ถ้าประเทศไทยถูก "บอยคอตต์" รายได้จากการท่องเที่ยวจะลดไปเท่าไหร่ ?

ถ้าประเทศไทยถูก “บอยคอตต์” รายได้จากการท่องเที่ยวจะลดไปเท่าไหร่ ?

 

ฉบับย่อ

  • นาย Hakeem นักฟุตบอลบาร์เรนถูกไทยจับระหว่างมาฮันนีมูนที่ไทย หลังหนีคดีจากบาร์เรนมาลี้ภัยที่ออสเตรเลีย
  • นาย Hakeem ถูกกล่าวหาอย่างไม่เป็นธรรม แม้ตนจะมีหลักฐานที่อยู่ชัดเจน ไปอยู่ ออสเตรเลีย และได้รับสถานะผู้ลี้ภัยจากออสเตรเลีย
  • การจับกุมของไทยส่งผลให้แวดวงฟุตบอลและชาวเน็ตหลายๆประเทศไม่พอใจ เพราะถือเป็นการขัดหลักสิทธิมนุษยชน จนเกิดแฮชแท้ก #BoycottThailand ขึ้นมา
  • การท่องเที่ยวเป็นหนึ่งในธุรกิจหลักของประเทศไทย ปัญหาในครั้งนี้อาจจะส่งผลกระทบ ต่อนักท่องเที่ยว รายได้ ภาพลักษณ์ และ เศรษฐกิจของไทย
  • ตัวอย่างการตอบสนองของรัฐบาลไทยในอดีตต่อเหตุเรือล่มที่ภูเก็ต ส่งผลให้นักท่องเที่ยวจีนยกเลิกการท่องเที่ยวไทยเป็นจำนวนมาก สูญเสียรายได้ไปกว่า 37,000 ล้านบาท

รูปบน ของ desktop
รูปล่าง ของ mobile

ใครคือนาย Hakeem และทำไมถึงถูกจับ ?

เป็นกระแสมาแรงกับ แฮชแท็ก ในทวีตเตอร์กับคำว่า #SaveHakeem หรือ Hakeem al-Araibi นักเตะฟุตบอลชาวบาห์เรน ผู้ลี้ภัยไปอยู่ออสเตรเลียก่อน แวะมาเที่ยวฮันนีมูลกับภรรยาที่ประเทศไทย และถูกจับกุมตัวเพราะนาย Hakeem ถูกดำเนินคดีในบาห์เรนกรณีที่ประชาชนขับไล่รัฐบาลและทำลายสถานที่ราชการ แต่ Hakeem ให้การปฏิเสทว่าตัวเองไม่ได้อยู่ในเหตุการณ์และในช่วงเวลาดังกล่าวตนมีนัดแข่งฟุตบอลที่มีการถ่ายทอดสดเป็นหลักฐานอยู่

ด้วยเหตุนี้เค้าจึงลี้ภัยมาต่างประเทศก่อนจะบินมาฮันนีมูนที่ไทย เพราะคิดว่าไทยเป็นประเทศไทยปลอดภัย แต่ก็ถูกจับระหว่างเดินทางเข้ามาในไทย หลังเป็นข่าวตำรวจสากลก็ถอนหมายจับแดงกับ Hakeem เพราะเป็นขัดต่อหลักสิทธิมนุษยชนและองค์กรจะไม่ออกหมายจับสำหรับผู้ที่ลี้ภัยทางการเมือง แต่เนื่องจากเข้าขบวนการฝั่งไทยแล้วจึงต้องดำเนินการไปตามขั้นตอน

การตอบสนองของไทยเป็นอย่างไร ?

ในด้านของไทยยังคงควบคุมตัวนาย Hakeem ถึงแม้ยังไม่ได้พิจารณาเรื่องการควบคุมตัว แต่ก็ไม่อนุญาตให้ประกันตัวและนัดนาย Hakeem อีกครั้งในวันที่ 22 เม.ย. 2562 นั่นหมายความนาย Hakeem ตะถูกคุมขังที่เรือนจำพิเศษในกรุงเทพฯ เป็นเวลาอีกเกือบ 3 เดือนเลยทีเดียว

ทำให้หลายๆฝ่ายไม่ว่าจะเป็นอดีตนักฟุตบอลทีมชาติออสเตรเลีย ตัวแทน FIFA สโมสรฟุตบอลมืออาชีพ ในหลายๆแห่งเข้ามาช่วยเหลือ และมีแคมเปญแฮชแท็ก #SaveHakeem ขึ้นมา และถึงแม้หลายๆฝ่ายรวมถึงนายกรัฐมนตรี ออสเตรเลีย จะส่งจดหมายหรือยื่นเรื่องต่อทางการไทยก็ยังไม่มีคำตอบที่แน่ชัดต่อการช่วยเหลือของทางการไทยต่อนาย Hakeem จนทำให้เกิดอีกแฮชแท็กนึงขึ้นมาเป็นกระแสการ “บอยคอตต์” ดังในโซเชี่ยลคือ #BoycottThailand หรือท่าทีการคว่ำบาตรประเทศไทย เพราะการตอบสนองของประเทศไทยต่อเหตุการณ์นี้ ทำให้หลายๆคนมองว่าขัดต่อหลักสิทธิมนุษยชน ซึ่งเหตุการณ์นี้อาจกระทบต่อภาพลักษณ์ของประเทศ และ การท่องเที่ยวในประเทศไทย

นักท่องเที่ยวต่างชาติสร้างรายได้ให้ไทยเท่าไหร่ ?

อย่างที่หลายๆคนรู้ รายได้จากการท่องเที่ยวของชาวต่างชาตินั้นมีผลต่อเศรษฐกิจไทยไม่น้อยเลยทีเดียว โดย ข้อมูลเบื้องต้นจากกระทรวงการท่องเที่ยว ณ วันที่ 16 มกราคม 2562 เปิดเผยว่า รายได้รวมจากนักท่องเที่ยวต่างชาตินั้นสูงถึง 1,831,105 ล้านบาท ในปี 2560 และ 2,007,503.89 ล้านบาท ในปี 2561 เติบโต 9.63% จากปี 2560

โดยนักท่องเที่ยวต่างชาติที่สร้างรายได้ให้ไทยมากที่สุดได้แก่ โซนเอเชียตะวันออก โดยที่จีนเป็นประเทศที่สร้างรายได้ให้ไทยสูงที่สุด สูงถึง 580,699.23 ล้านบาท ในปี 2561 ซึ่งเป็นสัดส่วน 1 ใน 4 ของรายได้ทั้งหมดเลยทีเดียว และถึงแม้ในช่วงกลางปีจะมีนักท่องเที่ยวลดลงไปจำนวนมากแต่ภาพรวมทั้งปีก็ยังมีการเติบโตทั้งจำนวนและรายได้ที่สูง ตามด้วยโซนยุโรป โดยที่รัสเซียเป็นประเทศที่สร้างรายได้ให้มากที่สุดจากโซนนี้ 115,7111.01 ล้านบาท ในปี 2561

ส่วนประเทศที่เกี่ยวข้องกับข่าวนี้ ได้แก่ประเทศแถบโอเชียเนียและตะวันออกกลางนั้น สร้างรายได้ในปี 2561 73,253.71 ล้านบาท และ 63,378.45 ล้านบาท ตามลำดับ

สถิตินักท่องเที่ยวต่างชาติ

ถ้าประเทศไทยถูก "บอยคอตต์" รายได้จากการท่องเที่ยวจะลดไปเท่าไหร่ ?

ถ้าทางการไทยตอบสนองไม่ดี จะกระทบการท่องเที่ยวเท่าไหร่ ?

หากรัฐบาลตอบสนองเหตุการณ์นี้ไม่ดี โดยไม่ได้คำนึงหลักสิทธิมนุษยชนอาจกระทบถึงความสัมพันธ์และภาพลักษณ์ของประเทศและภาคการท่องเที่ยวและอื่นๆอีกด้วย เพราะ Hakeem ได้รับสถานะผู้ลี้ภัยจาก ออสเตรเลีย และต้องรอคุมขังอีกเกือบ 3 เดือน โดยประเทศหลักที่น่าจะได้รับผลกระทบเลย คือ ออสเตรเลีย สร้างรายได้ให้ไทยประมาณ 65,000 ล้านบาทต่อปี แต่ด้วยสถานะของนาย Hakeem ที่เป็นนักเตะระดับประเทศ จึงมีผลต่อวงการฟุตบอลและกระแสโซเชียล ทำให้ผลกระทบนี้อาจจะไม่ได้กระทบประเทศเพียงประเทศเดียวแต่อาจจะกระทบเป็นวงกว้างได้ และอาจส่งผลต่อความเชื่อมั่นของชาวต่างชาติและคนในประเทศไทยเองที่มีต่อรัฐบาลไทยในปัจจุบัน

ตัวอย่างนักท่องเที่ยวจีนที่ลดลงจากเหตุเรือล่มที่ภูเก็ต

ตัวอย่างใกล้เคียงจากช่วงที่ผ่านมาของการตอบสนองของรัฐบาลไทย ถึงแม้ปี 2018 จะเป็นปีที่นักท่องเที่ยวจีนมาเที่ยวไทยคึกคักเป็นพิเศษ แต่ก็เกิดเหตุไม่คาดฝันอย่างเรือล่มที่ภูเก็ต และการตอบสนองของรัฐบาลไทยที่ต่อว่านักท่องเที่ยวที่ไปเที่ยวช่วงมรสุมแทนที่จะเยียวยาจนทำให้สื่อจีนต่างไม่พอใจ จนมีกระแสคว่ำบาตรในช่วงนึง ทำให้นักท่องเที่ยวและทัวร์จากจีนยกเลิกการท่องเที่ยวมาในไทยเป็นจำนวนมาก จนทำให้สูญเสียรายได้ไปกว่า 37,000 ล้านบาท ในช่วงนั้น ก่อนที่สถานการณ์โดยรวมจะเริ่มมีตัวเลขที่ดีขึ้นจากช่วงปลายปีและเทศกาลปีใหม่ พร้อมกับการกระตุ้นนักท่องเที่ยวต่างชาติด้วยฟรีวีซ่า

รูปบน ของ desktop
รูปล่าง ของ mobile
FBS Trader เทรดได้อย่างปลอดภัย
FBS Trader เทรดได้อย่างปลอดภัย