นโยบาย “หวยบำเหน็จ” ทำได้จริงหรือไม่ ?

นโยบาย “หวยบำเหน็จ” ทำได้จริงหรือไม่ ?

4 min read  

ฉบับย่อ

  • นโยบายเศรษฐกิจที่ถูกจริตกับคนไทย และเป็นไม้ตายของ “พรรคเพื่อไทย” ที่สร้างความฮือฮาในช่วงโค้งสุดท้ายของการเลือกตั้ง นั่นก็คือ นโยบาย “หวยบำเหน็จ”
  • ปี 2018 ที่ผ่านมา กองสลากบ้านเรามีรายได้ประมาณ 136,000 ล้านบาท ซึ่งพี่ทุยว่าเป็นตัวที่เลขที่ค่อนข้างมาก ลองคิดง่ายๆว่า บ้านเรามีเงินคงคลังประมาณ 3 แสนล้านบาท ก็เกือบๆครึ่งหนึ่งของเงินคงคลังที่เรามีเลยทีเดียว
  • จากผลของการวิจัยชิ้นหนึ่งกล่าวว่า คนที่ซื้อหวยนั้นรู้อยู่แล้วว่าอัตราที่ได้ผลตอบแทนไม่คุ้มกับเสีย แต่มีความต้องการที่อยากลองเสี่ยงดูเท่านั้นเอง

รูปบน ของ desktop
รูปล่าง ของ mobile

เลือกตั้งรอบนี้ พี่ทุยว่าเดือดดีเหมือนกันนะ เรียกได้ว่าแต่ละพรรค แต่ละคนปล่อยหมัดเด็ดกันคนละหมัด 2 หมัดมาอย่างต่อเนื่องจริงๆ ล่าสุดนโยบายเศรษฐกิจที่พี่ทุยว่าเป็นไม้ตายของ “พรรคเพื่อไทย” ที่สร้างความฮือฮาในช่วงโค้งสุดท้ายของการเลือกตั้ง นั่นก็คือ นโยบาย “หวยบำเหน็จ”

ฟังครั้งแรกแล้วสิ่งที่พี่ทุยรู้สึกเลยก็คือ “ช่างถูกจริต” กับคนไทยเสียจริงๆ ทำไมพี่ทุยถึงพูดว่าถูกจริตกับคนไทย เพราะว่าทั้งปี 2018 ที่ผ่านมา กองสลากบ้านเรามีรายได้ประมาณ 136,000 ล้านบาท ซึ่งพี่ทุยว่าเป็นตัวที่เลขที่ค่อนข้างมาก ลองคิดง่ายๆว่า บ้านเรามีเงินคงคลังประมาณ 300,000 ล้านบาท ก็เกือบๆครึ่งหนึ่งของเงินคงคลังที่เรามีเลยทีเดียว

นโยบาย “หวยบำเหน็จ” ทำได้จริงหรือไม่ ?

หากตีเป็นจำนวนลอตเตอรี่มันจะเท่ากับประมาณ 1,900 ล้านใบ (ราคาที่กองสลากได้รับใบละ 70 บาท หักให้กับคนขาย 10 บาท) หรือประมาณ 80 ล้านใบต่องวด เรียกว่าคนไทยกับหวยเป็นของคู่กันอย่างช้อนกับส้อมเลยล่ะ นอกจากนี้ พี่ทุยลองดูรายได้รวมของกองสลากฯย้อนหลังพบว่าในช่วง 10 ปีมานี้รายได้จากการจำหน่ายลอตเตอรี่เพิ่มขึ้นทุกปี โดยในปี 2009 รายได้จากการจำหน่ายอยู่ที่ประมาณ 44,100 ล้านบาท นั่นเท่ากับว่าในปัจจุบันกองสลากบ้านเราขายสลากได้เพิ่มขึ้นมากกว่า 3 เท่าตัวเลย เติบโตโดยเฉลี่ยปีละมากกว่า 10% อันนี้นับเฉพาะลอตเตอรี่ที่อยู่ในระบบอย่างถูกต้องหรือที่เรียกๆกันว่า “หวยบนดิน” ซึ่งยังไม่รับกับรวมหวยใต้ดินที่พี่ทุยว่าถ้านับรวมแล้วเม็ดเงินคงมากกว่านี้อีกหลายเท่าเลยล่ะ

สรุปเนื้อหารายละเอียดของนโยบาย “หวยบำเหน็จ”

ทีนี้เรากลับมาดูกันที่ตัวนโยบาย “หวยบำเหน็จ” อีกทีว่ามีลักษณะเป็นอย่างไร พี่ทุยจะขอสรุปแบบคร่าวๆ ของตัวนโยบายนี้ให้ฟังจะได้เห็นภาพ

1. หวยแบบใหม่เรียกว่า สลากการออมแห่งชาติ ราคาหน่วยละ 50 บาท
2. หากถูกรางวัลขึ้นรางวัลได้ทันที หากไม่ถูกให้นำใบสลากไปขึ้นบัญชีระยะยาวและเมื่ออายุครบ 60 ปีจะได้รับเงินคืนทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย และหากผู้ซื้ออายุเกิน 60 ปีจะได้เมื่อเสียชีวิตหรือเรียกว่าเป็นเงินมรดก
3. ออกรางวัลทุกๆ 1 เดือน โดยคร่าวๆคาดว่าจะมีรางวัลเลขท้าย 2 ตัวและ รางวัลเลขท้าย 3 ตัว
4.สลากกินแบ่งรัฐบาล หรือ ลอตเตอรี่แบบเดิม ก็ยังคงมีอยู่ เพราะคุณหญิงสุดารัตน์กล่าวว่าให้แบ่งมาซื้อหวยบำเหน็จครึ่งหนึ่ง

หากเรามาวิเคราะห์ถึงการจัดสรรเงินรายได้ต่างๆของสลากกินแบ่งฯ โดยกองสลากฯคิดค่าเงินรางวัลเป็นประมาณ 60% ของรายได้ทั้งหมด ส่งรายได้ให้แผ่นดินไม่ต่ำกว่า 20% และ ค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการไม่เกิน 17% นั่นหมายความว่า สลากกินแบ่งฯ 1 ใบจะต้องมีรายได้ส่งกลับแผ่นดิน ไม่ต่ำกว่า 14 บาท และมีต้นทุนจากรางวัลและค่าใช้จ่ายทั้งหมดประมาณ 77% ของราคา 70 บาทหรือเท่ากับ 53.9 บาท ดังนั้นจะมีกำไรเหลือเพียง 2.1 บาทหรือประมาณ 4% เท่านั้น แต่ไม่ใช่ไม่เยอะนะ อย่าลืมว่างวดๆหนึ่งซื้อกันที่ 80 ล้านใบนะ

แต่ปัญหาอยู่ที่นโยบายบอกว่าจะได้เงินต้นคืนพร้อมดอกเบี้ยจากเงินที่ซื้อสลากกินแบ่งไป นั่นแปลว่า เราซื้อหวย 80 บาทวันนี้ ตอนเราอายุ 60 ปี จะได้คืน 80 บาทเช่นกัน แต่ประเด็นอยู่ที่ว่ากองสลากเหลือกำไร 2.1 บาท ไอการที่เราจะทำให้เงิน 2.1 บาทเป็น 80 บาทให้ได้มันเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยากแน่นอน พี่ทุยเลยเดาไปก่อนว่าหน้าตาของหวยบำเหน็จเนี้ย ต้องไม่ใช่แบบสลากกินแบ่งรัฐบาลแบบเดิมแน่นอน โครงสร้างรายได้ของหวยบำเหน็จน่าจะต้องต่างจากสลากกินแบ่งรัฐบาลพอสมควร

นโยบาย “หวยบำเหน็จ” ทำได้จริงหรือไม่ ?

พี่ทุยเลยลองสมมติตัวเลขเล่นๆว่า หากจะสามารถทำให้รัฐบาลหาเงินต้นมาจ่ายได้จริงๆ ต้องทำให้กำไรเหลืออย่างน้อย 10 บาทต่อการขายสลากหนึ่งใบที่ 50 บาท และใช้เวลา 40 ปี รัฐบาลต้องนำเงินส่วนนี้ไปลงทุนให้ได้กำไรประมาณปีละ 4% ก็จะสามารถจ่ายเงินต้นคืนได้ (หน่วยละ 50 บาท) ซึ่ง 4% ก็ดูจะเป็นตัวเลขที่เป็นไปได้และไม่เสี่ยงจนเกินไปถึงจะพอเป็นไปได้ว่าเราซื้อหวยใบละ 50 บาทแล้วเราจะได้เงินต้นคืน 50 บาท ซึ่งถ้ารัฐลงทุนได้มากกว่า 4% ที่เหลือก็จะเป็นดอกผลไป

รัฐบาลจะทำอย่างไรเพื่อได้กำไรจาก “หวยบำเหน็จ” ใบละ 10 บาท

จากการวิเคราะห์โครงสร้างของสลากกินแบ่งรัฐบาลเนี่ย ความเป็นไปได้แรก คือ ต้นทุนในส่วนของเงินรางวัล อาจจะต้องลดลงให้ไม่ถึง 60% ของรายได้อีกแล้ว ซึ่งแน่นอนมันจะไม่ได้มากเท่าลอตเตอรี่ อาจมีเพียงแค่รางวัลเลขท้าย 2 ตัวและ 3 ตัวตามที่มีการแถลงอย่างชัดเจนแล้วเท่านั้น

หากลองคิดดูจริงๆ ค่าตอบแทนที่คาดหวังสำหรับโอกาสในการถูกรางวัลเนี่ยมันค่อนข้างต่ำเลยทีเดียว คิดง่ายถ้าสมมติรางวัลเลขท้าย 2 ได้รางวัล 2,000 บาท (ซึ่งน่าจะน้อยกว่านั้น เพราะลอตเตอรี่ราคาแพงกว่ายังได้เท่านี้) โอกาสถูกมีเพียง 1 ใน 100 เท่านั้น นั่นหมายถึงว่า ค่าตอบแทนที่คาดหวัง คือ 1% x 2000 เท่ากับ 20 บาทเท่านั้นเอง ซึ่งมันน้อยกว่าครึ่งหนึ่งของราคาที่ซื้อเสียอีก แม้จะรวมรางวัลเลขท้าย 3 ตัวเข้าไปก็ยังคงได้น้อยอยู่ดี

อีกทางเลือกที่น่าจะเป็นไปได้ก็คือในส่วนของ “รายได้ส่งแผ่นดิน” ซึ่งในปีที่ผ่านมา เรามีรายได้แผ่นดินจากสลากกินแบ่งรัฐบาลถึง 31 หมื่นล้านบาท ถ้าหากเป็นดังที่คุณหญิงหน่อยพูดจริงๆว่าให้แบ่งเงินประมาณครึ่งหนึ่งมาซื้อหวยบำเหน็จ ก็จะหมายความว่า รายได้ส่งแผ่นดินเราจะลดลงไปทันทีประมาณ 15 หมื่นล้านบาท

ดังนั้น โดยสรุปแล้วพี่ทุยคิดว่านโยบายนี้ทำได้อย่างแน่นอน (ถ้าจะทำ) แต่ก็จะมีประเด็นที่ต้องติดตามต่อไป อย่างแรกเลยคือ “ดอกเบี้ย” ที่บอกว่าจะได้คืนมากกว่าเงินต้น ซึ่งเท่าที่ข้อมูลมี ณ ตอนนี้ก็มียังไม่มีเปิดเผยว่าเป็นเท่าไหร่

อย่างไรก็ตาม ดอกเบี้ยส่วนนี้ก็จะต้องเป็นอีกส่วนที่รัฐบาลมีหน้าที่หามาให้เพิ่ม ซึ่งก็จะเพิ่มไปจาก 4% ที่เมื่อกี้พี่ทุยลองสมมติ และถ้าลองให้ดอกเบี้ยเท่ากับ 1.75% ตามที่แบงก์ชาติใช้เป็น Policy Rate เท่ากับว่ารัฐบาลต้องเอาเงินไปลงทุนให้ได้ประมาณ 5% สำหรับพี่ทุยคิดว่าก็ยังเป็นตัวเลขที่เป็นไปได้อยู่ดีนั่นแหละ

นโยบาย “หวยบำเหน็จ” ทำได้จริงหรือไม่ ?

อีกประเด็นหนึ่งที่ต้องชั่งน้ำหนักไม่แพ้กันก็คือ “เรื่องของรายได้ส่งแผ่นดินที่อาจลดลง” ถามว่าเงินมันหายไปไหน จริงๆ แล้วเงินไม่ได้หายไปไหนเลยแต่กลับไปอยู่ในมือของผู้ซื้อ “หวยบำเหน็จ” เท่านั้นเอง ก็เป็นการชั่งน้ำหนักกันระหว่างให้รัฐบาลเป็นผู้สะสมทุนและใช้เงินในส่วนนี้กับให้ภาคเอกชนเป็นผู้สะสมทุนแทน ซึ่งในมุมมองของนักเศรษฐศาสตร์การคลัง เขาจะมองว่ารัฐจะสามารถลงทุนโครงการขนาดใหญ่ได้มากกว่า ส่วนภาคเอกชนเนี่ยก็จะลงทุนและหมุนเวียนในระบบได้เร็วกว่า ในส่วนนี้พี่ทุยก็คิดว่าเราคงต้องดูหลายๆองค์ประกอบ เช่น การหารายได้ทางอื่นๆของภาครัฐว่ามีพอหรือไม่ และระดับการสะสมทุนของภาคเอกชน

ซึ่งลึกๆแล้วพี่ทุยคิดว่า นโยบายนี้เป็นอีกหนึ่งผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่มีลักษณะคล้ายกับ สลากออมสินมากๆ แทบจะไม่ต่างกันเลย สลากออมสินก็มีลักษณะของการออมเงินและมีให้ลุ้นรางวัลทุกเดือนเช่นกัน จะแตกต่างกันก็เพียงสลากออมสิน คนซื้อไม่สามารถเลือกเลขเด็ด เลขนำโชคของตัวเองได้เท่านั้นเอง ดังนั้นการซื้อหวยบำเหน็จคงจะมันส์กว่าในการเล่น (ฮ่า) สำหรับพี่ทุยแล้วหากสามารถเพิ่มการออมของคนได้มันก็ดี อย่าลืมนะที่พี่ทุยเคยบอกว่าตลอดว่า ออมแค่ 10% ของรายได้มันล้าสมัยไปแล้วเพราะมันไม่พอหรอก

สุดท้ายพี่ทุยเคยอ่านงานศึกษาชิ้นหนึ่งว่า “ทำไมคนเรายังซื้อหวย” คนที่ซื้อหวยนั้นรู้หรือไม่ว่า อัตราผลตอบแทนไม่ได้คุ้มเท่าไหร่ ตกลงแล้วเขามองหวยเป็นการลงทุนหรือเป็นการพนัน ผลที่ได้ก็มีหลากหลายมาก แต่สิ่งหนึ่งที่พิสูจน์ได้จากแบบสอบถามก็คือ คนส่วนใหญ่ที่ซื้อหวยเนี่ย รู้อยู่แล้วว่าอัตราได้มันไม่คุ้มเสีย แต่อยากลองเสี่ยงดู

ดังนั้นนโยบายนี้ พี่ทุยมองว่าเป็นการผลักดันที่ค่อนข้างดีเลยเป็นการรวมศาสตร์แห่งการออมการลงทุนกับศิลป์แห่งการพนันเข้าด้วยกัน เข้าใจจริตของคนไทย แต่อย่างไรก็ตาม อย่าลืมชั่งน้ำหนักในด้านเงินได้ของภาครัฐด้วยแล้วกัน เมื่อรายได้ขาดหายไป แต่ภาระเรื่องเงินออมยามเกษียณที่รัฐต้องรับผิดก็น้อยลง

สุดท้ายแล้วถ้าหากว่าพรรคเพื่อไทยผู้ซึ่งออกนโยบาย “หวยบำเหน็จ” นี้ได้เป็นรัฐบาลจริง จะบริหารงานได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่ ก็เป็นเรื่องที่เราต้องติดตามดูกันต่อไป

รูปบน ของ desktop
รูปล่าง ของ mobile
FBS Trader เทรดได้อย่างปลอดภัย
FBS Trader เทรดได้อย่างปลอดภัย

Comment

Be the first one who leave the comment.

Leave a Reply