่าโครงการจะแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2564

อาณาจักร Central vs อาณาจักร The Mallอาณาจักร Central vs อาณาจักร The Mall

และโครงการเมกะโปรเจ็กของเดอะมอลล์กรุ๊ปท้ายสุดที่พี่ทุยจะพูดถึงเป็นโครงการ Bangkok Mall ตั้งอยู่บนถนนบางนา-ตราด กับสุขุมวิท เชื่อมต่อสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส สถานีอุดมสุขและบางนา เป็นการสร้งอาณาจักรศูนย์การค้า ที่อยู่อาศัย และออฟฟิศ แบบครบวงจรที่ยิ่งใหญ่ ทันสมัยและสมบูรณ์แบบที่สุดในเอเชีย คาดว่าจะเปิดตัวโครงการได้ในปี พ.ศ. 2565 โดยทั้งสามโครงการที่กล่าวถึงมีมูลค่าเกือบ 50,000 ล้านบาท

ทั้งเซ็นทรัลและเดอะมอลล์ต่างเดินเกมรุก เดินหน้าขยายกิจการ ลงทุนในเมกะโปรเจคเพื่อทำการสร้างและพัฒนาธุรกิจของตน ไม่ใช่เพียงแค่การขยายธุรกิจค้าปลีกเท่านั้น แต่เป็นการเดินหน้าลงทุนในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ไปพร้อมๆกันด้วย กลยุทธ์ในการเดินเกมส์ครั้งนี้ก็แตกต่างไปจากในอดีต โดยให้ความสำคัญกับการเอาไลฟ์สไตล์ของคนในยุคปัจจุบันเข้ามาใส่ในรูปแบบการทำธุรกิจ พี่ทุยว่าอนาคตหรือแม้กระทั่งตอนนี้ห้างสรรพสินค้าที่เราเดินก็ไม่ใช่เพียงแค่ห้างเพื่อซื้อของเหมือนในอดีดแต่ว่านำมาซึ่งรูปแบบการใช้ชีวิตของเราด้วย

พี่ทุยมองว่า ถ้าเราอยากจะมีส่วนร่วมหรือเลือกลงทุนในธุรกิจค้าปลีกนี้ ทั้งเซ็นทรัลพัฒนา­­และเดอะมอลล์ยังเป็นผู้เล่นที่มีความน่าสนใจที่สุด ทั้งกำลังของทรัพยากรที่ตนเองมี สายป่านที่ยาวพอในการทำธุรกิจ ความโชกโชนในการเข้าใจการลงทุนในธุรกิจ รวมถึงยังมีแผนงานทำธุรกิจต่อไปในอนาคต ดังนั้นรายได้จะไม่หยุดอยู่แค่เท่าเดิม แต่ก่อนที่จะรับรู้รายได้ ย่อมรับรู้ค่าใช้จ่ายในการลงทุนมาก่อนเสมอ ดังนั้นการลงทุนในบริษัททั้งสองคงไม่ใช่เพียงการลงทุนระยะสั้น แต่ยังต้องใช้เวลาด้วย

ปล. พี่ทุยอยากจะบอกอีกครั้งว่า ในตลาดหลักทรัพย์ไทยนี่มีหุ้นเซ็นทรัลพัฒนาอยู่แล้ว แต่ แต่… หุ้นเดอะมอลล์นี่รอไปก่อนนะจ๊ะ ยังไม่เข้าตลาดเลยจ้า “การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนโปรดศึกษาข้อมูลก่อนตัดสินใจลงทุน” อย่าลืมศึกษาก่อนลงทุนกันนะจ๊ะ

รูปบน ของ desktop
รูปล่าง ของ mobile
FBS Trader เทรดได้อย่างปลอดภัย
FBS Trader เทรดได้อย่างปลอดภัย