ส่องธุรกิจเกม "Ragnarok" ในอดีต และประวัติความเป็นมาของเกม

ส่องธุรกิจเกม “Ragnarok” ในอดีต และประวัติความเป็นมาของเกม

 

ฉบับย่อ

  • Ragnarok Online เริ่มมาจากการ์ตูนเขียนโดย Lee Myung-Jin ก่อนจะดังเป็นเกมระดับตำนาน
  • ประเทศที่ค่าบริการแพงที่สุดเมื่อเทียบเป็นเงินไทย คือ เกาหลีใต้ 824.65 บาทต่อเดือน ส่วนไทยถูกที่สุด 189 บาทต่อเดือน
  • ประเทศที่มีผู้เล่นเยอะที่สุด คือ ไต้หวัน แต่รายได้ของบริษัท Gravity ส่วนใหญ่ได้มาจากญี่ปุ่น
  • บริษัท Asiasoft เป็นผู้ถือลิขสิทธิ์ในไทย ตั้งแต่ปี 2545 จนถึง 2559 ก่อนที่ Gravity และทาง EXE ได้เซ็นต์สัญญาร่วมกัน และเปิดให้บริการเกม Ragnarok ต่อจากผู้ให้บริการเก่าภายในปี 2559
  • ตลาดเกมมีการแข่งขันสูงมาก ราคาหุ้นของ Gravity เคยขึ้นไปทำจุดสูงสุดที่ 48.6 USD และเคยลงไปทำจุดต่ำสุดที่ 1.54 USD ไม่พ้นแม้แต่หุ้น Asiasoft ในไทยที่ทำจุดสูงสุดที่ 12.06 บาท ก่อนจะลงมาต่ำสุดที่ 1.14 บาท

รูปบน ของ desktop
รูปล่าง ของ mobile

Ragnarok เป็นเกมแนว MMORPG ในตำนาน หรือ Massive Multiplayer online role-playing game ซึ่งเป็นการเก็บเลเวลที่สามารถเจอผู้เล่นอื่นๆได้ และเราสามารถเลือกเล่นเป็นอาชีพต่างๆได้ ถูกสร้างโดยบริษัท Gravity บริษัทเกมสัญชาติเกาหลีใต้ ที่เรียกได้ว่าวัยรุ่นหรือคอเกมสมัยนั้นแทบจะไม่มีใครไม่รู้จักเกมนี้เลย Ragnarok เริ่มเปิดตัวเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2545 ที่ประเทศเกาหลีใต้ และเข้ามาเปิดบริการในไทย วันที่ 25 ตุลาคม 2545 โดยมีบริษัท Asiasoft Corporation จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ถือลิขสิทธิ์จนถึง พ.ศ. 2559ก่อนที่ Gravity และทาง EXE ได้เซ็นต์สัญญาร่วมกัน และเปิดให้บริการเกม Ragnarok ต่อจากผู้ให้บริการเก่าภายในปี 2559

จุดเริ่มต้นของเกม “Ragnarok”

Ragnarok หรือ ชื่อไทย ภูติเทพวิบัติ เริ่มจากการเป็นการ์ตูนชื่อดังในเกาหลีมาก่อน โดยคำที่ใช้เรียกการ์ตูนเกาหลีจะถูกเรียกว่า Manwha จะคล้ายๆ Manga ของญี่ปุ่น ผู้แต่ง Ragnarok เป็นชาวเกาหลีชื่อ Lee Myung-Jin โดย Lee Myung-Jin ตั้งชื่อการ์ตูนเรื่องนี้ว่า Ragnarok ตามชื่อเรียกของมหาสงครามของเหล่าเทพในกรีก และจะสังเกตได้ว่าตัวละครสำคัญในการ์ตูนเรื่องนี้จะมีชื่อมาจากเทพในกรีกทั้งนั้น หลังจากการ์ตูนออกมาเพียงไม่กี่เล่ม Lee Myung-Jin ก็ได้เซ็นสัญญาทำเกมกับ Gravity และเนื่องจากเกมมีรายละเอียดเนื้อหาและกระแสตอบรับที่ดีมาก การ์ตูน Ragnarok จึงถูกหยุดเขียนกลางคัน หยุดไว้แค่เพียง 10 เล่มเท่านั้น โดยตัวเกม Ragnarok นั้นผู้เล่นสามารถเลือกเล่นเป็นอาชีพได้หลายอาชีพ สามารถท่องเที่ยวไปยังสถานที่ต่างที่มีมากมาย และสามารถพบปะสื่อสารแลกเปลี่ยนสิ่งของกับผู้เล่นอื่นได้ ด้วยเนื้อหาและระบบเกมที่ดีทำให้เกมนี้เป็นที่หลงไหลและมีผู้เล่นเป็นจำนวนมาก แม้ในไทยจะมีการเก็บค่าชั่วโมงในการเล่น ก็ยังมีผู้เล่นเป็นจำนวนมาก ทำให้บริษัท Asiasoft กวาดรายได้ไปเป็นจำนวนมากในช่วงนั้น

โมเดลการคิดค่าบริการของเกม Ragnarok ในอดีต

ในอดีตนั้น Ragnarok นั้นคิดค่าบริการตามปริมาณการเล่น โดยจะแบ่งเป็นแบบชั่วโมงและวัน โดยแต่ละประเทศจะมีเรทราคาที่ต่างกัน

ส่องธุรกิจเกม "Ragnarok" ในอดีต และประวัติความเป็นมาของเกม

ข้อมูลค่าเงิน 31 ธันวาคม 2547 : US$ 1 = WON 1035.1 = RMB 8.2765 = ฿38.8 = YEN 102.6694 = NT$ 31.74

ประเทศที่คนเล่น Ragnarok มากที่สุด

ในช่วงที่เกมเปิดใหม่ๆ เคยมีผู้เล่นเข้ามาใช้บริการในเซิฟเวอร์พร้อมกันมากสูงสุดทั่วโลกถึง 8 แสนคนพร้อมๆกัน ในต้นปี 2549 โดยประเทศที่มีผู้จำนวนเล่นที่เล่นพร้อมกันมากที่สุดมาจากประเทศไต้หวันประมาณ 350,000 คน (จำนวนประชากรไต้หวันในปี 2549 มี 22,958,000 คน) ส่วนประเทศที่มีผู้เล่นรองลงมาคือ จีน 140,000 คน ส่วนผู้เล่นในประเทศไทยมีจำนวนการเล่นพร้อมกันสูงสุดถึง 130,000 คน ญี่ปุ่น 120,000 คน มีผู้เล่นสูงสุดเป็นอันดับ ตามด้วยเกาหลี 40,000 คน และอเมริกา 10,000 คน แต่รายได้ของ Gravity นั้นแตกต่างไปด้วยค่าเงินและกำลังซื้อของแต่ละประเทศที่ต่างกัน โดย ประเทศที่สร้างรายได้สูงที่สุดกลับเป็น ญี่ปุ่น ที่ทำรายได้สูงสุดคิดเป็น 26.1% รองลงมาไต้หวัน 22.1% ตามด้วยเกาหลี 19.7% และไทย 8.2%

บริษัท Gravity (GRVY)

บริษัทเกมออนไลน์ระดับโลก Gravity เป็นบริษัทเกมบริษัทแรกในเกาหลีที่จดทะเบียนในตลาดหุ้น NASDAQ (ตลาดหุ้นสหรัฐอเมริกา) ในปี 2548 โดยมีราคาเปิดที่ราคาหุ้นละ 47.12 USD ในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2548 โดยในปี 2546 หลังจากเปิดตัวเกม Ragnarok ไม่นาน Gravity มีกำไรสุทธิสูงถึง 19,140 ล้านวอน และ 28,057 ล้านวอน ในปี 2547 ก่อนที่จะมาเริ่มขาดทุนในปี 2548 จากค่าใช้จ่ายและค่าดำเนินงานต่างๆจากเกมใหม่ๆที่สูงขึ้นในขณะที่รายได้ต่างๆไม่เติบโตขึ้น และกระแสตอบรับที่ไม่ดีจาก Ragnarok Online 2: The Gate of the World และด้วยผลจากการแข่งขันในตลาดเกมที่สูง ทำให้ Gravity ขาดทุนต่อเนื่อง มีเพียงปี 2552 ถึง 2554 ที่กลับมาทำรายได้ได้ช่วงหนึ่ง และกลับมาขาดทุนต่อเนื่องจนปี 2559 ราคาหุ้น Gravity ลงไปทำจุดต่ำสุดที่ราคาหุ้นละ 1.54 USD เท่านั้น ก่อนที่จะพลิกกลับมาทำรายได้ได้ในท้ายปี 2559 และกลับมาลงทุน Ragnarok ในไทยใหม่ด้วยตัวเอง

เมื่อปี 2560 ได้เปิดตัว Ragnarok Online : The Guardian of Eternal Love ในไต้หวัน เป็น Ragnarok Online เวอร์ชั่นมือถือ ก่อนจะเปิดตัวในเกาหลี และ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จนทำให้บริษัทกลับมาเติบโตอีกครั้งในปี 2561 โดยในปลายปี 2560 ราคาหุ้นของ Gravity พุ่งขึ้นไปสูงสุดถึง 48.6 USD

บริษัท Asiasoft (AS)

บริษัท Asiasoft เป็นบริษัทผู้นำให้บริการเกมออนไลน์ ทั้งในและต่างประเทศ โดยเน้นขยายบริการในภูมิภาคเอชียตะวันออกเฉียงใต้ เข้าซื้อขายในตลาดหลักรัพย์เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2554 ด้วยราคาเปิดที่ 7.65 บาทต่อหุ้น Asiasoft มีกำไรสุทธิในปีนั้น 296 ล้านบาท โดยที่กำไรต่อหุ้นเท่ากับ 0.97 บาทต่อหุ้น ก่อนที่ราคาจะพุ่งขึ้นไปสูงสุด 12.06 บาทต่อหุ้นในวันที่ 20 กรกฎาคม 2555 Asiasoft ทำกำไรสุทธิได้ 303 ล้านบาทในปีนั้น โดยที่กำไรต่อหุ้นเท่ากับ 0.99 บาทต่อหุ้น หลังจากปี 2556 เป็นต้นมารายได้ของ Asiasoft ลดลง เหลือเพียง 52 ล้านบาทเท่านั้น ทำให้กำไรต่อหุ้นเหลือเพียง 0.45 บาทต่อหุ้นเท่านั้น และราคาหุ้นก็ลดลงมาเรื่อยๆ จากการลดลงของรายได้ในการบริหารเกมทั้งในและต่างประเทศ ที่ลงทุนหลายๆเกมแล้วไม่ได้ผลตามเป้าหมาย ด้วยตลาดเกมมีบริษัทเกมใหม่ๆเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก บริษัทใหม่มีการวางแผนที่ดีขึ้น ทำให้การแข่งขันในตลาดเกมสูงขึ้นเรื่อยๆ และด้วยการปรับเปลี่ยนที่ไม่ทันต่อการเปลี่ยนแปลง และการลงทุนในบางเกมที่ขาดทุนทำให้บริษัท Asiasoft เริ่มขาดทุนต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2557 จึงถึงปัจจุบัน มีเพียงปี 2560 ที่พลิกกลับมาทำกำไรได้ 1 ปี โดยราคาหุ้นลงมาจุดต่ำสุดที่ 1.14 บาทต่อหุ้น ในช่วง ตุลาคม 2561 นั่นเอง

รูปบน ของ desktop
รูปล่าง ของ mobile
FBS Trader เทรดได้อย่างปลอดภัย
FBS Trader เทรดได้อย่างปลอดภัย