การคุ้มครอง "เงินฝาก" เค้าคุ้มครองเรายังไง?

การคุ้มครอง “เงินฝาก” เค้าคุ้มครองเรายังไง?

3 min read  

รูปบน ของ desktop
รูปล่าง ของ mobile

การคุ้มครอง "เงินฝาก" เค้าคุ้มครองเรายังไง?

หลังจากที่พี่ทุยทำงานหาเงินมาอย่างขยันขันแข็ง พี่ทุยก็เอาเงินทุกบาททุกสตางค์มาฝากธนาคารหมดเลย จนทำให้น้องเอี้ยงเกิดความสงสัยว่าพี่ทุยกำลังทำอะไร ทำไมหาเงินมาได้เท่าไหร่ก็ฝากเข้าธนาคารหมดเลย

การคุ้มครอง "เงินฝาก" เค้าคุ้มครองเรายังไง?

ตอนนี้ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ทั่วโลกยังอยู่ในสภาวะที่น่าเป็นห่วง ซึ่งทำให้ตัวเลขเศรษฐกิจหลาย ๆ ตัว รวมถึงตัวเลขผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนออกมาไม่ค่อยดี ชั่วโมงนี้การฝากเงินแล้วรอดูจังหวะไว้ก่อนเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ ไว้รอดูสถานการณ์ รอดูจังหวะก่อนแล้วค่อยลงทุนเพิ่มเติมทีหลังก็ยังไม่สาย

แล้วอีกอย่าง การที่เราเก็บเงินสดไว้ในธนาคารก่อน ก็มี “สถาบันคุ้มครองเงินฝาก” ทำหน้าที่คุ้มครอง “เงินฝาก” ให้กับประชาชนในประเทศอยู่ด้วย เรียกได้ว่าเป็นแหล่งเก็บเงินที่มีความปลอดภัยสูงมาก แค่เก็บเงินฝากเอาไว้ที่ธนาคารก็สามารถออกไปเที่ยวได้อย่างสบายใจ ไม่ต้องกังวลเรื่องความปลอดภัย ใช้ชีวิตในแบบที่เราต้องการได้เลย

การคุ้มครอง "เงินฝาก" เค้าคุ้มครองเรายังไง?

สถาบันคุ้มครองเงินฝากนั้นคุ้มครองทั้งบุคคลธรรมดา นิติบุคคล รวมถึงชาวต่างชาติ

ซึ่ง “เงินฝาก” จะได้รับการคุ้มครองอัตโนมัติทันทีที่เปิดบัญชีเงินฝากหรือฝากเงินที่เป็นสกุลเงินบาทกับ “สถาบันการเงิน” ตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันคุ้มครองเงินฝาก

การคุ้มครอง "เงินฝาก" เค้าคุ้มครองเรายังไง?

โดยสถาบันการเงินที่ได้ความคุ้มครองจากสถาบันคุ้มครองเงินฝากจะประกอบไปด้วย ธนาคารพาณิชย์ 19 แห่ง, สาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ 11 แห่ง, บริษัทเงินทุน 2 แห่ง และบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ 3 แห่ง สามารถเข้ามาดูว่ามีใครกันบ้างได้ ที่นี่

เท่าที่พี่ทุยดูรายชื่อมา ธนาคารชั้นนำต่าง ๆ ที่คนส่วนใหญ่ใช้บริการก็อยู่ภายใต้ความคุ้มครองทั้งหมดเลย ดังนั้นถ้าฝากเงินในประเทศก็สบายใจได้หายห่วงเลย

การคุ้มครอง "เงินฝาก" เค้าคุ้มครองเรายังไง?

ซึ่งคำถามหนึ่งที่พี่ทุยเจอเยอะเกี่ยวกับการคุ้มครองของสถาบันคุ้มครองเงินฝากก็คือถ้าเอาเงินไปฝาก 2 ธนาคารจะได้วงเงินคุ้มครองเท่าไหร่? เราจะได้คุ้มครองทั้งหมดเลยมั้ย หรือว่าจะนับยอดรวมกันที่ไม่เกินวงเงินคุ้มครองกันแน่

ก่อนอื่นพี่ทุยอยากเล่าก่อนว่า ปกติแล้ววงเงินคุ้มครองเงินฝากจากทางสถาบันคุ้มครองเงินฝากจะเป็นวงเงินต่อคนต่อธนาคาร ซึ่งอย่างที่พี่ทุยบอกไปแล้วว่า ตอนนี้สถาบันคุ้มครองเงินฝากประกาศให้มีการขยายระยะเวลาคุ้มครองวงเงิน 5,000,000 บาทต่อคนต่อสถาบันการเงินไปจนถึง 10 สิงหาคม 2564

สมมติว่าน้องเอี้ยงไปฝากเงิน 2 ธนาคาร (ธนาคาร A และธนาคาร B)
ฝากเงินที่ธนาคาร A จำนวน 5,000,000 บาท และ ธนาคาร B จำนวน 5,000,000 บาท
เราก็จะได้รับวงเงินเต็มอยู่ที่ 10,000,000 บาทเลยทันที

แต่ลองยกอีกตัวอย่างนึงกันดู..

ถ้าเราไปฝากเงินที่ธนาคาร A จำนวน 8,000,000 บาท และ ธนาคาร B จำนวน 2,000,000 บาท
เราจะได้รับวงเงินคุ้มครองรวมเพียง 7,000,000 บาทเท่านั้น เพราะการคุ้มครองเงินที่ธนาคาร A เค้าจะให้สูงสุดอยู่เพียงแค่ 5 ล้านบาท ส่วนธนาคาร B ได้เต็มจำนวนที่ 2 ล้านบาท รวมกันแล้วก็จะเท่ากับ 7 ล้านบาทนั่นเอง

ดังนั้น อย่าลืมแบ่งสรรปันส่วนเงินฝากของเราดีดีเพื่อให้ได้รับความคุ้มครองอย่างครบถ้วนจากสถาบันคุ้มครองเงินฝาก แล้วจะหาว่าพี่ทุยไม่เตือนไม่ได้เลยนะ

การคุ้มครอง "เงินฝาก" เค้าคุ้มครองเรายังไง?

พอน้องเอี้ยงไปฝากเงินมาทั้ง 2 ธนาคาร วันดีคืนดีสถาบันการเงินที่เราฝากเงินเจ๊งหรือปิดกิจการขึ้นมาจริง ๆ ผู้ฝากจะได้รับเงินคืนภายใน 30 วันหลังจากที่มีการประกาศปิดกิจการ ตามวงเงินที่สถาบันคุ้มครองเงินฝากกำหนด

การคุ้มครอง "เงินฝาก" เค้าคุ้มครองเรายังไง?

การฝากเงินถือว่าเป็นสินค้าการเงินขั้นพื้นฐานของทุกคน เรียกได้ว่าถ้าให้นึกถึงสินค้าการเงินตัวแรกที่เราได้ใช้บริการเชื่อว่าก็น่าจะหนีไม่พ้นบัญชีเงินฝากเนี้ยแหละ ซึ่งสถาบันคุ้มครองเงินจะเข้ามาทำให้การฝากเงินเป็นเรื่องที่ง่ายมากขึ้น มั่งคงมั่นใจมากขึ้น แต่ก็อย่าลืมบริหารจัดสรรพอร์ตการลงทุนของเราให้ดีด้วย เพื่อให้เกิดความมั่งคั่ง เกิดผลตอบแทนให้กับตัวเราเองด้วย

การคุ้มครอง "เงินฝาก" เค้าคุ้มครองเรายังไง?

รู้กันหรือไม่ว่า เดือนสิงหาคมเป็นเดือนเกิดของสถาบันคุ้มครองเงินฝาก ซึ่งตอนนี้ก็มีอายุครบ 12 ปีแล้ว เรียกได้ว่าอยู่คุ้มครองเงินฝากให้กับคนไทยมาอย่างยาวนาน ยังไงพี่ทุยก็ขอให้ “สถาบันคุ้มครองเงินฝาก” อายุยืนนาน ช่วยให้เกิดความมั่นคง และความมั่นใจต่อระบบการเงินของประเทศเราต่อไปอีกเรื่อย ๆ เลยนะ มอออออว์

รูปบน ของ desktop
รูปล่าง ของ mobile
FBS Trader เทรดได้อย่างปลอดภัย
FBS Trader เทรดได้อย่างปลอดภัย
บทความนี้เป็นบทความ Advertorial

Comment

Be the first one who leave the comment.

Leave a Reply