เราเที่ยวด้วยกัน

ส่อง 5 เงื่อนไขใหม่ “เราเที่ยวด้วยกัน” หวังกระตุ้นให้คนใช้สิทธิมากขึ้น

1 min read  

ฉบับย่อ

  • “เราเที่ยวด้วยกัน” ไม่ได้ยอดผู้ใช้สิทธิตามที่หวัง สิทธิที่พักเหลือกว่าครึ่ง และสิทธิตั๋วเครื่องบินใช้ไปไม่ถึง 10% ด้วยซ้ำ
  • ททท.เสนอปรับสิทธิ “เราเที่ยวด้วยกัน” ให้เงื่อนไขง่ายขึ้น กระตุ้นคนใช้มากขึ้น และเพิ่มโครงการย่อยกระตุ้นผู้สูงอายุ รวมแล้ว 5 เงื่อนไขที่จะถูกปรับ
  • ตัวเลขนักท่องเที่ยวไทยหดหายตั้งแต่มีนาคม 2563 ก่อนจะเริ่มกลับมาฟื้นตัวช่วงเดือนกรกฎาคม 2563 ช่วงเริ่มใช้สิทธิ “เราเที่ยวด้วยกัน”
  • รายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติเหลือไม่ถึง 1% ของช่วงเวลาปกติ ทางด้านของรายได้จากนักท่องเที่ยวไทย แม้ได้รับการกระตุ้นแล้วยังกลับไม่ถึงครึ่งหนึ่งของช่วงปกติ

รูปบน ของ desktop
รูปล่าง ของ mobile

“เราเที่ยวด้วยกัน” เป็นมาตรการท่องเที่ยวที่ค่อนข้างดึงดูดเลยทีเดียว มีเงินคืนให้สูงถึง 40% ทั้งตั๋วเครื่องบินและที่พัก แต่ด้วยเงื่อนไขที่ออกแบบมาเพื่อป้องกันการโกงและการนำไปใช้แบบผิด ๆ ทำให้การใช้สิทธิแอบมีความซับซ้อนและรายละเอียดค่อนข้างเยอะ 

และเมื่อประกอบคู่ไปกับความกังวลด้านโรคระบาดหรือ Covid-19 ยังมีเหลืออยู่ ทำให้จำนวนคนที่ตัดสินใจจะออกมาท่องเที่ยวไม่เยอะเท่าที่ควร โดยเป้าหมายที่ตั้งไว้ให้มีคนเข้าใช้สิทธิเข้าพัก 5 ล้านคืน แต่ปัจจุบันยังเหลือสิทธิที่พักอีกกว่า 2.5 ล้านสิทธิ ทางด้านตั๋วเครื่องบินจาก 2 ล้านสิทธิ ปัจจุบันใช้ไม่ถึง 2 แสนสิทธิ

โดยอุปสรรคนึงที่พบได้เลยคือที่พักต้องมีการทำการจองมากกว่า 3 วันถึงจะใช้สิทธิได้ และการจะใช้สิทธิตั๋วเครื่องบินนั้นจะต้องเชื่อมกับที่พักและมีการ Checkout ในระยะที่บินไปถึงจะสามารถใช้สิทธิได้ ซึ่งหลายคนที่บินไปต่างจังหวัดอาจจะไม่ได้ไปนอนที่พักที่สามารถใช้สิทธิได้ 

ทำให้ตั๋วเครื่องบินเองก็ไม่สามารถใช้สิทธิไปด้วย จึงต้องมีการยืดเวลาไปถึง มกราคม 2564 และปรับสิทธิกันยกใหญ่ เพื่อให้งบที่ถูกแบ่งมาในการกระตุ้นเศรษฐกิจการท่องเที่ยวไทยนั้น สามารถใช้ได้ทั่วถึงและเป็นไปตามเป้าหมายที่ได้วางไว้

5 เงื่อนไขใหม่ “เราเที่ยวด้วยกัน”

    1. โรงแรมที่ไม่ใบประกอบกิจการก็ร่วมได้ – โรงแรมที่อยู่ในฐานภาษีสามารถเข้าร่วมสิทธิได้เลย ไม่จำเป็นต้องเป็นโรงแรมที่มีใบประกอบกิจการเท่านั้นถึงจะร่วมใช้สิทธิได้ เป็นการขยายสิทธิให้ใช้ได้ง่ายขึ้น แถมโรงแรมเล็ก ๆ ที่ไม่มีใบประกอบกิจการ ก็มีโอกาสได้รับการฟื้นฟูไปด้วย
    2. ตั๋วเครื่องบินใช้สิทธิง่ายขึ้น – ตั๋วเครื่องบินสามารถใช้สิทธิซื้อได้เลยเหมือนโรงแรมก่อนหน้านี้ ไม่จำเป็นต้องนำมาขอเงินคืนภายหลัง และไม่จำเป็นต้องเข้าพักที่พักที่ร่วมรายการ แต่อย่างน้อย ๆ ต้องไม่บินกลับภายในวันหรือ One Day Trip โดยสิทธิที่สามารถใช้ได้นั้น คือ รัฐช่วย40% ของมูลค่าตั๋วและต้องไม่เกิน 2,000 บาท ต่อหนึ่งผู้โดยสาร
    3. “ชวนผู้สูงวัยเที่ยววันธรรมดาผ่านทัวร์” – โครงการย่อยเพื่อกระตุ้นท่องเที่ยวกลุ่มผู้สูงอายุ ซึ่งอาจเจาะกลุ่ม High-End
    4. เพิ่ม Gift Voucher สำหรับบริการอื่น ๆ ในโรงแรม – อย่างห้องอาหาร สปาและอื่น ๆ และอาจทำ E-Voucher เพื่อให้สอดคล้องกับ App “เป๋าตัง” โดยส่วนลดสูงสุดที่จะเข้าหมวดนี้จะอยู่ที่ 900 บาท ต่อวัน
    5. ปรับให้ขั้นตอนใช้สิทธิให้ง่ายยิ่งขึ้น

ตัวเลขรายได้จากนักท่องเที่ยว ม.ค.- ก.ย. 2563

เราเที่ยวด้วยกัน

รายได้ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2563 เป็นต้นมาตัวเลขตกลงอย่างมากจากมาตรการป้องกันต่าง ๆ รวมถึงสถานการณ์ในแต่ละประเทศเองที่ทวีความหนักขึ้นเป็นอย่างมาก ซึ่งไทยเป็นประเทศนึงที่คุมตัวเลขผู้ติดเชื้อได้ดีและกลับมาเดินธุรกิจต่อได้ แม้ยังปิดประเทศจากคนต่างชาติ

แต่รายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติก็หายไปในจำนวนที่ไม่น้อยเลยทีเดียว จากเดือนมกราคม 2563 ที่มีตัวเลขเกือบ  2 แสนล้านบาทต่อเดือน ในเดือนกรกฎาคมถึงเดือนกันยายนลดลงเหลือเพียง 1-2 พันล้านบาทต่อเดือนเท่านั้น อีกทั้งตัวเลขภายในประเทศเองก็ลดลง แต่มีการเริ่มกลับมาโตขึ้นในช่วงกรกฏาคม 2563 ช่วงเดียวกับโครงการ “เราเที่ยวด้วยกัน”

จึงคาดได้ว่าการปรับเงื่อนไขโครงการที่จะเกิดขึ้นนี้อาจช่วยฟื้นฟูการท่องเที่ยวให้กลับมาคึกคักขึ้น ประจวบเหมาะกับช่วงปลายปีที่เป็น High-Season เอง ก็อาจจะเห็นตัวเลขที่ดีขึ้นมาพอสมควรแม้จะห่างไกลกับช่วงก่อน Covid-19 ก็ตาม

Source: กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

รูปบน ของ desktop
รูปล่าง ของ mobile
FBS Trader เทรดได้อย่างปลอดภัย
FBS Trader เทรดได้อย่างปลอดภัย

Comment

Be the first one who leave the comment.

Leave a Reply