[UPDATE] "VAT" 7% ต่อเวลาไปอีก 1 ปี

[UPDATE] “VAT” 7% ต่อเวลาไปอีก 1 ปี

 

ฉบับย่อ

  • ยืดอายุภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% ไปอีก 1 ปี ถึงวันที่ 30 กันยายน 2562
  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) เป็นภาษีทางอ้อมที่เก็บจากสินค้าและบริการ โดยจะถูกเก็บในแต่ละขั้นตอนการผลิต
  • ผู้ประกอบการที่มีรายได้มากกว่า 1.8 ล้านบาท จะต้องจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน ยกเว้นบางประเภทธุรกิจ
  • การต่ออายุภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% เป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ และรัฐอาจปรับมาใช้ภาษีมูลค่าเพิ่ม 10% ดังเดิมเมื่อเศรษฐกิจร้อนแรง หรือที่เรียกว่า Restrictive Fiscal Policy

รูปบน ของ desktop
รูปล่าง ของ mobile

กรมสรรพากรต่อเวลาให้อีก 1 ปี สำหรับการใช้ภาษีมูลค่าเพิ่ม “VAT” ที่ 7% (ภาษีมูลค่าเพิ่ม 6.3% และ ภาษีท้องถิ่น 0.7%) จนถึงวันที่ 30 กันยายน 2562 ตามพระราชกฤษฎีกา ประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 669) พ.ศ. 2561 ที่ต้องต่ออายุเพราะว่ากฎหมายปัจจุบัน ภาษีมูลค่าเพิ่มนั้นเรียกเก็บที่ 10% แต่มีพระราชกฤษฎีกาลดภาษีลงให้เหลือ 7%

โดย 1 ใน 9 ของภาษีมูลค่าเพิ่มต้องจ่ายให้ท้องถิ่น (ภาษีมูลค่าเพิ่ม 6.3% และ ภาษีท้องถิ่น 0.7%) ซึ่ง VAT 7% นี้ถูกใช้มานานแล้ว ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 และมีการตราพระราชกฤษฎีกาลดภาษีมูลค่าเพิ่มมาเรื่อยๆทุกๆ 2 ปี ซึ่งหากไม่มีการยื่นลดก็จะถูกปรับเป็น 10% เหมือนเดิม

ภาษีมูลค่าเพิ่ม “VAT” คืออะไร ?

ภาษีมูลค่าเพิ่มหรือที่เรียกกันว่า แวต “VAT” นั้น เป็นภาษีทางอ้อมที่เก็บจากคนที่ซื้อสินค้าหรือบริการ โดยจะถูกเก็บแต่ละขั้นตอนการผลิตทั้งในและต่างประเทศ

ใครต้องจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่มบ้าง ?

คนที่ประกอบธุรกิจ ไม่ว่าจะรูปแบบ บุคคลธรรมดา คณะบุคคล หรือห้างหุ้นส่วนสามัญ ที่ไม่ใช่นิติบุคคล ถ้ามีรายได้เกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี ต้องยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน เมื่อเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน ก็จะต้องมีหน้าที่นำส่งรายละเอียดภาษีซื้อและภาษีขายให้กับทางกรมสรรพากรเพื่อใช้คำนวณภาษีที่เราต้องเสียว่าเราต้องเสียเท่าไหร่

ส่วนคนธรรมดาปกติที่ไม่ได้เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนก็จะมีภาษีมูลค่าเพิ่มถูกซ่อนอยู่ในทุกการใช้จ่ายของเรา ขึ้นอยู่ว่าผู้ประกอบการจะคิดราคาสินค้าหรือบริการนั้นรวม VAT แล้ว หรือคำนวณ VAT ทีหลัง เช่นหากพี่ทุยไปซื้อขนมที่เซเว่น 10 บาท ถ้าดูในใบเสร็จแล้วจะเห็นว่าจะมี VAT 7% คำนวณรวมใน 10 บาทนั้นแล้ว แต่ในอีกหนึ่งกรณีคือ เวลาพี่ทุยไปกินบุฟเฟ่ต์บางร้านจะมีระบุว่าราคานี้ไม่รวม VAT + Service Charge ในกรณีนี้ VAT ก็จะไปคิดทีหลังจากคำนวณค่าบริการทั้งหมดแล้วนั่นเอง

ธุรกิจที่ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม

จะมีบางประเภทธุรกิจที่ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้แก่

  1. ผู้ประกอบกิจการขายสินค้าพืชผลทางการเกษตร สัตว์ที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต ปุ๋ย ปลาป่น อาหารสัตว์ ยาหรือเคมีภัณฑ์ที่ใช้สำหรับพืชหรือสัตว์ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร ตำราเรียน
  2. ผู้ประกอบการที่มีรายรับไม่เกิน 8 ล้านบาทต่อปี
  3. การให้บริการขนส่งในราชอาณาจักรโดยท่าอากาศยาน
  4. การส่งออกของผู้ประกอบการในเขตอุตสาหกรรมส่งออกตามกฎหมายว่าด้วยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
  5. การให้บริการขนส่งน้ำมันเชื่อเพลิงทางท่อในราชอาณาจักร

ข้อมูลอ้างอิง กรมสรรพากร http://www.rd.go.th/publish/7059.0.html

ตัวอย่างการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม

ภาษีมูลค่าเพิ่ม เพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์การเก็บภาษีซ้ำซ้อน จึงแยกออกเป็น 2 แบบ คือ ภาษีขาย และ ภาษีซื้อ ถ้าเรามีภาษีขายมากกว่าภาษีซื้อ เราต้องจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นส่วนต่างนั้น แต่ถ้าเรามีภาษีซื้อมากกว่าภาษีขาย เราสามารถขอคืนภาษีจากส่วนต่างนั้นได้ โดยสูตรคือ

ภาษีมูลค่าเพิ่ม = ภาษีขาย – ภาษีซื้อ

เพื่อให้เห็นภาพกันชัดๆ พี่ทุยจะยกตัวอย่างให้ฟัง สมมุติว่าตอนนี้อัตราภาษีมูลค่าเพิ่มคือ 10% แล้วพี่ทุยเปิดร้านกาแฟ ถ้าซื้อเมล็ดกาแฟมา 100 บาท จะมีภาษีซื้อ 10 บาท พี่ทุยก็เอาเมล็ดกาแฟไปทำกาแฟขายที่ราคา 150 บาท จะมีภาษีขาย 15 บาท เท่ากับว่าพี่ทุยจะมี ภาษีซื้อ 10 บาท ภาษีขาย 15 บาท ดังนั้นภาษีมูลค่าเพิ่ม = 15-10 = 5 บาท พี่ทุยต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม 5 บาทนั่นเอง

การต่ออายุ ลดภาษีมูลค่าเพิ่มเหลือ 7% กระตุ้นเศรษฐกิจอย่างไร ?

เนื่องจากภาษีมูลค่าเพิ่มจะอยู่ในทุกๆการใช้จ่ายสินค้าและบริการ การที่ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% กลับมาเป็น 10% นั้นจะส่งผลให้ต้นทุนของสินค้าและบริการแทบทุกอย่างแพงขึ้น แค่พี่ทุยเดินเข้าเซเว่นไปซื้อขนมยังโดน VAT เลย ดังนั้นเมื่อทุกอย่างแพงขึ้น คนก็อยากซื้อสินค้าน้อยลง ผลิตน้อยลง เงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจก็จะน้อยลง ดังนั้นการที่ยังคงส่วนลดภาษีมูลค่าเพิ่มให้อยู่ที่ 7% นั้น จะทำให้เศรษฐกิจยังหมุนเวียนได้ตามเดิม

แล้วจะกลับมาใช้นโยบายเพิ่มภาษีเมื่อไหร่ ?

ถ้ามองในมุมเศรษฐศาสตร์ ภาษี นั้นเป็นเครื่องมือการคลังชนิดหนึ่ง ที่รัฐใช้เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับรัฐเอง หรือ ชะลอเศรษฐกิจลงไม่ให้เติบโตเร็ว หรือ ร้อนแรงเกินไป เรียกว่า (Restrictive Fiscal Policy) หรือ นโยบายการคลังแบบหดตัว เพราะถึงแม้การเติบโตของเศรษฐกิจนั้นจะเป็นเรื่องดี แต่ถ้าเศรษฐกิจเติบโตเร็วหรือร้อนแรงเกินไปก็อาจจะส่งผลทำให้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจ หรือ เกิดปัญหาเงินเฟ้อ (เงินมูลค่าลดลง) ขึ้นได้ คล้ายๆในหลายประเทศในอดีตและปัญหาที่เกิดขึ้นที่ซิมบับเว [อ่านเพิ่มเติม : บทความวิกฤตเงินเฟ้อรุนแรงหลังปี 2000 เริ่มต้นที่ซิมบับเวในปัจจุบัน ที่เงินด้อยค่าลงมากหรือแทบไม่มีค่าเลย หรืออีกชื่อหนึ่งคือ Hyper Inflation นั่นเอง

รูปบน ของ desktop
รูปล่าง ของ mobile
FBS Trader เทรดได้อย่างปลอดภัย
FBS Trader เทรดได้อย่างปลอดภัย