A-share H-share

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับหุ้น A-share และ H-share

4 min read  

ฉบับย่อ

  • ดัชนีตลาดหุ้นประเทศจีนนี้มีหลายชนิด แต่ที่ได้ยินและคุ้นเคยบ่อย ๆ คือ ดัชนี “A-share” และ “H-share”
  • ตลาดหุ้นจีนถือเป็นตลาดหุ้นที่ร้อนแรงและมีมูลค่าการซื้อขายเป็นที่น่าจับตามองเป็นอย่างมาก ถึงขนาดที่ Ray Dalio แห่ง Bridgewater ยังให้ความสนใจเป็นอย่างมากในขณะนี้

รูปบน ของ desktop
รูปล่าง ของ mobile

ตลาดหุ้นจีนถือเป็นตลาดหุ้นที่ร้อนแรงและมีมูลค่าการซื้อขายเป็นที่น่าจับตามองเป็นอย่างมาก ถึงขนาดที่ Ray Dalio แห่ง Bridgewater ยังให้ความสนใจเป็นอย่างมากในขณะนี้ แต่ตลาดหุ้นแห่งนี้มีความน่าสนใจหลายประการที่ทุกคนที่คิดจะลงทุนในหุ้นประเทศนี้ควรรู้เป็นอย่างยิ่ง คือ ดัชนีตลาดหุ้นประเทศจีนนี้มีหลายชนิด แต่ที่ได้ยินและคุ้นเคยบ่อย ๆ คือ ดัชนี A-share และ H-share

A-share คืออะไร ?

“A-share” คือ ดัชนีหลักของตลาดหุ้นจีนที่มีจำนวนหลักทรัพย์และมูลค่าตลาด (Market Capitalization) สูงที่สุด เทรดโดยใช้สกุลเงิน “หยวน” คำนวณโดยใช้หุ้นสองตลาดหลัก คือ ที่ เซี่ยงไฮ้ (Shanghai) และ เสินเจิ้น (Shenzhen) มาคิดมูลค่า ซึ่งส่วนใหญ่มักติดตามผ่านดัชนี Shanghai Composite Index (SSEC) โดยล่าสุดตลาดมีมี PE ratio ที่ 13.440 (ข้อมูลเดือนสิงหาคม 2562)

หุ้นในกลุ่มนี้ให้สิทธิในการซื้อขายแก่บุคคลสัญชาติจีนเท่านั้น ไม่อนุญาตให้นักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนได้ ยกเว้นมาในรูปแบบของนักลงทุนสถาบันที่ได้สิทธิพิเศษเรียกว่า Qualified Foreign Institutional Investors (QFIIs) โดยก่อนช่วงปี 2007 นักลงทุนจีนสามารถซื้อขายได้แค่หุ้นในกลุ่ม A-share เท่านั้น

แต่หลังจากปีดังกล่าวนักลงทุนชาวจีนสามารถซื้อขายหุ้นจากทั้งสองตลาดได้ หุ้นในกลุ่ม A-share ในขณะนี้ยังได้รับความสนใจจาก MSCI Emerging Market Index เป็นอย่างมากโดยในปี 2019 ได้มีการปรับเพิ่มน้ำหนักของหุ้นในกลุ่ม A-share เข้ามาใน index นี้จาก 5% เป็น 20% ในพฤศจิกายนของปีนี้และได้รับเสียงตอบรับเป็นอย่างดีจากนักลงทุน

ตัวอย่างหุ้นที่น่าสนใจในกลุ่ม A-share มีมากมาย ตัวอย่างเช่น Ping An Insurance, China Airline เป็นต้น 

H-share คืออะไร ?

“H-share” คือ ดัชนีของบริษัทที่ทำธุรกิจและจดทะเบียนในจีนแผ่นดินใหญ่แต่ List ตัวเองใน “ฮ่องกง” ดังนั้น จึงถูกซื้อขายกันในเงินสกุล “ฮ่องกงดอลล่าร์” โดยที่ H นั่นย่อมาจาก Hang Seng China Enterprise index (HSCE) นั่นเอง

ดัชนีหุ้นตัวนี้ได้รับการยอมรับเรื่องมาตรฐานทางบัญชีที่เหนือกว่าหุ้นในกลุ่ม A-share อย่างชัดเจน ล่าสุด HSCE มี PE ratio ที่ 8.08 (ข้อมูลเดือนสิงหาคม 2562)

หุ้นในกลุ่มนี้เปิดให้นักลงทุนต่างชาติสามารถทำการซื้อขายได้อย่างเสรีส่งผลให้คุณภาพโครงสร้างของนักลงทุนดีกว่าชัดเจน โดยจากข้อมูลล่าสุดพบว่ามีสัดส่วนของนักลงทุน 39% เป็นทุนสถาบันต่างประเทศ 26% เป็นนักลงทุนสถาบันในประเทศ และนักลงทุนรายย่อยในประเทศ 27% สำหรับตลาดจีนมีการประเมินพบว่ามีสัดส่วนของนักลงทุนรายย่อยอยู่สูงถึงประมาณ 70%

ความหลากหลายของประเภทหุ้นในกลุ่มนี้มีมาก ครอบคลุมทั้งในกลุ่ม พลังงาน, วัสดุ, สินค้าอุตสาหกรรม, สินค้าอุปโภค, บริการ, โทรคมนาคม, การเงิน, อสังหาริมทรัพย์และการก่อสร้าง, เทคโนโลยีสารสนเทศ ตัวอย่างหุ้นในกลุ่มนี้ที่เราพอคุ้นเคย เช่น Bank of China และ Tencent Holdings company เป็นต้น

อัตราส่วนที่น่าสนใจของข้อมูลจากหุ้นในตลาดทั้งสองกลุ่มที่น่าจับตามอง คือ Turn Over Rate (TOR) ซึ่งคือ ตัวสะท้อนความถี่ในการซื้อขายหุ้นในตลาด ตลาดฮ่องกงมี TOR ที่ค่อนข้างคงที่เพียง 1 เท่า

ในขณะที่ตลาดจีนมี TOR 3.5 อาจเป็นผลจากการที่ตลาดฮ่องกงมีสัดส่วนของผู้ลงทุนที่เป็นนักลงทุนสถาบันมากกว่า ซึ่งลงทุนเพื่อหวังผลในระยะยาวมากกว่าการเก็งกำไรระยะสั้นแบบนักลงทุนรายย่อย

อีกอัตราส่วนหนึ่งคือ (Risk adjusted return) เมื่อเปรียบเทียบค่า Sharpe Ratio หรือ ผลตอบแทนเปรียบเทียบต่อหนึ่งหน่วยความเสี่ยงแล้ว จากข้อมูลล่าสุดของ MSCI index MSCI China ระบุ Sharp ratio ที่ 3, 5, 10 ปี ที่ 0.64, 0.32 และ 0.32 ตามลำดับ ในขณะที่ MSCI Hong Kong ระบุ Sharp ratioที่ 3, 5, 10 ปีที่ 0.65, 0.39 และ 0.54 ตามลำดับ (July 2019) ซึ่งหมายถึง ที่ระดับความเสี่ยงเดียวกัน ตลาดฮ่องกงจะให้ผลตอบแทนสูงกว่า หรือที่ผลตอบแทนเท่ากันตลาดจีนมีความเสี่ยงสูงกว่านั่นเอง

นอกเหนือไปจากนั้นยังมีหุ้นพิเศษที่จดทะเบียนทั้งใน “ตลาดจีนแผ่นดินใหญ่และฮ่องกง” เราเรียกหุ้นในกลุ่มนี้ว่า “Dual listed” โดยปัจจุบันหุ้นในกลุ่มนี้มีอยู่ครอบคลุมทั้งในกลุ่มพลังงาน อุตสาหกรรม บริการ การเงิน ปิโตรเลียม ประมาณกว่า 88 บริษัท ตัวอย่างเช่น China Pacific Insurance (Group), New China Life Insurance Company, Ping An Insurance (Group) Company of China, China Petroleum & Chemical Corporation, BYD Company Limited (หุ้นจีนที่ Warren Buffet ถือ), Tsingtao Brewery Company Limited, Bank of China Limited เป็นต้น

ซึ่งแม้กระทั่งเป็นหุ้นตัวเดียวกันที่จดทะเบียน ทั้ง 2 ตลาด แต่กลับพบว่ามีราคาซื้อขายที่ไม่เท่ากัน เป็นเพราะความแตกต่างทางสภาพแวดล้อม ตลาดและปัจจัยอื่นๆ ซึ่งส่วนต่างของราคาของหุ้นเหล่านี้จะถูกแสดงออกมาในรูปของกราฟ AH premium indexโดยแปลความได้ว่า ถ้าค่านี้ >100 หมายถึง ราคาหุ้นใน A-share แพงกว่า H-share ขณะที่ถ้า ค่านี้ <100 แสดงว่าหุ้นใน A-share ถูกกว่านั่นเอง โดยค่าดังกล่าว 5 ปีล่าสุดเริ่มมีแนวโน้มคงที่ที่ประมาณ 110-130 โดยทำจุดต่ำสุดที่ประมาณ 90 และสูงสุดที่ประมาณ 150 (ข้อมูลเดือนสิงหาคม 2562) นั่นหมายความว่าราคาของหุ้นในตลาด H-share นั้นยังถูกกว่าใน A-share นั่นเอง

มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ย 3 เดือนล่าสุดของ A-share และ H-share

มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ย 3 เดือนล่าสุดของฮ่องกงคิดมีมูลค่าประมาณ 2,496,716,280 HKD หรือประมาณ 9,836,562,799.94 บาท (อิงตาม HSCE) มากกว่าตลาดไทย 60 เท่า

ส่วนมูลค่าการซื้อขายเฉลี่ย 3 เดือนล่าสุดของตลาดจีนคิดมีมูลค่าประมาณ 18,237,041,459 RMB หรือประมาณ 80,065,171,265.37 บาท (อิงตาม SSEC) มากกว่าตลาดไทย 50 เท่า (ข้อมูลเดือนสิงหาคม 2562)

แต่สำหรับตลาดหุ้นไทยคิดมีมูลค่าการซื้อขายประมาณ 16,309,778 บาท (อิงตาม SET index) เท่านั้นเราจะเห็นได้ว่าตลาดหุ้นของจีนทั้ง A-Share และ H-Share ได้รับความนิยมมากกว่าตลาดไทยอย่างมากนั่นเอง

รูปบน ของ desktop
รูปล่าง ของ mobile
FBS Trader เทรดได้อย่างปลอดภัย
FBS Trader เทรดได้อย่างปลอดภัย

Comment

Be the first one who leave the comment.

Leave a Reply