เตรียมเฮ! ลดค่าโดยสาร “รถไฟฟ้า” ช่วยคนเมือง

3 min read  

ฉบับย่อ

  • อธิบดีกรมขนส่งทางราง เสนอมาตรการลดค่าครองชีพให้ผู้ใช้รถไฟฟ้าในเมือง
  • รูปแบบการลดค่าโดยสาร มี 2 ประเภท ลดค่าโดยสารรถไฟฟ้าแบบรายเดือน และลดค่าโดยสารในช่วงไม่เร่งด่วน (Off Peak) โดยรถไฟฟ้าสายที่ได้สิทธิในการลด มี 4 สาย ได้แก่ (1) รถไฟฟ้า Airport Link (2) MRT สายสีม่วง เตาปูน-บางใหญ่ (3)  MRT สีน้ำเงิน หัวลำโพง-หลักสอง (4) BTS สายสีเขียว
  • หากใช้บริการครบ 15,000 บาท สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้แบบช้อปช่วยชาติได้ และถ้าได้รับการอนุมัติจะเริ่มทดลองใช้แบบ Off Peak เดือนตุลาคม 2562 เป็นเวลา 3 เดือ
  • จะหารือกับกทม.เพิ่มเพื่อนำรายได้จากภาษีป้ายวงกลมมาช่วยค่าใช้จ่ายและรายได้ของผู้ให้บริการรถไฟฟ้าที่หายไป

รูปบน ของ desktop
รูปล่าง ของ mobile

ผู้ใช้รถไฟฟ้าเตรียมเฮ อธิบดีกรมขนส่งทางราง จะนำเสนอมาตราการบรรเทาค่าครองชืพให้ผู้ใช้รถไฟฟ้าในเมือง หลังจากเป็นกระแสในโลกออนไลน์กับค่าโดยสารรถไฟฟ้าที่สูงกว่าประเทศอื่นเมื่อเปรียบเทียบค่าครองชีพของคนไทย 

โดยในวันที่ 6 กันยายนนี้ คณะกรรมการพัฒนาโครงสร้างอัตราค่าโดยสารการขนส่งทางราง จะนำเรื่องนี้ในที่ประชุม โดยจะลดค่าโดยสารในการเดินผ่านทางรถไฟฟ้าและหากใช้จ่ายในระบบดังกล่าวครบ 15,000 บาท สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ ในรูปแบบเดียวกับนโยบายช้อปช่วยชาติ

รูปแบบการลดค่าโดยสาร

รูปแบบที่ 1 ลดค่าโดยสารรถไฟฟ้าแบบรายเดือน – ปรับให้ผู้โดยสารที่เดินทางโดยรถไฟฟ้าเป็นประจำแบบรายเดือนได้ใช้บริการได้ถูกลง โดยลดค่าโดยสารแบบรายเดือนลง ทำให้คนที่เดินทางเข้ามาในเมืองเป็นประจำ หรือมนุษย์เงินเดือนที่เข้ามาทำงานในเมือง 

รูปแบบที่ 2 ลดค่าโดยสารในช่วงเวลาที่ไม่เร่งด่วน (Off Peak) – หนึ่งในปัญหาของรถไฟฟ้าในปัจจุบัน คือ ความแออัดของการโดยสาร ซึ่งในช่วงเวลาที่แออัดนั้นจะแออัดเป็นพิเศษในช่วงเวลาเร่งด่วน ดังนั้น การลดค่าโดยสารในช่วง Off Peak นั้นจะช่วยระบายผู้โดยสารไปในช่วงที่เร่งด่วนให้ไปในช่วงไม่เร่งด่วนได้ส่วนนึง จะช่วยแบ่งเบาความแออัดในช่วงเวลาเร่งด่วนไปได้เยอะ

“รถไฟฟ้า” แต่ละสายที่ได้สิทธิในการลดค่าโดยสาร

รถไฟฟ้าที่ได้รับสิทธิในการลดค่าโดยสารประกอบด้วยรถไฟฟ้า 4 สาย

1. รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.)

ปัจจุบัน ร.ฟ.ท. เก็บค่าโดยสารตั้งแต่ 15 บาท จนถึง 45 บาท ต่อเที่ยว เฉลี่ยการใช้งานค่าโดยสารประมาณ 31 บาทต่อเที่ยว หากซื้อตั๋วโดยสารายเดือนจะได้อัตราค่าโดยสารที่ถูกลงเหลือ 25-30 บาทต่อเที่ยว ส่วนอัตรา Off Peak จะลดให้เหลือเพียง 15-25 บาทต่อเที่ยวเท่านั้น

2. รถไฟฟ้า MRT สายสีม่วง ช่วงเตาปูน-บางใหญ่

ปัจจุบันเก็บค่าโดยสารตั้งแต่ 14 บาท จนถึง 42 บาทต่อเที่ยว โดยสารเฉลี่ยการใช้งานค่าโดยสารอยู่ที่ประมาณ 21 บาทต่อเที่ยว หากซื้อตั๋วโดยสารรายเดือนจะได้อัตราค่าโดยสารที่ถูกลงเหลือ 15-20 บาทต่อเที่ยว ส่วนอัตรา Off Peak จะลดเหลือเพียง 16-30 บาทต่อเที่ยวเท่านั้น

3. รถไฟฟ้า MRT สายน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง-หลักสองของ รฟม.

ปัจจุบันเก็บค่าโดยสารตั้งแต่ 16 บาท จนถึง 44 บาทต่อเที่ยว และมีค่าโดยสารเฉลี่ยการใช้งานอยู่ที่ 29 บาท ต่อเที่ยว หากซื้อตั๋วโดยสารรายเดือนจะได้อัตราค่าโดยสารที่ถูกลงเหลือ 26 บาทต่อเที่ยว ส่วนช่วง Off Peak จะลดให้เหลือเพียง 16-30 บาทต่อเที่ยวเท่านั้น

4. รถไฟฟ้า BTS สายสีเขียว ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)

ปัจจุบันเก็บค่าโดยสารตั้งแต่ 16 บาทจนไปถึง 44 บาทต่อเที่ยว และมีค่าโดยสารเฉลี่ยการใช้งานอยู่ที่ประมาณ 29 บาทต่อเที่ยว ถ้าหากซื้อตั๋วโดยสารรายเดือน จะลดค่าโดยสารเหลืออยู่ที่ 26 บาทต่อเที่ยว แต่เนื่องจาก BTS สายสีเขียวมีผู้ใช้งานในทุกช่วงเวลาจึงไม่มีจัดค่าโดยสารพิเศษสำหรับช่วง Off Peak

ครบ 15,000 บาท สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้

เพื่อเป็นการกระตุ้นการใช้งาน ที่ประชุมฯเสนอให้พิจารณาลดหย่อนภาษี 15,000 บาท สำหรับผู้ที่ใช้งานในระบบใดก็ได้ครบ 15,000 บาท สามารถนำมาลดหย่อนภาษีเป็นค่าใช้จ่ายในส่วนของภาษีบุคคลได้ คล้ายการลดหย่อนแบบเดียวการช้อปช่วยชาติ

คาดว่ามาตรการนี้จะช่วยลดค่าครองชีพให้ประชาชนและยังกระตุ้นให้ประชาชนหันมาเดินทางผ่านรถไฟฟ้ามากยิ่งขึ้น และจะทำให้ผู้ใช้งานรถยนต์บนท้องถนนลดลง ทำให้ปัญหารถติดการจราจรติดขัดบนท้องถนนลดลงไปด้วย คาดว่าจะมีผู้ใช้งานในระบบรถไฟฟ้าทุกสายเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 10%

มาตรการเหล่านี้เริ่มใช้เมื่อไหร่ ?

เมื่อคณะกรรมการพัฒนาโครงสร้างอัตราค่าโดยสารการขนส่งทางรางพิจารณาและสรุปรายละเอียดมาตรการต่าง ๆ เรียบร้อยครบถ้วน โดยจะนำเสนอต่อให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมและคณะรัฐมนตรีต่อ และหากผ่านความเห็นชอบ คาดว่าจะเริ่มทดลองตั้งแต่เดือนตุลาคม 2562 เป็นเวลา 3 เดือน โดยจะเริ่มทดลองใช้มาตราการลดค่าโดยสารแบบในช่วง Off Peak เป็นแบบแรก และจะเริ่มมาตรการอื่น ๆ หากได้รับการอนุมัติตามมา

รัฐใช้เงินส่วนไหนมาลดค่าใช้จ่ายเหล่านี้ ?

มาตรการนี้ผู้ที่เสียผลประโยชน์ คือ ผู้ประกอบการและผู้ให้บริการรถไฟฟ้า ซึ่งจากข้อมูลของรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์นั้นมาตรการเหล่านี้จะกระทบต่อรายได้ทำให้รายได้ลดลงเป็นอย่างมาก เพื่อเป็นการแก้ปัญหาทางคณะกรรมการพัฒนาโครงการอัตราค่าโดยสารการขนส่งทางราง จึงจะหารือร่วมกับกรุงเทพมหานคร (กทม.) อาจนำภาษีจากป้ายวงกลมรถยนต์ที่จัดเก็บโดย กทม. 

ซึ่ง กทม. จัดเก็บเงินส่วนนี้ได้เดือนละ 14,000 ล้านบาทต่อปี มาช่วยผู้ประกอบการและผู้ให้บริการรถไฟฟ้าปีละประมาณ 500 – 1,000 ล้านบาทต่อปี สำหรับรายได้ที่หายไปจากมาตรการช่วยแบ่งเบาภาระค่าครองชีพของประชาชน

สรุปใครได้ผลประโยชน์ ?

ถ้าดูจากมาตรการที่สรุปมาในปัจจุบันนี้ ผู้ที่จะได้รับประโยชน์ส่วนใหญ่จะเป็นผู้ที่อยู่อาศัยใกล้รถไฟฟ้าที่ได้ผลประโยชน์ทั้ง 4 สาย ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นโซนเปิดใหม่และเป็นส่วนเมืองชั้นนอกเข้าต่อมาในตัวเมืองหลัก ซึ่งผู้ใช้บริการเหล่านี้จะได้ผลประโยชน์จากทุกมาตราการทั้งลดค่าโดยสาร และได้รับส่วนลดหย่อนภาษีเพิ่มอีกหากใช้จ่ายครบ 15,000 บาท

และพื้นที่เหล่านี้หรือในละแวกนี้ห่างไกลจากตัวเมืองหลัก ซึ่งคนส่วนใหญ่มักจะใช้รถยนต์ส่วนตัวเพราะการเดินทางที่ลำบากและเดินทางไกล มาตราการเหล่านี้จึงน่าจะช่วยกระตุ้นให้คนหันมาใช้บริการรถไฟฟ้าได้พอสมควรเลยทีเดียว

ส่วนอสังหาฯต่าง ๆ ในละแวกรถไฟฟ้าทั้ง 4 สายนี้ ก็มีแนวโน้มที่จะมีประมาณคนที่สนใจเพิ่มขึ้นเพราะได้รับทั้งความสะดวกสบายและค่าใช้จ่ายในการเดินทางที่ลดลงอย่างเห็นได้ชัด ก็อาจจะสอดคล้องกับมาตราการกระตุ้นเศรษฐกิจบ้านหลังแรก มาตราการลดค่าโดยสารรถไฟฟ้าก็ช่วยกระตุ้นการซื้ออสังหาฯ ไปในตัวแบบอ้อม ๆ

แต่ก็ต้องมารอลุ้นกันว่าคนจะหันไปใช้ช่วง Off Peak กันได้มากน้อยขนาดไหน เพราะส่วนใหญ่ช่วงที่คนใช้เยอะก็คือช่วงก่อนเข้างาน 7.30-9.00 น. แล้วอีกช่วงก็คือหลังเลิกงาน 18.00 – 20.00 น. ซึ่งคนทำงานไม่น่าจะขยับเวลาเข้างานออกงานได้มากมายขนาดนั้น

รูปบน ของ desktop
รูปล่าง ของ mobile
FBS Trader เทรดได้อย่างปลอดภัย
FBS Trader เทรดได้อย่างปลอดภัย

Comment

Be the first one who leave the comment.

Leave a Reply