ศึกษาแนวคิดของ "Audrey Tang" รัฐมนตรีที่อายุน้อยที่สุดในไต้หวัน

ศึกษาแนวคิดของ “Audrey Tang” รัฐมนตรีที่อายุน้อยที่สุดในไต้หวัน

3 min read  

ฉบับย่อ

  • “Audrey Tang” รัฐมนตรีข้ามเพศคนแรกที่มีอายุน้อยที่สุดของไต้หวัน มีความสนใจและมีความสามารถด้านคอมพิวเตอร์ตั้งแต่เด็ก เคยร่วมงานกับบริษัท IT ใหญ่ ๆ รวมถึงบริษัท Apple
  • “Audrey Tang” มีแนวคิดทางการเมืองแบบ Individualist Anarchism และคิดว่าเทคโนโลยีสามารถช่วยแก้ไขปัญหาทางการเมืองได้ และยังสนับสนุนการเรียนรู้ด้วยตัวเอง (Autodidactism)
  • “Audrey Tang” สนับสนุนการใช้เทคโนโลยีในการแก้ปัญหาในช่วงโควิด-19 ก่อนที่ชื่อของเธอจะดังไปทั่วโลกจากการแก้ปัญหาในครั้งนี้

รูปบน ของ desktop
รูปล่าง ของ mobile

วันนี้พี่ทุยชื่นชอบบุคคลคนหนึ่ง เลยอยากจะพาเพื่อน ๆ มารู้จักเขาด้วยเช่นกัน คนคนนั้นก็คือ “Audrey Tang” รัฐมนตรีที่อายุน้อยที่สุดในไต้หวันนั่นเอง

ประวัติ Audrey Tang

เขาเริ่มสนใจคอมพิวเตอร์ตั้งแต่เด็ก  และเริ่มเรียนการเขียนโปรแกรมภาษา Pearl ตั้งแต่วัย 12 ปี เมื่อตอนอายุ 19 ได้มีตำแหน่งในบริษัท Software และเข้าไปทำงานใน Silicon Valley แหล่งรวมบริษัทเทคโนโลยีระดับโลก 

ในปี 2005 เขาได้ตัดสินใจแปลงเพศจากชายเป็นหญิง และเปลี่ยนชื่อตัวเองจาก Zonghan หรือ Autrijus ชื่อเรียกในภาษาอังกฤษเป็น Feng Tang หรือ Audrey Tang สำหรับการเรียกแบบภาษาอังกฤษ เพื่อให้สอดคล้องกับเพศที่เปลี่ยนไป

ในปี 2014 เขาได้เป็นผู้แนะนำด้านดิจิทัลให้กับบริษัท Apple โดยได้เข้าไปเกี่ยวข้องกับการดูแลในโปรเจกต์ระบบ AI ขั้นสูง และยังเป็นผู้พัฒนาระบบ Virtual Personal Assistant และ Siri ที่เราคุ้นเคยในทุกวันนี้กันอีกด้วย ในช่วงที่ได้รับการจ้างจากทาง Apple นั้น เขาได้รับค่าจ้างเป็น 1 Bitcoin ต่อชั่วโมง ซึ่งหากเทียบเป็นมูลค่าปัจจุบันแล้วนั้นสูงถึง 64,000 หยวนต่อชั่วโมง หรือ เกือบ 300,000 บาท ต่อชั่วโมงเลยทีเดียว เขาตัดสินใจเกษียณอายุด้วยวัยเพียง 33 ปี ก่อนจะเข้าไปรับตำแหน่งรัฐมนตรีดิจิทัลของไต้หวันด้วยอายุเพียง 35 ปี ถือว่าเป็นรัฐมนตรีข้ามเพศคนแรกและมีอายุน้อยที่สุดเลยทีเดียว

มุมมองทางการเมืองที่ผลักดันโดยดิจิทัล

เขามีอุดมการณ์ทางการเมือง โดยมีแนวคิดแบบอนาธิปไตย หรือ การปกครองโดยไร้อำนาจจากรัฐบาล แต่เป็นการปกครองที่ทุกคนมีส่วนร่วมในการบริหารบ้านเมือง Individualist Anarchism มุมมองอนาธิปไตย มักถูกเข้าใจผิดว่าจะทำร้ายโครงสร้างทางสังคม มองการมีรัฐบาลการมีระดับชั้นของอำนาจจะสร้างผลเสียให้กับประเทศ แต่เขาประกาศว่าเป็นอนาธิปไตยแบบอนุรักษ์นิยม ไม่ได้ต้องการถอนรากถอนโคนจากรัฐบาล

แต่การบริหารปกครองที่ดีควรมาจากการมีส่วนร่วมของทุกคน โดยมีธรรมภิบาลเป็นหัวใจหลัก และอินเทอร์เน็ตสามารถตอบโจทย์นี้ได้มากขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้เสียงของทุกคนใหญ่ขึ้น เกิดจากความสมัครใจไม่ใช่การบีบบังคับ ในส่วนการบริหารงานจากรัฐบาลก็สามารถใช้เทคโนโลยีเหล่านี้

Gov Community เป็นหนึ่งในกลุ่มคนเทคโนโลยีเพื่อประชาชนในการตรวจสอบความโปร่งใสของรัฐบาล และเกิดความโปร่งใสมากขึ้น ซึ่งเขาก็เป็นหนึ่งในผู้สนับสนุนชุมชนเหล่านี้ โดยเป้าหมายของชุมชนนี้คือการผลักดันการใช้เทคโนโลยีในการแก้ปัญหาทางการเมือง

สนับสนุนการเรียนรู้ด้วยตัวเอง Autodidacticism (Self-Education)

เขามีความก้าวหน้าตั้งแต่ยังเด็ก ได้กวาดรางวัลมากมายตั้งแต่ยังเรียนอยู่ จนกระทั่งเธอดรอปการเรียนเพราะไม่สามารถปรับตัวเข้ากับชีวิตการเรียนได้ และมีแนวคิดที่ว่าสิ่งที่กำลังเรียนอยู่นั้นเป็นความรู้ที่ช้าเกินไป ในยุคนั้นการเรียนรู้ผ่านอินเทอร์เน็ตก็เริ่มมีอย่างแพร่หลายแล้ว สิ่งที่เขาสนใจและอยากเรียนรู้ก็สามารถหาทุกอย่างได้ผ่านอินเทอร์เน็ต และไม่นานหลังจากออกจากโรงเรียนและเริ่มหาความรู้ด้วยตัวเอง เขาก็ได้เริ่มทำงานในบริษัท IT ด้วยวัยเพียง 16 ปี เป็นข้อพิสูจน์แนวคิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้สามารถเกิดขึ้นได้มากกว่าการเรียนหนังสือจากโรงเรียนเพียงอย่างเดียว

ความสำคัญของการนอน

อีกหนึ่งสิ่งที่เขาให้ความสำคัญคือการนอน การนอนและการพักผ่อนเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ในการทำงานทุก ๆ 25 นาที เขาจะแบ่งเวลามา 5 นาที เพื่อพักเบรกทุกครั้ง และไม่ว่าการทำงานจะยุ่งขนาดไหน การนอนอย่างเพียงพอ 8 ชั่วโมง ก็เป็นสิ่งที่เธอให้ความสำคัญมากที่สุด เพราะการนอนที่พอเพียงเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ทุกเช้า ความคิดความอ่านเราจะสดใส และพร้อมที่จะลุยงานในวันใหม่ได้อย่างเต็มที่ และการนอนที่เพียงพอยังทำให้เรามีแรงบันดาลใจในทุก ๆ วันอีกด้วย

เทคโนโลยีกับการแก้ปัญหาโควิด-19

ในช่วงเริ่มต้นของโควิด-19  เขาเป็นผู้ลุกขึ้นมาผลักดันการนำเทคโนโลยีในการแก้ปัญหา โควิด-19 กลุ่มแรก ๆ โดยสิ่งที่นำมาใช้คือการสร้าง Platform แสดงข้อมูลสาธารณะ เป็นข้อมูลจำนวนผู้ติดเชื้อในแต่ละพื้นที่ เพื่อเจาะลึกพื้นที่จุดเสี่ยง อีกปัญหาที่ตามมากับ โควิด-19 ในช่วงนั้นคือ ปัญหาของหน้ากากอนามัยที่ขาดแคลนและหาแหล่งซื้อยาก ใน Platform นี้ ก็สามารถระบุสถานที่และจำนวนของหน้ากากอนามัยใน Stock เพื่อให้ประชาชนสามารถตรวจสอบและสามารถเข้าถึงหน้ากากอนามัยได้อย่างถูกต้อง ลดปัญหาการไปร้านค้าแล้วไม่พบหน้ากากอนามัย ซึ่งจะเป็นการเพิ่มโอกาสทำให้ประชาชนส่วนใหญ่ต้องเดินทางในการตามหาหน้ากากมากขึ้น และตามมาด้วยปัญหาต่าง ๆ อย่างการติดเชื้อหรือแพร่เชื้อในภายหลังได้

จากข่าวนี้เป็นการโชว์ความสามารถของเทคโนโลยีและความสำคัญของ Data ในปัจจุบัน ที่ส่งผลต่อสังคมและรวมถึงธุรกิจในอนาคตอีกด้วย และจากเหตุการณ์นี้ก็ทำให้ชื่อของ Audrey Tang ถูกพูดถึงไปทั่วโลก ซึ่งจะกล่าวว่าเขาคือผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของไต้หวัน ที่สามารถรับมือกับโควิด-19 ได้ดีเป็นอันต้น ๆ ของโลกก็ไม่ผิด

รูปบน ของ desktop
รูปล่าง ของ mobile
FBS Trader เทรดได้อย่างปลอดภัย
FBS Trader เทรดได้อย่างปลอดภัย

Comment

Be the first one who leave the comment.

Leave a Reply