รู้หรือไม่ ? ตำแหน่งยิ่งสูงเท่าไหร่ ยิ่งมี "EQ" ต่ำลงเท่านั้น

รู้หรือไม่ ? ตำแหน่งยิ่งสูงเท่าไหร่ ยิ่งมี “EQ” ต่ำลงเท่านั้น

4 min read  

ฉบับย่อ

  • เราพบว่าผู้นำทีมแต่ละแผนกโดยเฉพาะในบริษัทแนวสตาร์ทอัพมักจะเป็นผู้ที่มีความสามารถ บริหารทีมได้ดีและมี “EQ” สูง ซึ่งคุณสมบัติสไตล์ “พี่ใหญ่ใจดี” คือ สูตรสำเร็จในการเลือกใครสักคนมาเป็นผู้นำคนรุ่นใหม่
  • 6 เทคนิคเพิ่ม “EQ” ลด EGO เคล็ดลับความสำเร็จในทุกสายงานคือการมัดใจคนในทีม การสร้างสุขภาพจิตและ “EQ” ที่ดีเมื่อต้องทำงานร่วมกับผู้อื่นกัน

รูปบน ของ desktop
รูปล่าง ของ mobile

เรายังจำรอยยิ้มของทุกคนในการทำงานวันแรกได้ไหม โดยเฉพาะหัวหน้าที่มีทั้ง “พี่ใหญ่ใจดี” กับ “พี่หมีกินผึ้ง” ซึ่งภาพลักษณ์ของผู้บริหารในสื่อบันเทิงมักจะสะท้อนออกมาในรูปแบบผู้ใหญ่ที่เปี่ยมไปด้วยความมั่นใจจนอาจจะดูเข้มงวดเกินไปในบางจังหวะ แล้วในโลกแห่งความเป็นจริงล่ะ พี่ใหญ่เราเขาน่ารักไหม ภาพลักษณ์จากสื่อดูเข้มงวดเกินจริงหรือเปล่า ? งานนี้ทาง Talent Smart เผยฐานข้อมูลที่รวบรวมมาจากผู้ใช้งานนับล้าน จากพนักงานจนถึงผู้บริหารระดับสูง พบว่า คำตอบคือ “EQ” แปรผกผันกับ “ตำแหน่ง” โดยพบว่าผู้จัดการจะมีความเห็นอกเห็นใจผู้อื่นสูงสุด ถัดมาคือ Director, Executive, Senior Executive ปิดท้ายด้วย CEO ตามลำดับ แต่อะไรคือความลับของสถานการณ์นี้ล่ะ อะไรคือปัจจัยที่ทำให้เหล่าผู้บริหารระดับสูงมีความใจร้อนหรือแคร์คนอื่นน้อยกว่าคนทั่วไป

ทำไมผู้จัดการส่วนใหญ่มักมี EQ สูง ?

เราพบว่าผู้นำทีมแต่ละแผนกโดยเฉพาะในบริษัทแนวสตาร์ทอัพมักจะเป็นผู้ที่มีความสามารถ บริหารทีมได้ดีและมีอีคิวสูง ซึ่งคุณสมบัติสไตล์ “พี่ใหญ่ใจดี” คือ สูตรสำเร็จในการเลือกใครสักคนมาเป็นผู้นำคนรุ่นใหม่จากบรรดาหัวกะทิ เพราะพวกเขาสามารถรับแรงกดดันจากผู้บริหารและกระจายงานให้คนในทีมได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่เมื่อเราขยับไปสู่การบริหารที่สูงขึ้นจากทีม ผลลัพธ์ที่ได้กลับไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป

“พี่ใหญ่ (เคย) ใจดี” เพราะงานเปลี่ยนพี่ให้เป็นคนดุ

ในบริษัทแนวสตาร์ทอัพอาจไม่ค่อยมีเรื่องแนวนี้เท่าไร แต่องค์กรขนาดใหญ่จะมีโครงสร้างที่เอื้อให้ผู้บริหารเข้มงวดมากขึ้น เพราะการแบกรับความคาดหวังและแผนการพัฒนาบริษัทจะนำไปสู่ความกดดันทั้งในระยะสั้นอย่างโครงการใหม่ ๆ ที่ต้องได้ยอดตรงเป้า และความกดดันระยะยาวอย่างการประเมินศักยภาพประจำปีที่จะชี้ชะตาแผนก

สิ่งเหล่านี้ล้วนทำให้บุคลิกภาพและนิสัยของคนในตำแหน่งระดับสูงเปลี่ยนไปช้า ๆ ไม่ว่าจะเป็นสิทธิพิเศษในการมีห้องทำงานส่วนตัว รถประจำตำแหน่ง หรือการไม่ต้องสุงสิงกับเพื่อนร่วมงานในอดีต แต่ก็ไม่ใช่ทุกคนที่จะเปลี่ยนแปลงไปในแง่ลบ

David Owen และทีมจาก Duke University ในสหรัฐอเมริกาเรียกอาการเหล่านี้ว่า Hubris Syndrome ซึ่งเป็นอาการที่เกิดจากอำนาจในหน้าที่การงาน ตอกย้ำด้วยบทความจากทั้ง CEO และอดีตผู้บริหารหลายบริษัทที่พร้อมใจกันเล่าถึงวิธีเอาชนะ Ego ที่จะลดทอน EQ เมื่อพวกเขาเข้ามารับตำแหน่ง

ยกตัวอย่างเช่น Cees ‘t Hart จากกลุ่มบริษัทคาร์ลสเบิร์ก ผู้นำด้านเบียร์สัญชาติเดนมาร์กที่มานำเสนอมุมมองหลังการเข้ารับตำแหน่ง CEO ที่เปลี่ยนชีวิตเขาไปตั้งแต่วันแรก ไม่ว่าจะเป็นลิฟต์ประจำตำแหน่งที่ไม่แวะจอดรับใคร ห้องทำงานส่วนตัว ตลอดจนวิวห้องทำงานที่มองเห็นได้ทั้งเมือง สิ่งที่เขาทำเพื่อให้ตนเองเข้าใจพนักงานมากขึ้นคือการลงมานั่งทำงานกับทุกคนเหมือนกับที่ผ่านมา เพื่อให้เข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้นจริงและบริหารบริษัทได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 6 เทคนิคเพิ่ม EQ ลด EGO

พี่ทุยมี เคล็ดลับความสำเร็จในทุกสายงานคือการมัดใจคนในทีม เรามาลองดูเทคนิคในการสร้างสุขภาพจิตที่ดีเมื่อต้องทำงานร่วมกับผู้อื่นกัน

1. รับรู้อารมณ์ผู้อื่น: สิ่งนี้จะช่วยให้เราสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น วิธีที่ง่ายที่สุด คือ คิดว่าคู่สนทนาคือตัวเราเอง และการกระทำใดที่เราจะชอบ หรือคำพูดแบบใดที่จะทำร้ายจิตใจเรา

2. หมั่นสังเกตตัวเองอยู่เสมอ: ลองเทียบกับตนเองในสมัยที่เข้างานใหม่ เราอาจได้เห็นมุมมองใหม่ ๆ เกี่ยวกับตัวเองที่เราไม่เคยเห็นมาก่อน

3. แก้ไขปัญหาด้วยปัญญา: พิจารณาเหตุและผลตามความเป็นจริง หลีกเลี่ยงการใช้อารมณ์

4. พูดคุยกับตัวเองให้บ่อย: เราสามารถปรับสภาพอารมณ์เมื่อเจอเรื่องที่ไม่คาดคิดได้ ด้วยการพูดคุยกับตัวเองไม่ว่าจะเป็นการคิดในใจ หรือพูดออกมาเบา ๆ ซึ่งจะทำให้เรารับมือกับสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ดีขึ้น

5. อยากบวกต้องได้บวก: เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ดี ๆ เราควรชื่นชมและขอบคุณผู้ที่แสดงน้ำใจหรือความพยายามแก่เรา

5.พักผ่อนให้เพียงพอ: สูตรลับพัฒนาอารมณ์ คือ การพักผ่อน ทำสมาธิผ่อนคลาย และนอนหลับให้เพียงพอเพื่อสุขภาพจิตที่ดี

รูปบน ของ desktop
รูปล่าง ของ mobile
FBS Trader เทรดได้อย่างปลอดภัย
FBS Trader เทรดได้อย่างปลอดภัย

Comment

Be the first one who leave the comment.

Leave a Reply