จุดสิ้นสุดของการจำกัดการขายทองคำ “Washington Agreement”

จุดสิ้นสุดของการจำกัดการขายทองคำ “Washington Agreement”

3 min read  

ฉบับย่อ

  • ธนาคารกลางรัสเซียประกาศหยุดซื้อทองคำเข้ามาเป็นทุนสำรอง เมื่อ 31 มีนาคม 2020 หลังจากเข้าซื้อมาต่อเนื่องตลอด 5 ปีที่ผ่านมา จนขึ้นมาเป็นอันดับ 6 ของธนาคารกลางทั่วโลก ด้วยจำนวน 2,279.2 ตัน
  • Washington Agreement ในปี 1999 ซึ่งเป็นการจำกัดการขายของธนาคารกลางแต่ละแห่งในแต่ละปี ว่าจะต้องไม่เกิน 400 ตันต่อปี ขณะเดียวกันก็ได้จำกัดเพดานของการซื้อเพิ่มเข้ามาเช่นกัน ว่าจะต้องไม่เกิน 2,000 ตัน สำหรับช่วง 5 ปีล่าสุด ปัจจุบัน Agreement ดังกล่าวได้สิ้นสุดลงไปเมื่อเดือนกันยายน ในปี 2019
  • ตั้งแต่ปี 1971 ผลตอบแทนโดยเฉลี่ยต่อปีของทองคำยังสูงถึง 10% ทำให้เรายังคงเห็นธนาคารกลางและสถาบันการเงินระหว่างประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ถือครองทองคำเป็นทุนสำรองรวมกันอยู่กว่า 34,000 ตัน

รูปบน ของ desktop
รูปล่าง ของ mobile

หลังจากราคาน้ำมันดิบดิ่งลงจาก 60 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาร์เรล มาเหลือเพียง 20 – 30 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ประเทศผู้ค้าน้ำมันยักษ์ใหญ่อย่างรัสเซีย ย่อมได้รับผลกระทบไม่มากก็น้อย และล่าสุดก็มีรายงานออกมาด้วยว่า รัสเซียซึ่งเป็นหนึ่งในประเทศที่ตุน ‘ทองคำ’ ไว้อย่างต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา ดูเหมือนจะหยุดซื้อชั่วคราว

ปัจจุบันธนาคารกลางรัสเซียเป็นผู้ถือครองทองคำใหญ่สุดอันดับ 6 ในบรรดาธนาคารกลางทั่วโลก จนทองคำสำรองเพิ่มขึ้นเป็น 2,279.2 ตัน ขยับเข้าใกล้ประเทศฝรั่งเศส (2,436 ตัน) และอิตาลี (2,451.8 ตัน) แต่ก็ยังคงห่างไกลจากสหรัฐอเมริกาซึ่งถือครองอยู่ 8,133.5 ตัน และในทางกลับกัน การถือทองคำเพิ่มขึ้นของรัสเซีย ก็เป็นการลดสัดส่วนการถือครองเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ไปโดยปริยาย ว่ากันว่ารัสเซียใช้เงินซื้อทองคำไปถึง 4 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ตลอด 5 ปีที่ผ่านมา

การเข้ามามีบทบาทอย่างมากต่อทองคำโดยธนาคารแต่ละประเทศ นับแต่ปี 1990 ทำให้นโยบายของธนาคารกลางเหล่านี้ ที่มีต่อทองคำในแต่ละช่วงเวลา เป็นปัจจัยสำคัญต่อทิศทางราคาทองคำ ตัวอย่างกรณีของธนาคารอังกฤษ ในช่วงต้นทศวรรษที่ 90 ซึ่งตัดสินใจขายทองคำที่ถือครองอยู่ออกมา ทำให้ราคาทองคำในตอนนั้นร่วงจาก 400 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อออนซ์ ไปเหลือเพียง 250 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อออนซ์ เพื่อป้องกันปัญหาดังกล่าว แต่ละประเทศจึงได้เจรจาเพื่อทำข้อตกลงที่เรียกว่า “Washington Agreement” ในปี 1999 ซึ่งเป็นการจำกัดการขายทองของธนาคารกลางแต่ละแห่งในแต่ละปี ว่าจะต้องไม่เกิน 400 ตันต่อปี ขณะเดียวกันก็ได้จำกัดเพดานของการซื้อเพิ่มเข้ามาเช่นกัน ว่าจะต้องไม่เกิน 2,000 ตัน สำหรับช่วง 5 ปีล่าสุด

ช่วงเวลา 20 ปี ของ “Washington Agreement” ดำเนินมาถึงจุดสิ้นสุดเมื่อเดือนกันยายน ในปี 2019 หรือเมื่อปลายปีที่แล้ว ไม่นานก่อนที่รัสเซียจะตัดสินใจหยุดซื้อทองคำเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา โดยปัจจุบันรัสเซียมีทุนสำรองระหว่างประเทศเป็นทองคำถึง 1.2 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ประเด็นที่เกิดขึ้นนี้ทำให้เกิดคำถามขึ้นมาว่า แล้วมันเกี่ยวข้องกันหรือไม่อย่างไร?

จากที่พี่ทุยได้ลองหาข้อมูลแล้ว ข้อสังเกตเกี่ยวกับประเด็นนี้ก็มีอยู่หลากหลายมุม ประการหนึ่งคือมองว่า ราคาน้ำมันที่ดิ่งลงมาเท่าตัว ทำให้รายได้ของรัสเซียหดหายลงไปมาก และรัสเซียเองก็จำเป็นจะต้องสำรองเงินสดไว้เผื่อกรณีฉุกเฉิน หากสถานการณ์เศรษฐกิจโลกย่ำแย่ลงไปอีกจากโรคระบาดที่เกิดขึ้น ถัดมาคือ ราคาทองคำที่พุ่งทำจุดสูงสุดในรอบ 7 ปี ฟื้นกลับมาอยู่ที่ 1,600 – 1,700 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อออนซ์ นอกจากรัสเซียจะต้องใช้เงินทุนสูงขึ้น เทียบกับช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ซึ่งราคาทองคำวิ่งอยู่ในช่วงประมาณ 1,100 – 1,400 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อออนซ์ เท่านั้น

และในส่วนของข้อสังเกตที่สำคัญอีกประการคือ การสิ้นสุดลงของ “Washington Agreement” ได้เปิดโอกาสให้ธนาคารกลางของแต่ละประเทศ ซึ่งก็รวมถึงรัสเซียสามารถที่จะขายทองคำออกมาได้เกิน 400 ตันต่อปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาวะที่สินทรัพย์การลงทุนแต่ละประเภทต่างมีความผันผวนมากยิ่งขึ้น ไม่เว้นแม้แต่ทองคำ อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่ปี 1971 ผลตอบแทนโดยเฉลี่ยต่อปีของทองคำยังสูงถึง 10% ทำให้เรายังคงเห็นธนาคารกลางและสถาบันการเงินระหว่างประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ถือครองทองคำเป็นทุนสำรองรวมกันอยู่กว่า 34,000 ตัน

รูปบน ของ desktop
รูปล่าง ของ mobile
FBS Trader เทรดได้อย่างปลอดภัย
FBS Trader เทรดได้อย่างปลอดภัย

Comment

Be the first one who leave the comment.

Leave a Reply