5 วิธีเลือกกองทุนแบบนักลงทุนมืออาชีพ

 

รูปบน ของ desktop
รูปล่าง ของ mobile

สำหรับนักลงทุนที่เป็นมนุษย์เงินเดือนทุกคนที่อยู่นอกสายการเงิน ที่ส่วนใหญ่แล้วอาจจะไม่ค่อยมีเวลาศึกษาเรื่องกองทุนมากเท่าไร ก็มักจะให้ความสนใจกับ “กองทุนรวม” เพราะพี่ทุยว่ามันเป็นอะไรเหมาะมากๆ

แต่คำถามยอดฮิตติดชาร์ต 8 สัปดาห์ติด คือ “กองทุนไหนน่าลงทุนที่สุด”
วันนี้พี่ทุยจะมาให้คำตอบกัน ลองอ่านดูตามนี้ อาจจะเยอะหน่อย
แต่อยากให้อ่าน เพราะว่าได้ประโยชน์คุ้มค่ากับการเสียเวลาอ่านจริงๆ

1. สำรวจตัวเองกันก่อน 

ว่าเราต้องการอะไรจากการลงทุน ลองถามตัวเองอย่าไปตามคนอื่น
เช่น ต้องการปันผลมั้ย ความเสี่ยงที่รับได้เป็นยังไง ?
และระยะเวลาในการลงทุนจะลงนานแค่ไหน ?

ลองดูนะเพราะการลงทุนไม่ใช่เรื่องของโชคชะตา แต่มันมีเหตุผลของมันทั้งนั้น
ไม่งั้นคนทั้งโลกคงรวยกันหมดล้าว

2. ดูรายละเอียดกองทุนรวม

ดูได้จากสิ่งที่มีชื่อเรียกเท่ๆว่า “Fund Fact Sheet”
แหม่ ทำหน้างงกันใหญ่ ไม่อยากงงก็ต้องอ่านดูสิ ! เพราะในนั้นมันบอกเราทุกอย่าง
ว่ากองทุนนั้นมันเป็นยังไง ไม่ว่าจะนำเงินที่เราลงทุนไปลงทุนในอะไร
ขนาดกองทุน จ่ายปันผลมั้ย ขั้นต่ำที่ซื้อได้ครั้งละเท่าไร แล้วก็พวกค่านำเทียมต่างๆ … โธ้ ธรรมเนียม !

นอกจากนี้ก็พวก อายุของกองทุน ว่าผ่านร้อนผ่านหนาวมาเยอะแค่ไหน
สภาพคล่องของกองทุน บางกองก็ไม่สามารถขายได้ทันที ควรศึกษาให้ละเอียดหน่อย
เพื่อสอดคล้องเป้าหมายการลงทุนของเรา พวกเอกสารก็โหลดได้จากหน้า Website ของ บลจ. ที่ดูแลกองทุนนั้นได้เลย

ช่วงแรกๆอาจจะงงๆหน่อย แต่พออ่านสักพักมันก็จะงงกว่าเดิม
ฮ่าๆๆ ต้องเข้าใจขึ้นสิ !!

3. ความสม่ำเสมอของผลตอบแทน

เคยซื้อหวยแล้วถูกบ้างมั้ย ? ตอนที่เราถูกเราคงรู้สึกว่า โคตรฟลุคเลย !
กองทุนก็เหมือนกันนั่นแหละ บางปีผลตอบแทนมันอาจจะดีมากอยู่แค่ 1 ปี
ก็สรุปไม่ได้ว่ามันเจ๋ง เพราะมันอาจจะฟลุค ก็เป็นด้ายยยย

สิ่งที่พี่ทุยดูเสมอคือ “ผลตอบแทนย้อนหลัง” ถ้ามันดีแบบสม่ำเสมอมาตลอด
ก็สบายใจได้ระดับนึงว่าไม่ได้ฟลุค เราสามารถดูผลตอบแทนย้อนหลัง
ของกองทุนรวมที่เราสนใจได้จาก www.wealthmagik.com ได้เลย

เพราะ Website นี้บอกตั้งแต่ย้อนหลัง 3 เดือน / 6 เดือน / 1 ปี / 3 ปี
หรือไปจนถึงจัดตั้งกองทุน แต่ยังไงก็ตามผลตอบแทนย้อนหลังก็ไม่ได้บอกว่าผลตอบแทนในอนาคตจะดีเสมอไปนะจ้ะ

4. การลงทุนมีความเสี่ยง

เราจะรู้ได้ยังไงว่ามีความเสี่ยงมันไม่ใช่เหมือนข้ามถนนสักหน่อย ถ้าข้ามบนสะพานลอยจะไม่เสี่ยง ไม่สิอาจจะโดนโจรคาบไปกินก็ได้ เห็นมะสะพานลอยว่าแน่ๆ ยังเสี่ยงงงง
นั่นไงทุกอย่างมันมีความเสี่ยงหมดแหละหน่า …

แต่สำหรับกองทุนแล้วเนี่ย ตัวเลขที่เราสามารถวัดค่าความเสี่ยงได้คือ
“Standard Deviation” หรือ “S.D.” ค่ายิ่งสูงแปลว่ายิ่งเสี่ยง แล้วที่นี้จะดูได้อย่างไรว่ากองไหนดีกว่า ?

พี่ทุยขอแนะนำ “Sharp Ratio” ง่ายๆคือ ยิ่งสูงยิ่งดี หากดูกองทุนที่ประเภทเดียวกันแล้วกองทุนกองไหน Sharp Ratio สูงกว่า แสดงว่ากองนั้นดีกว่า เราสามารถดูค่า Sharp Ratio ของกองทุนต่างๆ ได้ที่ www.wealthmagik.com มีทั้งปัจจุบันและย้อนหลังเลย

5. ใครดูแลเงินของเรากันนะ

การซื้อกองทุน คือ การที่เราหยิบเงินของเราให้คนอื่นไปดูแล …. ห๊ะ !? เงินที่เราหามาได้แทบตาย เอาไปให้คนอื่นดูแลเนี่ยหรอ ? อ่านไม่ผิดเลย ตาไม่ฝาดด้วยแน่ๆ หลักการคือเค้าจะเอาเงินของเราไปลงทุนแล้วนำผลตอบแทนมาให้เรา แต่เค้าก็จะคิดค่าดำเนินการอะไรของเค้าก็ว่าไป

ดังนั้นเราควรดูหน่อยว่าคนที่ดูเงินเรา หรือ “Fund Manager” เค้าเป็นใคร เค้าเก่งหรือเปล่า ? ประเด็นที่อยากให้ดูคือ กองทุนนี้เป็น “One Man Show” หรือ “Team” กองทุนที่คนดูแลกองทุนเป็นคนคนเดียวมันมีข้อควรระวังตรงที่ถ้าเค้าย้ายไปที่อื่น หรือไม่ได้ดูกองทุนเราแล้วเนี่ย มีผลกระทบแน่ๆเลยจร้าาานายจ๋า

วิธีเลือกกองทุน
เห็นแล้วใช่มั้ยว่าการลงทุนในกองทุนรวมไม่ได้ยากอย่างที่คิด ใครๆก็สามารถเริ่มต้นลงทุนกองทุนรวมได้ จริงๆมันไม่ใช่เรื่องยาก เชื่อเถอะ ! คนเราแค่กลัวในสิ่งที่เราไม่รู้เท่านั้นเอง ถ้าเรารู้เราก็เลิกกลัวมันได้แล้วหล่ะ !

รูปบน ของ desktop
รูปล่าง ของ mobile
FBS Trader เทรดได้อย่างปลอดภัย
FBS Trader เทรดได้อย่างปลอดภัย