โมเดล Subscription กำลังเป็นที่น่าจับตามอง

“โมเดล Subscription” กำลังเป็นที่น่าจับตามอง

4 min read  

ฉบับย่อ

  • “โมเดล Subscription” หรือ ระบบบริการสมัครสมาชิก จะเป็นการเหมาจ่ายล่วงหน้าเป็นรายปีหรือรายเดือน แล้วก็จะมีสินค้าและบริการจากแบรนด์นั้น ๆ ให้ใช้
  • Subscription นั้นจะช่วยให้ได้รับสิทธิหรือสินค้าใดสินค้าหนึ่งจากแบรนด์ เราจะได้สิทธิในการใช้งานและเลือกสินค้าใดก็ได้อย่างที่เราต้อง ซึ่งปัจจุบันธุรกิจสตรีมมิ่งออนไลน์ก็ใช้ระบบนี้อย่างแพร่หลาย

รูปบน ของ desktop
รูปล่าง ของ mobile

“โมเดล Subscription” หรือ ระบบบริการสมัครสมาชิก ที่คนไทยจะคุ้นเคยกันใน ธุรกิจแนวนิตยสาร หนังสือพิมพ์ หรือ บริการโทรศัพท์ ระบบสมัครสมาชิกจะเป็นการเหมาจ่ายล่วงหน้าเป็นรายปีหรือรายเดือน แล้วก็จะมีสินค้าและบริการจากแบรนด์นั้น ๆ ให้ใช้

พัฒนาการของ Subscription

จากแต่เดิมที่ระบบ Subscription นั้นจะช่วยให้ได้รับสิทธิหรือสินค้าใดสินค้าหนึ่งจากแบรนด์ เมื่อยุคของเทคโนโลยีและอินเตอร์เน็ตเข้ามา ก็จะเห็นการพัฒนาระบบ Subscription สู่ตลาด E-Commerce โดยก็จะมีหลายแบบ แบบที่คนไทยคุ้น ๆ กันระบบที่จ่ายเหมาเพื่อที่เราจะได้สิทธิในการใช้งานและเลือกสินค้าใดก็ได้อย่างที่เราต้อง ซึ่งปัจจุบันธุรกิจสตรีมมิ่งออนไลน์ก็ใช้ระบบนี้อย่างแพร่หลาย

แบรนด์ดังต่าง ๆ เอาโมเดลนี้มาใช้มากขึ้นอย่าง Apple Music, Spotify, Netflix หรือ แม้กระทั่ง Youtube Premium เอง และอีกหลาย ๆ แบรนด์ในอนาคต ที่เมื่อลูกค้าสมัครสมาชิกแล้วก็จะสามารถเลือกใช้งาน ดูหนัง ฟังเพลง ได้ไม่จำกัดในระยะเวลาที่กำหนด

ในต่างประเทศมีหลาย ๆ แบรนด์ที่ใช้ระบบ Subscription

ในต่างประเทศเริ่มมีหลายแบรนด์ที่ใช้ Model Subscription โดยจะมีการส่งผลิตภัณฑ์หรือกล่องเซตผลิตภัณฑ์ที่สมาชิกหรือ Subscribers ใช้เป็นประจำอยู่แล้วส่งให้อย่างสม่ำเสมอ บางแบรนด์อาจจะเป็นการส่งสินค้าทดลองหรือสินค้าพิเศษให้กับผู้สมัครสมาชิกหรืออาจมีส่วนลดพิเศษในการเลือกซื้อสินค้า

ในตลาด E-Commerce จะมีรูปแบบ Subscriptions อยู่ 3 แบบ
1. Subscribe for replenishment – เป็นการ Subscribe เพื่อการซื้อซ้ำ รับสินค้าเดิม ๆ จะพบได้ในกลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์
2. Subscribe for curation – เป็นการ Subscribe เพื่อได้รับการดูแล จะพบได้ในกลุ่มสินค้าแฟชั่น เครื่องแต่งกาย อาหาร และเครื่องสำอาง
3. Subscribe for access – เป็นการ Subscribe เพื่อให้เข้าถึงสิทธิหรือความพิเศษแบบ VIP จะพบได้ในกลุ่ม เครื่องแต่งกาย สินค้าแฟชั่น และอาหาร

ตัวอย่างแบรนด์ดัง ๆ ในต่างประเทศ

Dollar Shave Club – ครีมและที่โกนหนวด
Amazon Subscribe and save – อาหารและของใช้ในบ้าน
Ipsy – เครื่องสำอาง
Harry’s – ครีมและที่โกนหนวด
Barkbox – อาหารและผลิตภัณฑ์สุนัข
Birchbox – เครื่องสำอาง
Blue Apron – วัตถุดิบและอาหาร

ในโลกออนไลน์เราก็จะเห็นการ Subscription ได้บ่อยขึ้นไม่ว่าจะเป็นโปรแกรมการทำงานอย่าง Adobe สตรีมมิ่งหนังออนไลน์อย่าง Netflix หรือแม้กระทั้งเกมหรือโปรแกรม Anti Virus ต่าง ๆ ก็เริ่มเอา “โมเดล Subscribers” เหล่านี้มาใช้กัน

ทำไมหลาย ๆ แบรนด์สนใจโมเดล Subscription

ในมุมของแบรนด์และร้านค้านั้นการมีโมเดล Subscription อย่างแรกเลยเป็นการสร้างความสะดวกและประสบการณ์ใหม่ให้ลูกค้า อีกทั้งยังรักษากลุ่มลูกค้าประจำให้เกิดการ Loyalty หรือความผูกพันกับตัวแบรนด์ และเกิดการซื้อซ้ำเป็นประจำ การที่มีลูกค้า Subscribes แบรนด์เรานั้นทำให้ลูกค้าเปลี่ยนใจไปเลือกแบรนด์อื่นยากขึ้น และเราสามารถเก็บเงินลูกค้าล่วงหน้าอีกด้วย

Subscription นั้นช่วยให้แบรนด์แบ่งกลุ่มจัดหมวดหมู่ลูกค้าได้ง่ายขึ้น ทำให้แบรนด์เลือกใช้เครื่องมือทางการตลาดได้ตรงจุดมากขึ้น เพราะลูกค้าประจำและลูกค้าใหม่นั้นมีความสนใจและต้องการที่ต่างกัน ทำให้แบรนด์สามารถย้าย Marketing Cost บางส่วนในการสร้าง Awarness และนำเงินส่วนนี้ไปดูแลลูกค้าประจำเพิ่มแทนได้

อีกอย่างที่เป็นประโยชน์สำคัญเลยคือ Subscription ทำให้แบรนด์คาดการณ์ตัวเลขในอนาคตได้ง่ายขึ้น ไม่ว่าจะเป็นยอดขาย ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ หรือในหลาย ๆ ธุรกิจที่ต้องมีการกำหนดสต็อกสินค้าล่วงหน้าการมีระบบ Subscription ก็ช่วยให้การจัดการสต็อกสินค้าเป็นเรื่องง่ายขึ้น และมีเวลาเตรียมตัวลดปัญหาสินค้าค้างสต็อกหรือสต็อกสินค้าไม่ทันเมื่อมีออเดอร์เยอะ ๆ และทำให้แบรนด์สามารถคาดการณ์ทิศทางของธุรกิจได้ชัดเจนและแม่นยำมากยิ่งขึ้น

ตัวเลขการเติบโตของ Subscription

ในช่วงระหว่าง 2011-2016 Subscription ในตลาด E-Commerce โตขึ้นไม่น้อยกว่าปีละ 100% โดยในปี 2011 นั้น Subscription ในตลาด E-Commerce มีขนาดอยู่ที่ $57 ล้านเหรียญ โตขึ้นมาเป็น $2.6 พันล้านเหรียญในปี 2016

โดยกลุ่มผู้ใช้ส่วนใหญ่จะเป็นคนที่มีช่วงอายุประมาณ 25 – 44 ปี และผู้หญิงจะมีตัวเลขการ Subscribes ที่สูงกว่าผู้ชาย และที่น่าสนใจเลยคือในกลุ่มผู้ชายที่มีการ Subscribes มากกว่า 3 แบรนด์ขึ้นไปนั้นจะมีจำนวนมากกว่าผู้หญิง

โมเดล Subscription กำลังเป็นที่น่าจับตามอง

สิ่งที่มัดใจลูกค้าในโมเดล Subscription

ในแต่ละรูปแบบ Subscription ก็จะมีสิ่งที่ลูกค้าให้ความสำคัญแตกต่าง โดย Subscribe for replenishment หรือการ Subscribe เพื่อซื้อซ้ำนั้นเนื่องจากสินค้าแทบไม่ได้แตกต่างกันมากนัก หัวใจสำคัญที่ทำให้ลูกค้าเลือก Subscribe มักมาจากการประหยัดเวลาและประหยัดเงินเป็นหลัก

ส่วนการ Subscribe for curation หรือการ Subscribe เพื่อได้รับการดูแล มักจะอยู่ในสินค้าและบริการที่ต้องคิดไตร่ตรองในการเลือก หัวใจสำคัญของกลุ่มนี้จึงอยู่ที่การที่ลูกค้าตื่นเต้นกับการได้รับสินค้าและบริการที่หลากหลายแปลกใหม่และตรงต่อความต้องการที่มีความเฉพาะมากขึ้น

ส่วนการ Subscribe for access หรือการ Subscribe เพื่อให้เข้าถึงสิทธิประโยชน์ หัวใจสำคัญจะอยู่ที่การเข้าถึงสิทธิประโยชน์ที่พิเศษกว่า ซึ่งต้องแตกกับการไม่ Subscribe อย่างชัดเจน

ข้อจำกัดและปัญหาของโมเดล Subscription

หนึ่งในปัญหาสำคัญของธุรกิจที่ใช้โมเดล Subscription เลยคือ ปัญหาลูกค้ายกเลิกบริการ โดยจะมีหน่วยวัดคือ Churn Rate เป็น % การยกเลิกบริการของลูกค้า ยิ่งตัวเลขนี้สูงมากเท่าไหรก็บ่งบอกถึงปัญหาที่บริษัทกำลังพบ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาทางด้านบริการหรือการแข่งขันจากธุรกิจเดียวกันที่กำลังแย่งลูกค้ากันอยู่ ในไทยถ้าจะมองภาพชัดก็คงการแย่งลูกค้าของค่ายมือถือต่าง ๆ ที่ออกโปรโมชั่นลดแลกแจกแถมกันอย่างเต็มที่

ดังนั้นธุรกิจที่ใช้โมเดลเหล่านี้นอกจากการสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้าแล้ว การสร้างสายสัมพันธ์ระยะยาวที่ดีไว้กับลูกค้าก็เป็นอีก 1 หัวใจสำคัญ ซึ่งโดยปกติแล้วลูกค้าชอบอิสระในการเลือก ไม่ชอบการผูกมัดจากแบรนด์ใดแบรนด์หนึ่งอยู่แล้ว ถ้าหากแบรนด์ไม่สามารถสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้าได้ โอกาสที่จะถูกยกเลิกหรือเปลี่ยนไปอุดหนุนแบรนด์อื่นก็มีสูง

รูปบน ของ desktop
รูปล่าง ของ mobile
FBS Trader เทรดได้อย่างปลอดภัย
FBS Trader เทรดได้อย่างปลอดภัย

Comment

Be the first one who leave the comment.

Leave a Reply