วิกฤตการณ์ "เงินเฟ้อ" รุนแรง ยุคหลังปี 2000 เริ่มต้นที่ซิมบับเว

วิกฤตการณ์เงินเฟ้อรุนแรง ยุคหลังปี 2000 เริ่มต้นที่ซิมบับเว

3 min read  

ฉบับย่อ

  • บทเรียน “เงินเฟ้อ” ยุคปี 2000 ที่ซิมบับเว เริ่มด้วยการเป็นเอกราชจากอังกฤษ ทุกอย่างเหมือนจะดี แต่เศรษฐกิจที่ถดถอยจากการบริหารงานผิดพลาด จนประเทศต้องเป็นหนี้ IMF และธนาคารกลางซิมบับเวตัดสินใจพิมพ์เงินไปใช้หนี้
  • ในปี 2006 รัฐบาลสั่งพิมพ์เงินเข้าระบบ 60,000,000,000,000 (หกสิบล้านล้าน) ดอลลาร์ซิมบับเว เพื่อขึ้นเงินเดือนให้เจ้าหน้าที่รัฐ และพวกพ้อง เป็นปัจจัยหลักที่ซ้ำเติมวิกฤตการณ์นี้อย่างรุนแรง ณ ตอนนั้นประชาชนซิมบับเวต้องใช้เงินถึง 417 ดอลล่าร์ซิมบับเว เพื่อซื้อกระดาษทิชชู 1 แผ่น
  • จนกระทั่งปี 2008 อัตราเงินเฟ้อก็ยังหยุดไม่อยู่ พุ่งไปถึง 79,600,000,000% แต่รัฐบาลและธนาคารกลางก็ยังไม่หยุดพิมพ์เงิน จนกระทั่งธนาคารกลางต้องออกธนบัตรราคาใบละ 100,000,000,000,000 (หนึ่งร้อยล้านล้าน) ดอลลาร์ซิมบับเว

รูปบน ของ desktop
รูปล่าง ของ mobile

รากสำคัญของ วิกฤตการณ์เงินเฟ้อรุนแรง ครั้งนี้มีหลายปัจจัย ทั้งความบอบช้ำจากการถูกเจ้าอาณานิคมอย่างอังกฤษกดขี่ ความเหลื่อมล้ำระหว่างคนขาวและคนดำ สงครามกลางเมือง และการบริหารงานที่ผิดพลาดของรัฐบาลโรเบิร์ต มูกาเบ ซึ่งในช่วงแรกได้ชื่อว่าเป็น “วีรบุรษผู้ปลดแอก” เพราะทำให้ซิมบับเวเป็นเอกราช

ความไม่เท่าเทียมกันระหว่างคนขาวเจ้าอาณานิคมกับคนดำที่เป็นคนพื้นมือง ก่อให้เกิดการเคลื่อนไหวเรียกร้องเอกราชขึ้น โดยหนึ่งในนั้นมี โรเบิร์ต มูกาเบ เป็นตัวละครสำคัญ เขาเป็นลูกชายของช่างไม้ ที่โชคดีพอจะมีเงินส่งเสียให้เค้าจบปริญญาตรี ในประเทศแอฟริกาใต้ได้ เขามีความกระตือรือร้นสนใจในประเด็นความเท่าเทียม และความเหลื่อมล้ำระหว่างคนดำและคนขาว หลังจากไปทำงานสอนหนังสืออยู่ช่วงนึงในประเทศกานา

  • ปี 1960 เขาก็หันหน้าเข้าสู่เส้นทางการเมืองอย่างเต็มตัว และร่วมก่อตั้งพรรค ZANU-PF
  • ปี 1964 เขาถูกรัฐบาลเจ้าอาณานิคมสั่งจำคุกเป็นเวลากว่า 10 ปี ข้อหาปลุกปั่นให้ประชาชนกระด้างกระเดื่องต่อรัฐบาล (คนขาว) ทำให้เค้ากลายเป็น สัญลักษณ์ของการเรียกร้องเอกราช
  • เมื่อถูกปล่อยเป็นอิสระจึงเข้าร่วมกับกลุ่มต่อต้านรัฐบาลคนขาว เพื่อเรียกร้องเอกราช ในช่วงสงครามกลางเมือง
  • ปี 1979 มีการประชุมไกล่เกลี่ยเกิดขึ้นที่ลอนดอน ประเทศอังกฤษ เพื่อยุติการสู้รบ
  • ปี 1980 ซิมบับเวได้เอกราช เป็นอิสระจากเจ้าอาณานิคม และมีการเลือกตั้ง โดยพรรค ZANU-PF ชนะการเลือกตั้งอย่างขาดลอย ทำให้ โรเบิร์ต มูกาเบ ได้เป็นนายกรัฐมนตรี

วิกฤตการณ์ "เงินเฟ้อ" รุนแรง ยุคหลังปี 2000 เริ่มต้นที่ซิมบับเว

การประชุมเพื่อยุติสงครามกลางเมือง และนำไปสู่การเป็นเอกราชของซิมบับเวที่ลอนดอน ในปี 1979 (ขวาสุดคือ โรเบิร์ต มูกาเบ)

เมื่อเข้าสู่ยุคสาธารณรัฐ ดูเหมือนจะเป็นรุ่งอรุณที่สดใสของชาวซิมบัมเว คุณภาพความเป็นอยู่ของคนผิวดำพื้นเมืองถูกยกระดับขึ้นตามลำดับ ด้วยการเพิ่มค่าแรง และทำให้ประชาชนเข้าถึงบริการสาธารณะต่างๆ รวมถึงแจกจ่ายอาหาร ซึ่งประเทศก็มการพัฒนาจนได้ชื่อว่าเป็นอู่ข้าวอู่น้ำของทวีปแอฟริกาเลยทีเดียว จึงส่งผลให้ โรเบิร์ต มูกาเบ มีบารมีขึ้นมาก และเริ่มสั่งสมอำนาจขึ้นเรื่อยๆในเวลาต่อมา

จนปี 1987 เขาเริ่มรวบอำนาจเบ็ดเสร็จไว้ที่ตนเอง ก้าวขึ้นเป็นประธานาธิบดีของซิมบับเว และเริ่มกีดกันชนกลุ่มน้อย โดยออกนโยบายปฏิรูปที่ดิน ทุกครั้งที่มีการเลือกตั้งเขาจะขายฝันให้คนดำว่าจะให้ที่ดินทำกิน คนดำทุกคนจะมีที่ดินเป็นของตนเอง มาตรการริบที่ดินทำกินส่วนใหญ่ที่เคยเป็นของคนขาวมาให้คนดำ ซึ่งมาตรการนี้ก็ดำเนินไปด้วยความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ จนสุดท้ายรัฐบาลได้ผ่านกฎหมายเปลี่ยนที่ดินทั้งหมดให้ไปอยู่ในมือคนดำ

ระบบการเกษตรของซิมบับเวเป็นระบบฟาร์มขนาดใหญ่ที่มีเกษตรกรผิวขาว พลเมืองจากเจ้าอาณานิคมเป็นคนบริหาร และมีคนผิวดำเป็นลูกจ้าง ผลที่เกิดขึ้นหลังการปฏิรูปที่ดินคือ ระบบเศรษฐกิจและระบบการเกษตรของซิมบับเวพังพินาศลง คนดำที่รัฐบาลจัดสรรมารับช่วงต่อไม่ได้รับการเตรียมพร้อม ขาดทั้งทุน ความรู้ และประสบการณ์ ในการบริหารจัดการฟาร์มขนาดใหญ่ ทำให้ผลผลิตมวลรวมของประเทศ (GDP) ลดลง ผนวกกับการคอรัปชั่นในรัฐบาลที่หนักข้อขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ทุกอย่างย่ำแย่ลง

จากการปฏิรูปที่ดินที่ล้มเหลว สถานการณ์รุนแรงขึ้นตามเวลา ซิมบับเวจากที่เคยเป็นประเทศอู่ข้าวอู่น้ำ ส่งออกสินค้าหลายชนิด กลายเป็นต้องนำเข้าสินค้าแทบทุกอย่าง เพราะความสามารถในการผลิตลดลง จนเริ่มขาดแคลนอาหารสินค้าพื้นฐาน และสาธารณูปโภคเสื่อมโทรม ประชาชนอยู่อย่างลำบาก ไม่มีเงินทุนไหลเข้าประเทศ นำไปสู่การกู้ยืม IMF

  • ปี 1987 – 1999 อัตราเงินเฟ้อ อยู่ที่ระดับ 20-50%
  • ปี 2000 อัตราเงินเฟ้อเพิ่มเป็น 100%
  • และปี 2006 อัตราเงินเฟ้อพุ่งสูงขึ้นไปแตะ 1,281%

วิกฤตการณ์ "เงินเฟ้อ" รุนแรง ยุคหลังปี 2000 เริ่มต้นที่ซิมบับเว

เมื่อมีปริมาณของจำนวนเงินในระบบมากเกินไป จนขาดสมดุลเมื่อเทียบกับผลผลิตที่มี ทำให้ราคาสินค้าพุ่งสูงขึ้น

ในปี 2006 รัฐบาลสั่งให้ธนาคารกลางแห่งชาติซิมบับเว พิมพ์เงินจำนวนมหาศาล เพื่อไปซื้อเงินดอลล่าร์สหรัฐ เพื่อนำไปใช้หนี้ IMF ซึ่งหนี้ถูกปลดได้ แต่ปริมาณเงินจำนวนมหาศาลนั้นสุดท้าย ก็ไหลคืนสู่ระบบเศรษฐกิจของซิมบับเว ทำให้อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นหนักเข้าไปอีก

ในปีเดียวกันนั้นรัฐบาลก็สั่งพิมพ์เงินเข้าระบบอีก 60,000,000,000,000 (หกสิบล้านล้าน) ดอลลาร์ซิมบับเว เพื่อขึ้นเงินเดือนให้เจ้าหน้าที่รัฐ และพวกพ้อง เป็นปัจจัยหลักที่ซ้ำเติมวิกฤตการณ์นี้อย่างรุนแรง ณ ตอนนั้นประชาชนซิมบับเวต้องใช้เงินถึง 417 ดอลล่าร์ซิมบับเว เพื่อซื้อกระดาษทิชชู “1 แผ่น”

ปี 2007 วิกฤตการณ์เงินเฟ้อรุนแรง อยู่ที่อัตรา 66,212%

ในปี 2007 รัฐบาลพยายามแก้ปัญหาโดยการควบคุมราคาสินค้า ใครขายเกินราคา มีความผิด แต่ผลกลายเป็นทำให้ร้านค้าต่างๆเก็บสินค้าไว้ เพราะไม่สามารถขายขาดทุนได้ ทำให้เกิดตลาดมืดไปทั่วประเทศ ขนาดโรงพยาบาลยังยินดีรับค่าบริการเป็นถั่วลิสงมากกว่าดอลล่าร์ซิมบับเว

ปึ 2008 อัตราเงินเฟ้อหยุดไม่อยู่ พุ่งไปถึง 79,600,000,000%

แต่รัฐบาลและธนาคารกลางก็ยังไม่หยุดพิมพ์เงิน จนธนบัตรของซิมบับเวมีเลขศูนย์มากขึ้นเรื่อยๆ และถูกปรับไป 4 ครั้ง โดยการตัดศูนย์ด้านหลังไปครั้งละหลายตัว

จนกระทั่งธนาคารกลางต้องออกธนบัตรราคาใบละ 100,000,000,000,000 (หนึ่งร้อยล้านล้าน) ดอลลาร์ซิมบับเว

วิกฤตการณ์ "เงินเฟ้อ" รุนแรง ยุคหลังปี 2000 เริ่มต้นที่ซิมบับเว

ด้านหน้าธนบัตรมูลค่า หนึ่งร้อยล้านล้านดอลลาร์ที่สาม

การพยายามแก้ปัญหาที่กู่ไม่กลับนี้ไร้ผล ที่สุดแล้วรัฐบาลซิมบับเว ต้องประกาศยกเลิกการใช้เงินสกุลดอลลาร์ซิมบับเวในประเทศ และยอมรับการใช้สกุลเงินต่างประเทศอื่นๆ อย่างเป็นทางการในวันที่ 12 เมษายน 2009 และปล่อยให้ระบบเศรษฐกิจซ่อมแซมตัวมันเอง นับจากวันนั้น ภาวะเงินเฟ้อในซิมบับเวลดลงสู่ระดับเกือบปกติในทันที และไม่เคยพุ่งสูงอีกเลยจนถึงปัจจุบัน แต่ความล่มสลายของเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตที่ข้นแค้นของประชาชนซิมบับเวไม่ได้หายไปไหน พวกเค้ายังคงต้องทนทุกข์ และเอาชีวิตรอดอย่างยากลำบากกันต่อไป

โดยล่าสุดเมื่อช่วงปลายพฤศจิกายน 2017 มีการรัฐประหารที่ซิมบับเว กองทัพและพรรค ZANU-PF บีบให้ โรเบิร์ต มูกาเบ ลาออก และตั้งรัฐบาลใหม่ เราก็คงต้องเฝ้าติดตามกันต่อไปว่าผู้นำคนต่อไปจะซ้ำรอย โรเบิร์ต มูกาเบ ผู้ซึ่งขึ้นสู่อำนาจอย่าง “วีรบุรษผู้ปลดแอก” แต่ลงจากอำนาจแบบ “เผด็จการทรราช” หรือไม่

รูปบน ของ desktop
รูปล่าง ของ mobile
FBS Trader เทรดได้อย่างปลอดภัย
FBS Trader เทรดได้อย่างปลอดภัย