สิ่งที่ต้องระวังของการทำ "Rebalancing"

สิ่งที่ต้องระวังของการทำ “Rebalancing”

2 min read  

ฉบับย่อ

  • “Rebalancing” เป็นกลยุทธ์การลงทุนรูปแบบนึงที่ผู้จัดการกองทุนมักจะใช้ในการบริหารกองทุนของเค้า เพราะว่ากองทุนจะกำหนดระดับความเสี่ยงของสัดส่วนสินทรัพย์ไว้แต่ละช่วงเวลาอยู่แล้ว เวลาที่ตลาดดีดีก็จะลงหุ้นเต็ม ๆ แต่ถ้าเวลาที่ไม่ค่อยดีก็จะลดสัดส่วนลงมา
  • เราจำเป็นต้องตรวจสอบสินทรัพย์ที่เราถืออยู่ ว่าในอนาคตราคายังจะปรับตัวขึ้นอยู่มั้ย ? เพราะถ้าเราทำ “Rebalancing” กับสินทรัพย์ที่มีแต่ราคาจะปรับตัวลง แบบนี้ก็จะทำให้การทำ “Rebalancing” เป็นฝันร้ายของพอร์ตเราเลย

รูปบน ของ desktop
รูปล่าง ของ mobile

พี่ทุยคิดว่าตอนนี้ทุกคนน่าจะเข้าใจเรื่องของการ “Rebalancing” กันมาแล้วแหละว่าสำคัญขนาดไหน แล้วทำไมเราถึงต้องทำ ? แต่วันนี้พี่ทุยจะมาชี้ให้เห็นของบกพร่องของการทำ “Rebalancing” และข้อควรระวังกันสักหน่อยดีกว่า หากใครยังไม่แน่ใจว่า “Rebalancing” คืออะไร พี่ทุยมีข้อมูลมาให้อ่านเพิ่มด้วยเหมือนกัน จะมีทั้งความหมายของ DCA, VA และ Rebalancing เลย กดอ่านเพิ่มเติมได้ ที่นี่

เป็นที่รู้กันว่าการทำ “Rebalancing” เนี่ยเป็นกลยุทธ์การลงทุนรูปแบบนึงที่ผู้จัดการกองทุนมักจะใช้ในการบริหารกองทุนของเค้า เพราะว่ากองทุนจะกำหนดระดับความเสี่ยงของสัดส่วนสินทรัพย์ไว้แต่ละช่วงเวลาอยู่แล้ว เวลาที่ตลาดดีดีก็จะลงหุ้นเต็ม ๆ แต่ถ้าเวลาที่ไม่ค่อยดีก็จะลดสัดส่วนลงมา

จากบรรทัดด้านบนเนี่ยแหละ เป็นสิ่งที่รายย่อยแบบเราจะพลาด เหตุผลที่เรามีโอกาสพลาด ได้แก่

1. การกำหนด Tactical Asset Allocation (TAA)

วิธีที่กองทุนทำ คือ มีการกำหนด Tactical Asset Allocation (TAA) คือการที่กำหนดว่าช่วงสั้น ๆ จะใช้สัดส่วนเท่าไหร่ โดยจะเป็นการเปลี่ยนไปจากสัดส่วนการลงทุนครั้งแรกที่เรากำหนดความเสี่ยง แต่ TAA จะดูสภาวะตลาดเข้าไปด้วย

นั่นหมายความว่าถ้าเราจะ Rebalancing สิ่งที่ต้องมีอย่างแรก คือ มุมมองว่าตลาดตอนนี้เป็นอย่างไร อย่างน้อยก็ให้เห็นว่าเป็น “ขาขึ้น” หรือ “ขาลง”

2. การตรวจสอบ “คุณภาพ” หุ้นหรือสินทรัพย์ที่เราถือ

เราจำเป็นต้องตรวจสอบสินทรัพย์ที่เราถืออยู่ ว่าในอนาคตราคายังจะปรับตัวขึ้นอยู่มั้ย ? เพราะถ้าเราทำ “Rebalancing” กับสินทรัพย์ที่มีแต่ราคาจะปรับตัวลง หรือหุ้นบางตัว ที่ล้มหายตายจากไปจากตลาดแล้ว แบบนี้ก็จะทำให้การทำ “Rebalancing” เป็นฝันร้ายของพอร์ตเราเลยล่ะ

แล้วโดยปกติการเอาสินทรัพย์เข้าหรือออกกองทุน กองทุนทำเป็นประจำอยู่แล้วอาจจะทุก 3 เดือน (เพราะมีการประกาศงบการเงินออกมา) แต่นักลงทุนแบบเราแทบจะไม่ได้เข้าใจตรงนี้เลยดังนั้นควรระวังตรงนี้ด้วย

เวลาจะเอากลยุทธ์หรือวิธีการอะไรก็ตามมาใช้ ควรนำมาทั้งหมดไม่ใช่เอามาใช้แค่บางส่วน เพราะจะทำให้เรามีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น แทนจะช่วยควบคุมความเสี่ยงนะ

รูปบน ของ desktop
รูปล่าง ของ mobile
FBS Trader เทรดได้อย่างปลอดภัย
FBS Trader เทรดได้อย่างปลอดภัย