UNIT LINKED ประกันชีวิตแบบ 2 in 1

UNIT LINKED ประกันชีวิตแบบ 2 in 1

 

รูปบน ของ desktop
รูปล่าง ของ mobile

คำถามที่พี่ทุยได้รับบ่อยที่สุดก็คือ มีเงินอยู่ xx,xxx บาท เราเอาไปทำอะไรดี ? หรือประมาณว่ามีเงินอยู่เท่านี้ควรเอาไปซื้อสินค้าการเงินหรือวางเงินไว้ที่ไหนดี ? จริงๆแล้วพี่ทุยว่าก็น่าตีคนที่ถามเหมือนกัน แสดงไม่ใช่แฟนพันธ์แท้ Money Buffalo แน่ๆเลย เพราะพี่ทุยแนะนำมาโดยตลอด แต่ไม่เป็นไรพี่ทุยแนะนำอีกได้ ! เพื่อให้ทุกคนได้มีสุขภาพการเงินที่ดีขึ้น ฮี่ฮี่ <3

ถ้าถามพี่ทุยว่าเราจะเริ่มต้นวางแผนการเงินควรเริ่มต้นที่อะไรก่อนดี ? พี่ทุยก็คงย้อนกลับไปเรื่องที่พื้นฐานที่สุดที่พี่ทุยย้ำอยู่เสมอเป็นรอบที่สามล้านแปด ก็คือ “ปิรามิดทางการเงิน” ที่จะเป็นตัวบอกเราว่าเราควรทำอะไรก่อนหลัง ?

UNIT LINKED ประกันชีวิตแบบ 2 in 1

เราจะเริ่มจากฐานล่างขึ้นมาข้างบนเสมอ ทีนี้เรามาดูจากฐานล่างกันว่า “ความจำเป็นพื้นฐาน” และ “การบริหารความเสี่ยง” เราต้องทำอะไรบ้าง ?

เรามาเริ่มที่ความจำเป็นพื้นฐาน (Basic Needs) กันก่อนเลย ถือได้ว่าเป็นเงินก้อนแรกที่เราต้องมีเลยก็ว่าได้ เราจำเป็นต้องมีอย่างน้อย 3-6 เท่าของค่าใช้จ่ายรายเดือนเป็นอย่างน้อย ถ้าพี่ทุยถามต่อว่าเงินก้อนนี้เอาไว้เพื่อจุดประสงค์อะไรทำไมต้องมีด้วย ?

คำตอบที่น่าจะตอบกันส่วนใหญ่ก็คือ ค่ารักษาพยาบาลเวลาป่วยหรือเกิดอุบัติเหตุกันแน่นอน แต่พี่ทุยจะบอกเลยว่า เงินก้อนนี้ไม่ได้เผื่อสำหรับการเจ็บป่วยใดๆเลย แต่เอาไปใช้ป้องกันความเสี่ยงถ้า “รายได้เราหยุดชะงัก” ไปต่างหาก เพราะถ้ารายได้เราหายไป อย่างน้อยเราก็จะมีเงินใช้ได้สบายๆ 3-6 เดือน พี่ทุยว่าก็เพียงพอที่จะทำให้เราปรับตัวทันนะ แหล่งลงทุนก็เป็นพวกบัญชีเงินฝากเนี้ยแหละถอนคล่องๆมือ เพราะเราไม่รู้ว่าจะตกงานหรือรายได้หยุดลงเมื่อไหร่ แต่ถ้าโชคร้ายขึ้นมาต้องพร้อมใช้ทันที !

ส่วนเรื่องการป่วยเจ็บ อุบัติเหตุหรือเสียชีวิตต่างๆพวกนี้มาอยู่ในส่วนของ “การบริหารความเสี่ยง” ตรงนี้เราก็จะโอนย้ายความเสี่ยงไปให้บริษัทประกันแทน สินค้าการเงินที่ตอบโจทย์ก็คือพวก ประกันชีวิต ประกันสุขภาพ ประกันอุบัติเหตุพวกนี้แหละ เพราะถ้าเราเอาเงินไปลงทุนโดยไม่มีการจัดการฐานล่างสุดของปีรามิด พี่ทุยว่าเราน่าลงทุนไม่เป็นสุขแน่ๆ เพราะถ้าเกิดเราตกงานหรือป่วยขึ้นมา แล้วเราไม่มีสำรองหรือการบริหารความเสี่ยงไว้เลย สุดท้ายเราก็ต้องไปถอดการลงทุนออกมาอีก แล้วก็อย่างที่เรารู้ว่าการลงทุนเราคุยกันระยะเวลา 5 ปี 10 ปี บางทียังไม่ถึงจังหวะที่เราจะถอดได้ อย่าง LTF RMF ก็จะเสียค่าปรับไปอีก

แล้วถ้าโชคดีเงินที่เรามีเก็บไว้พอใช้ ก็แค่เริ่มเก็บกันใหม่แต่ถ้าไม่พอเกิดป่วยหนัก พี่ทุยว่านอกจากที่ต้องขายการลงทุนออกมาด้วยแล้ว เผลอๆยังต้องเป็นหนี้สินไปอีก หรือถ้าเรายังมีเงินเก็บไม่มากแถมเราเป็นหัวหน้าครอบครัวด้วย สมมติว่าเราเกิดเป็นอะไรไปขึ้นมา.. แน่ใจได้ยังไงว่าเงินที่เราเก็บจะเพียงพอต่อคนข้างหลังในยามที่เราอยู่ พี่ทุยว่าไปจัดการเรื่องฐานล่างพวกนี้ให้เรียบร้อยก่อนค่อยมาว่ากันเรื่องลงทุนเนอะ

แล้วจากประสบการณ์ที่พี่ทุยเจอมา ถึงตรงนี้หลายคนก็รู้สึกว่าการทิ้งเงินไว้ในเงินฝากหรือซื้อพวกประกันชีวิตต่างๆ ไม่ค่อยทำให้เงินเติบโตเท่าไหร่ จริงๆพี่ทุยพอเข้าใจนะเพราะอย่างการซื้อประกันชีวิตถ้าเราดูที่ผลตอบแทนที่เราจะได้รับมันไม่น่าดึงดูดให้ซื้อสักเท่าไหร่ ปัญหาพวกนี้ก็มีทางออกนะ เพราะมันมีประกันชีวิตควบการลงทุน (Unit linked) อยู่เหมือนกัน

ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่าเวลาที่เราจ่ายเบี้ยประกันชีวิตไป เบี้ยประกันเราจะถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลักๆ ส่วนแรกก็คือเป็นเรื่องของ “ค่าใช้จ่ายในการประกันชีวิต” ถ้าเราต้องการทุนประกันที่สูงค่าใช้จ่ายส่วนนี้ก็ยิ่งเพิ่มขึ้น

ส่วนที่สอง คือ นำเงินส่วนที่เหลือเราไปลงทุนตามพอร์ตของบริษัทประกันชีวิต แต่โดยทั่วไปแล้วพอร์ตลงทุนของบริษัทประกันชีวิตจะไม่ลงทุนเสี่ยงสูงมากนักเพราะธุรกิจประกันชีวิตเป็นธุรกิจที่ต้องการความมั่นคงสูงกว่าปกติ ผลก็เลยทำให้ผลตอบแทนจากกรมธรรม์ประกันชีวิตจะไม่ได้สูงมากเพราะลงทุนได้แค่ตราสารหนี้เป็นหลัก

ถ้าอยากดูว่าผลตอบแทนจากประกันชีวิตควบการลงทุน (Unit linked) ดีกว่ายังไง พี่ทุยจะลองเอาตารางคำนวณของ iWealthy ประกันชีวิตควบการลงทุน (Unit linked) จาก กรุงไทยแอกซ่า มาให้ดูละกันนะ

UNIT LINKED ประกันชีวิตแบบ 2 in 1

จากตัวอย่างจะเห็นว่าถ้าเราจ่ายเบี้ยปีละ 60,000 บาทไปเรื่อยๆจะได้ทุนประกัน 1,440,000 บาทตลอด แล้วถ้าจ่ายเบี้ยไปเรื่อยๆ 20 ปีรวมเป็นเงิน 1,200,000 บาท (60,000 บาท x 20 ปี) จะเห็นได้ว่าถ้ามูลค่าของกรมธรรม์จะเท่ากับ 2,007,390 บาท ซึ่งถ้าลองไปเปรียบกับประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ทั่วไปพี่ทุยว่าแตกต่างกันอยู่พอสมควรเลย จากตัวอย่างเป็นการสมมติผลตอบแทนจากพอร์ตการลงทุนเท่ากับ 6% นั้นแปลว่าถ้าการลงทุนของเราได้ผลตอบแทนที่ดีกว่า 6% มูลค่ากรมธรรม์ก็จะขยับปรับสูงขึ้นไปอีกด้วย

แล้วอีกอย่างที่พี่ทุยบอกว่าประกันชีวิตควบการลงทุน (Unit linked) เป็นสิ่งที่ดีอยู่เหมือนกันก็คือเรื่องของความยืดหยุ่น ที่เราสามารถเลือกได้ว่าจะหยุดจ่ายเบี้ยเองเมื่อไหร่หรือว่าอยากจะเพิ่ม / ลดเงินลงทุนหรือจะเพิ่ม / ลดทุนประกันเพื่อให้เหลือเงินไปลงทุนเยอะขึ้นก็สามารถทำได้ พี่ทุยว่าลองศึกษาดีดีก็เป็นสินค้าการเงินตัวนึงที่น่าสนใจเหมือนกัน

สินค้าการเงินทุกอย่างมีทั้งข้อดีและข้อเสีย เราต้องลองศึกษาสินค้าการเงินหลายๆตัว แล้วพี่ทุยว่าตัวเราเองเนี้ยแหละที่จะได้ประโยชน์สูงสุด เพราะวิชาการเงินเป็นวิชาที่เราต้องใช้ไปจนแก่เลยล่ะ

ลองเข้าไปอ่านรายละเอียดเกี่ยวกับ Krungthai AXA iWealthy ได้ คลิก ที่นี่ หรือลองอ่านการ์ตูนสนุกๆ เข้าใจง่ายๆ ต่อได้เลยที่นี่

UNIT LINKED ประกันชีวิตแบบ 2 in 1

UNIT LINKED ประกันชีวิตแบบ 2 in 1

UNIT LINKED ประกันชีวิตแบบ 2 in 1

UNIT LINKED ประกันชีวิตแบบ 2 in 1

UNIT LINKED ประกันชีวิตแบบ 2 in 1

UNIT LINKED ประกันชีวิตแบบ 2 in 1

UNIT LINKED ประกันชีวิตแบบ 2 in 1

UNIT LINKED ประกันชีวิตแบบ 2 in 1

UNIT LINKED ประกันชีวิตแบบ 2 in 1

UNIT LINKED ประกันชีวิตแบบ 2 in 1

UNIT LINKED ประกันชีวิตแบบ 2 in 1

UNIT LINKED ประกันชีวิตแบบ 2 in 1

UNIT LINKED ประกันชีวิตแบบ 2 in 1

UNIT LINKED ประกันชีวิตแบบ 2 in 1

UNIT LINKED ประกันชีวิตแบบ 2 in 1

รูปบน ของ desktop
รูปล่าง ของ mobile
FBS Trader เทรดได้อย่างปลอดภัย
FBS Trader เทรดได้อย่างปลอดภัย
บทความนี้เป็นบทความ Advertorial