ถ้าราคาน้ำมันสูงขึ้น ‘เวเนซุเอลา’ จะฟื้นหรือไม่?

ถ้าราคาน้ำมันสูงขึ้น ‘เวเนซุเอลา’ จะฟื้นหรือไม่?

3 min read  

ฉบับย่อ

  • การดิ่งลงของราคาน้ำมันอย่างรุนแรงเมื่อปี 2014 – 2016 จาก 100 เหรียญต่อบาร์เรล เหลือเพียง 30-40 เหรียญต่อบาร์เรล ส่งผลกระทบโดยตรงต่อรายได้ของประเทศผู้ค้าน้ำมันทั่วโลก
  • ‘เวเนซุเอลา’ จะเป็นประเทศที่ได้รับผลกระทบหนักที่สุด เพราะเมื่อปี 2016 GDP ของเวเนซุเอลามากกว่า 90% มาจากน้ำมัน เมื่อราคาน้ำมันดิ่งลง รายได้ของประเทศก็หดหายไปตามกัน
  • ปัจจัยสำคัญ คือ โรงกลั่นน้ำมันของซาอุดิอาระเบียถูกโจมตี ทำให้กำลังการผลิตประมาณ 5% ของโลกหยุดชะงัก ประกอบกับความเสี่ยงในเรื่องของสงคราม ทำให้หลายฝ่ายมองว่าราคาน้ำมันมีโอกาสจะปรับขึ้นได้ต่อ

รูปบน ของ desktop
รูปล่าง ของ mobile

การดิ่งลงของราคาน้ำมันอย่างรุนแรงเมื่อปี 2014 – 2016 จาก 100 เหรียญต่อบาร์เรล เหลือเพียง 30-40 เหรียญต่อบาร์เรล ส่งผลกระทบโดยตรงต่อรายได้ของประเทศผู้ค้าน้ำมันทั่วโลก แต่ดูเหมือนว่า ‘เวเนซุเอลา’ จะเป็นประเทศที่ได้รับผลกระทบหนักที่สุด เพราะเมื่อปี 2016 GDP ของเวเนซุเอลามากกว่า 90% มาจากน้ำมัน เมื่อราคาน้ำมันดิ่งลง รายได้ของประเทศก็หดหายไปตามกัน

รัฐบาลเวเนซุเอลาเลือกจะใช้วิธีการพิมพ์เงินออกมาแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น จึงเป็นที่มาของวิกฤตเงินเฟ้ออย่างหนัก (Hyperinflation) และทำให้เงินของประเทศกลายเป็นสิ่งไร้ค่าไปโดยปริยาย

แม้ปัญหาจะยังอยู่ แต่ปัจจุบันเวเนซุเอลายังคงเป็นประเทศที่มีปริมาณสำรองน้ำมันดิบมากที่สุดในโลกที่ประมาณ 3 แสนล้านบาร์เรล สูงกว่าผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ของโลกอย่าง ซาอุดิอาระเบีย ซึ่งมีปริมาณสำรอง 2.6 แสนล้านบาร์เรล

หากราคาน้ำมันกลับไป 100 เหรียญต่อบาร์เรลอีกครั้ง ‘เวเนซุเอลา’ จะฟื้นตัวได้หรือไม่?

ก่อนจะไปถึงคำตอบนั้น พี่ทุยจะพามาดูสถานการณ์ราคาน้ำมันกันก่อน

ณ วันที่ 20 ก.ย. 2019 ราคาน้ำมันดิบ Brent อยู่ที่ประมาณ 64 เหรียญต่อบาร์เรล แต่ย้อนกลับไปเมื่อ 4 วันก่อนหน้านั้น ราคาน้ำมันกระโดดขึ้นจาก 60 เหรียญต่อบาร์เรล ไปแตะ 71.95 เหรียญต่อบาร์เรล ทำสถิติราคาที่พุ่งขึ้นสูงสุดภายในวันที่ 19.5%

ปัจจัยสำคัญ คือ โรงกลั่นน้ำมันของซาอุดิอาระเบียถูกโจมตี ทำให้กำลังการผลิตประมาณ 5% ของโลกหยุดชะงัก ประกอบกับความเสี่ยงในเรื่องของสงคราม ทำให้หลายฝ่ายมองว่าราคาน้ำมันมีโอกาสจะปรับขึ้นได้ต่อและที่ผ่านมาเราจะเห็นว่า OPEC ก็พยายามที่จะลดกำลังการผลิตลง เพื่อดันราคาน้ำมันให้กลับไปยืนเหนือระดับ 70 เหรียญต่อบาร์เรลอีกครั้ง  ทีนี้เราย้อนกลับมาที่ ‘เวเนซุเอลา’

หลังจากราคาน้ำมันเริ่มกระเตื้องขึ้นมาอยู่ในระดับ 50-60 เหรียญต่อบาร์เรล หากสามารถส่งออกได้เช่นเดิม เวเนซุเอลาก็จะกลับมาทำกำไรได้อีกครั้ง เพราะต้นทุนการผลิตอยู่ที่ประมาณ 25-30 เหรียญต่อบาร์เรล

และหากราคาน้ำมันกลับไป 100 เหรียญต่อบาร์เรล เวเนซุเอลาก็น่าจะทำกำไรได้เป็นกอบเป็นกำเช่นในอดีต แต่ในความเป็นจริงแล้ว กลับไม่ได้เป็นเช่นนั้น เพราะปัญหาของเวเนซุเอลาฝังรากลึกลงไปยิ่งกว่าแค่ราคาน้ำมันเพียงอย่างเดียว แม้จะเป็นประเทศที่มีปริมาณสำรองน้ำมันดิบสูงที่สุดในโลก แต่เวเนซุเอลาสามารถผลิตน้ำมันออกมาได้เพียง 7-8 แสนบาร์เรลต่อวันเท่านั้น เทียบกับซาอุดิอาระเบียที่ผลิตได้ถึง 12 ล้านบาร์เรลต่อวัน และสหรัฐที่ผลิตมากถึง 15-16 ล้านบาร์เรลต่อวัน การสูญเสียรายได้จากน้ำมันในช่วงก่อนหน้านี้ ทำให้การผลิตลดลง รายได้ก็ลดลงตาม การลงทุนซ่อมบำรุงและขุดสำรวจเพิ่มเติมก็ลดลงตาม ยิ่งเผชิญกับภาวะวิกฤตเงินเฟ้อ ก็ยิ่งทำให้เวเนซุเอลาขาดแคลนแรงงานไปเป็นจำนวนมาก หลายต่อหลายคนเลือกจะอพยพออกจากประเทศ เพราะเงินที่ได้จากการทำงานในประเทศก็ไร้ค่า ทำให้เวเนซุเอลาไม่สามารถจะผลิตน้ำมันออกมาได้ตามปริมาณที่ต้องการ

ขณะเดียวกันบริษัทจากต่างประเทศก็ลังเลที่จะลงทุนใน เวเนซุเอลา จากปัญหาในเรื่องของการคอร์รัปชั่น และคุณภาพชีวิตของพนักงานที่จะเข้าไปทำงาน หลังจากที่บริษัทจากประเทศฝั่งตะวันตกยอมแพ้กับปัญหาของเวเนซุเอลา และถอนการลงทุนออกไป แต่ด้วยปริมาณน้ำมันสำรองที่ยังมีอยู่อีกมาก ทำให้ 2 ประเทศมหาอำนาจอย่าง รัสเซียและจีน พยายามจะเข้ามาชิงส่วนแบ่งเหล่านี้ ซึ่งก็มักจะเป็นข้อเสนอที่ทำให้เวเนซุเอลาค่อนข้างเสียเปรียบ

สำหรับ ‘เวเนซุเอลา’ แล้ว แม้จุดเริ่มต้นปัญหาจะมากความผันผวนของราคาน้ำมัน แต่การแก้ปัญหาที่ผิดพลาด รวมถึงการคอร์รัปชั่นจากภายใน เป็นสิ่งที่ทำให้ประเทศจมดิ่งลงไปมากกว่าที่ควรจะเป็น

รูปบน ของ desktop
รูปล่าง ของ mobile
FBS Trader เทรดได้อย่างปลอดภัย
FBS Trader เทรดได้อย่างปลอดภัย

Comment

Be the first one who leave the comment.

Leave a Reply